พุทธสังเวชนียสถาน (ตอนที่ ๒) สังเวชนียสถานคืออะไร


สังเวชนียสถานคืออะไร

 


  ก่อนที่จะได้ทราบถึงข้อมูล ประวัติความเป็นมาและการจาริกแสวงบุญสู่พุทธสถานในอินเดีย ขอให้ท่านทั้งหลายพึงทราบถึงสังเวชนียสถานก่อน ว่าหมายถึงอะไรและเป็นอย่างไร 

  คำว่าสังเวชนียสถาน หมายถึง สถานที่อันเป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช คำว่า สังเวช มาจากศัพท์นามว่า สังเวค สิ่งที่เมื่อมอง เมื่อระลึกทำให้เกิดกำลังพรั่งพร้อม (สัง - พร้อม + เวค - ทำให้เกิดกำลัง) แต่ในทางภาษาไทย มาใช้คำว่า สังเวช กลายเป็นเรื่องการสลดใจ หดหู่ใจ ซึ่งผิดจากความหมายเดิม

  สังเวชนียสถานพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก่อนปรินิพพาน ว่าผู้ใดที่ระลึกถึงพระองค์ก็ให้ระลึกถึงสถานที่สำคัญทั้ง 4 คือ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา ปรินิพพาน ซึ่งการที่ไประลึกถึงสถานที่เหล่านั้น ... พระองค์ย่อมไม่ทรงให้ระลึกถึง ด้วยความหดหู่แน่นอน แบบนั้นจะกลายเป็นกิเลส เป็นความเศร้าหมองไป จุดประสงค์ที่แท้ ในการเดินทางไปสู่สังเวชนียสถาน ก็เพื่อการระลึกถึงพระพุทธเจ้า ว่า พระองค์ทรงประสูติที่นี่ ตรัสรู้ที่นี่ แสดงปฐมเทศนาที่นี่ ปรินิพพานที่นี่ เพื่อให้ได้ระลึกรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงของสังขารธรรม นับตั้งแต่สังขารธรรมอุบัติขึ้น จนถึงการดับ ( ประสูติ - ปรินิพพาน ) นอกจากนั้นก็เพื่อระลึกถึงพระธรรมคำสอนของพระองค์และเจริญรอยตามพระพุทธยุคลบาทของพระพุทธเจ้า คือ พระธรรมของพระองค์ตราบจนสิ้นอายุขัย

  สังเวชนียสถานนั้นมี 4 แห่งในหนังสือพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรมโดยท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฏก(ปัจจุบันคือพระพรหมคุณาภรณ์) ท่านได้ให้ความหมายไว้ดังนี้

  สังเวชนียสถาน 4 (สถานที่เป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช, สถานที่เนื่องด้วยพุทธประวัติ) ซึ่งพุทธศาสนิกชนควรไปดูเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้เกิดความไม่ประมาท จะได้เร่งขวนขวายประกอบกุศลกรรม และสำหรับ ผู้ศรัทธาจะได้จาริกไปชม เพื่อเพิ่มพูนปสาทะ กระทำสักการบูชาอันจะนำให้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ 

1. ชาตสถาน (ที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือ อุทยานลุมพินี)

 ลุมพินี 

 2. อภิสัมพุทธสถาน (ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ คือ ควงโพธิ์ที่ตำบลพุทธคยา) 

 พุทธคยา 

3. ธัมมจักกัปปวัตตนสถาน (ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร คือ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เรียกปัจจุบันว่า สารนาถ) 

 สารนาถ 

4. ปรินิพพุตสถาน (ที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน คือ ที่สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา) 

 กุสินารา 

 

โปรดติดตามตอนต่อไป

 

หมายเลขบันทึก: 238754เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2009 12:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

ลุมพินี ... พุทธคยา ... สารนาถ ... กุสินารา

สักวัน จะไปเยือน ค่ะ ...

 

ครั้งหนึ่งในชีวิตต้องไปให้ได้น่ะครับ poo

จพทยอยนำเรื่องราวและรูปภาพต่างมาลงครับ

สวัสดีค่ะ

ตามมาชมสังเวชยสถานสี่ค่ะ

ดีใจที่ได้ระลึกถึง หนุ่มอินเดีย...^_^...

เกี่ยวกันไหมคะ  ว่าแต่ได้ข่าวมาจากไหนคะเนี่ย...^_^...

สวัสดีครับ คนไม่มีราก

แต่ได้ข่าวมาจากไหนคงบอกไม่ได้ครับ

ยินดีที่ได้รู้จักคนที่ชอบอินเดียเหมือนกันครับ

มาชมภาพอีกรอบค่ะ ตามมาแอบดูพี่หญิงด้วยค่ะ

... คิดถึงหนุ่มอินเดีย ... เหมือนกันค่ะ ...

เค้าคนนั้น อยู่แสนไกล และ สูงเกินเอื้อม หลาย

...

สวัสดีอีกครั้ง poo ดีใจที่มีคนชอบอินเดีย

หนุ่มอินเดียคนนั้นอยู่ไกลเกินเอื้อม แต่ยงมีหนุ่มที่เคยอยู่อินเดียอีกคนน่ะครับ

ตามคนชอบ อินเดียมาค่ะ  ครูอ้อยชอบดูหนังแขกค่ะ ตอนเด็กๆ  ตอนนี้  ถ้ามีให้ดู ก็จะดูค่ะ

สนใจเหมือนผมเลยน่ะ ผมซื้อมาจากอินเดียเยอะมากครับ

ผมชอบดู เพราะเป็นนักศึกษาทุนภาษาฮินดี น่ะครับ

เสียดายว่าย้ายมาเชียงรายไม่ได้เอามาด้วยแต่ก็ดูในอินเตอร์เน็ตอยู่น่ะ

ตอนนี้กำลงดู Mahabharat (English Subtitles) Episode จาก ัhttp://www.youtube.com/watch?v=qkj4HJh13nk&feature=related มีแค่ แต่พากษ์ฮินดีน่ะค่๙๐ กว่าตอนเองน่ะ

สวัสดีค่ะ

มาตามหาหนุ่มอินเดีย เอ๊ย! ไม่ใช่ค่ะ

มาตาอ่านเรื่องพุทธสถานที่เคยไป

ครบทั้งสี่แห่งเรียบร้อยค่ะ

พระพุทธเมตตางามมากๆนะคะ

ที่พุทธคยา

สวัสดีตันติราพันธ์ครับ

ดีใจจัง มีคนตามหา แม้หลอกให้ดีใจ

นับว่าเป็นความโชคดีที่ไปครบทั้งสี่แห่งครับ ผมก็ไปหลายครั้งครับ

เป็นวิทยากรนำเที่ยวก็หลายหนครับ

ติดตามอ่านเรื่องราวอืินเดียได้ที่นี้น่ะครับ

ตั้งใจว่าซักวันหนึ่งจะต้องไปให้ได้

จะเก็บตังไปเอง

ตอนนี้ก็เรียนให้จบก่อน

สู้ๆ

สวัสดีครับ วรารัตน์

คิดเหมือนผมครับ ผมคิดว่าสักวันหนึ่งต้องไป ตั้งแต่เรียนปริญญาตรี

รอมาเกือบ๑๐ ปี จึงได้ไป เมื่อได้ไป อยู่เกือบ ๑๐ ปีครับ

ขอให้ได้ไปจริงๆๆน่ะครับ

สวัสดีตอนบ่ายครับ KRUPOM

ขอบคุณที่มาทักทาย

ตอนนี้งานยุ่งมากจนไม่ได้เขียนบล็อคเลยครับ

งามสุดๆพระพุทธศาสนาล้ำค่าขอกราบนมัสการ

สวัสดีครับ ไม่แสดงตน

มีโอกาสเชิญไปเที่ยว และกราบไหว้พุทธสถานสักครั้งในชีวิต

ดีมากเลยครับไม่ทราบว่าอาจารย์ทีข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุและวัตถุประสงค์ของการสร้างพุทธสถานในอินเดียหรื่อไม่ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท