คำถามสุดฮิต 2 : ทำไมจึงเรียกว่า “ ตารางอิสรภาพ ”...จะอิสรภาพได้อย่างไร... ในเมื่ออยู่ในตาราง?


ทำไมจึงเรียกว่า “ ตารางอิสรภาพ ”...จะอิสรภาพได้อย่างไร  ในเมื่ออยู่ในตาราง?


       

        <p align="justify">             หลังจากเคยเปิดตัวคอลัมภ์ หรือหัวข้อ “คำถามสุดฮิต” ไปแล้ว   ก้อ…สนุกกับเรื่องเล่า เรื่องอื่นบ้าง เลยขอเว้นวรรคตอบคำถามบางคำถามไป  บังเอิญมีคำถามนี้ ... ทำไมจึงเรียกว่า “ ตารางอิสรภาพ ”  จะอิสรภาพได้อย่างไร ในเมื่ออยู่ในตาราง?... เกิดขึ้นมาอีกรอบในเวทีการอบรมปฏิบัติการ Facilitator และ Note taker ที่จัดโดยสำนักควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพ กรมควบคุมโรค ที่เล่าไปบ้างแล้วน่ะค่ะ ก็เลยหยิบมาบอกเล่าต่อในครั้งนี้</p> <p align="justify">             จากคำถามนี้ ...ดิฉันอยากหยิบบางส่วนของบทความดีดี ที่ได้จากการอ่านใน...หนังสือ “หลุด(freedom)” ที่อาจารย์ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด เป็นผู้แปลและเรียบเรียง จากบทบรรยายของ Osho (โอโช่)  และ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช เขียนไว้ใน...คำนิยม...ของหนังสือเล่มนี้ มาบอกกับผู้อ่าน เพื่อเรียนรู้ร่วมกันค่ะ</p> <p align="justify">         อาจารย์หมอวิจารณ์ ... ท่านเขียนไว้ว่า …</p> <p align="justify">     … การจัดการความรู้คู่กันกับความคิดสร้างสรรค์ หรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็นสิ่งเดียวกันก็ได้ และความคิดสร้างสรรค์คู่กันกับจิตที่มีอิสรภาพ ทีมงานจัดการความรู้ที่ดีต้องเป็นผู้มีจิตอิสระ 2 ด้าน ด้านหนึ่งคือจิตอิสระในตนและอีกด้านหนึ่งคือการยอมรับจิตอิสระของเพื่อนร่วมงาน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ รู้จักมีและรู้จักให้ความเป็นอิสระ มีความเป็นอิสระในจิตใจของตนและให้ความเป็นอิสระแก่ผู้อื่น</p> <p align="justify">
            ผู้มุ่งมั่นใช้การจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือพัฒนางาน พัฒนาตน และพัฒนาองค์กร  จึงควรทำความเข้าใจความเป็นอิสระ นำมาทดลองปฏิบัติ แล้วนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เป็นหัวข้อย่อย (ที่ยิ่งใหญ่) หัวข้อหนึ่งของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ .........
</p>               ความเป็นอิสระในด้านการจัดการความรู้ เป็น “อิสระแบบไม่อิสระ” คือ ต้อง “ยึดมั่น” อยู่กับเป้าหมายหรือปณิธานความมุ่งมั่นขององค์กรหรือหน่วยงาน แต่มีอิสระที่จะคิดวิธีทำงานใหม่ๆ เพื่อพัฒนางานในความรับผิดชอบของตน <p align="justify">
             ความเป็นอิสระในระดับ “หลุดพ้น” ไม่ได้อยู่ลอยๆ ไม่ใช่หลุดแบบล่องลอย แต่เป็นการ “หลุด” จากสภาพหนึ่งไปสู่อีกสภาพหนึ่ง สภาพที่เราต้องการหลุดพ้น คือ การถูกพันธนาการ ถูกตีกรอบ การยึดมั่นถือกับสิ่งปลอม</p> <p align="justify">
             อิสรภาพมีหลายมิติ ทั้งมิติทางกาย ทางจิตใจ และทางวิญญาณในทางจิตใจ ยังมีมิติอิสรภาพในจิตสำนึก จิตใต้สำนึก และจิตเหนือสำนึก และอิสรภาพน่าจะมีหลายระดับ”…..</p> <p align="center">            ในความเชื่อของผม….อาจารย์หมอวิจารณ์ …ท่านบอกต่อว่า…</p> <p align="center">“อิสรภาพทางทฤษฎีไม่สำคัญเท่าอิสรภาพทางปฏิบัติ การเรียนรู้อิสรภาพต้องเรียนรู้แบบควบคู่ คือเรียนรู้โดยการปฏิบัติควบคู่กับทฤษฎี “ </p> <p align="center">เมื่อปุจฉา...ไม่ธรรมดา... วิสัชชนา จึง...ไม่ธรรมดา</p> <p align="center"></p> <p align="center">ตารางอิสรภาพ จึงเป็น...เครื่องมือของการจัดการความรู้ ที่ “นักเรียน” ต้อง...ฝึกปฏิบัติและเรียนรู้ให้เข้าถึง สภาวะ “อิสระแบบไม่อิสระ”</p> <p align="center">และนั่นคือ “หลุด” ชนิด “หลุดแต่ไม่ล่องลอย”</p> <p align="center">*_*
</p>

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 23863เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2006 19:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

                  

              อิสรภาพคือการไม่ติดในความคิด

              อิสรภาพไม่ใช่การไม่คิดและไม่ใช่

              การบังคับความคิด อิสรภาพที่จะ

              ตั้งคําถาม อิสระที่จะค้นหาและสอบสวน

              การทําตามใจชอบไม่ใช่อิสรภาพ

              การสร้างตารางหรือไม่นั้นไม่สําคัญเท่า

              กับการมองเห็นว่า สิ่งที่ความคิดสร้างขึ้น

              สิ่งนั้นไม่ใช่อิสรภาพ ถ้าจะสร้างแนวทาง

              อะไรบางอย่าง ไม่ควรกล่าวถึงอิสรภาพ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท