Note การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนวาระหลัก


มีเด็กอยากปล่อยของก็ต้องมีคนอยากเอาของ สำคัญอยู่ที่ให้มีเด็กเริ่มทำของ มาเป็นกลุ่ม /หมอยงยุทธ

เมื่อวันพุธประชุมคณะทำงานกันเหนื่อยครับ  มีการตีโจทย์มากมาย สรุปก็คือต้องพยายามทำงานส่วนที่จะเชื่อมกับเด็กให้มีความเป็น indy มากหน่อย ต้องเปิดและจัดการพื้นที่ ส่วนเยาวชนจะช่วยกันดึงดูดและจัดการเรื่องการแสดงออกได้   แต่เนื่องจากวันที่ 27 มีงานของวันเสาร์เยาวชนสร้างสรรค์นั้นหมอบัณฑิตคงต้องดำเนินการไปก่อน เมื่อเยาวชนแข็งแล้วจึงร่วมกันได้ชัดเจนครับ  ส่วนหมอศุภกรก็ให้แนวคิดไว้ว่าเราควรจะขับเคลื่อนพลักดันให้เกิดวาระการรวมตัวของภาคี เยาวชน และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆในการตั้ง 'วาระ' ในระดับพื้นที่ต่าง สสส. จับงานเชื่อมโยงและเสริมในจุดที่แต่ละกลุ่มทำไม่ได้ครับ แล้วดันให้เกิดขึ้นทั่วประเทศเริ่มจากพื้นที่ภาคีก่อนครับ แล้วค่อยขยายไป d-day วันเด็กปีหน้า   จะทำเรื่องนี้ได้จะต้องมีระบบข้อมูลที่ดีทั้งในการเลือกพื้นที่ และการสนับสนุนการจัดการให้เชื่อมโยงกันในทุกจุดครับ   ที่เหลือเป็น note การประชุมครับ

 

 

 

มิติบูรณาการวาระหลัก (หมอกฤษดา)

      กิจกรรม ถนนเด็กเดิน-วันเสาร์เยาวชนสร้างสรรค์

  เกิดพื้นที่ดีๆให้แก่เด็กอย่างต่อเนื่อง (เปิดพื้นที่สาธารณะ)

   1 กทม.

   15 ต่างจังหวัด

      ข้อมูล

      สื่อสาร

      นโยบาย

ประเด็นยุทธศาสตร์หมอยงยุทธ

      ทีวีเพื่อเด็ก

      พื้นที่สร้างสรรค์

      สภานักเรียน

      สิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก

มุมคนรุ่นใหม่

      ที่ต้องการที่สุดคือพื้นที่! ไม่มีเจ้าภาพ ไม่มีทิศทาง

    ต้องการการยอมรับไม่ว่าจะถูกหรือผิดทาง

      ไม่ใช่เป็นการประกวด เป็นคนดีไม่ต้องมีที่หนึ่ง

      เปิดพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

      รูปธรรมเช่น

    การปิดถนน แต่ต้องระวังกระบวนการแทรกแซง ต้องมีการจัดการพื้นที่ให้ดี

    ตัวอย่าง

    Indy book fair

    Bangkok play

    Jazz festival

    TADC

    มหกรรมความสุข

      ทำอย่างไรให้มีเจ้าภาพ และทำอย่างไรให้ยั่งยืน

      เมื่อมี ต้นแบบ + พื้นที่เรียนรู้ = เกิดเครือข่ายที่จัดการตัวเองแบบเด็กแนว

      เปิดพื้นที่ให้มีส่วนร่วม ไม่ใช่เปิดที่ได้เดินเที่ยว ไม่ใช่จตุจักร

      พื้นที่ต้องเป็นพื้นที่เหมาะกับ free / niche / indy culture

      ต้องการให้ถอดบทเรียนเพื่อขยายผลได้ในจังหวัดอื่นๆ

      ประเด็นคือการเปิดพื้นที่เปิดโอกาส

 

 

 

ประสบการณ์จริง

      ปิดถนน ร่วมกับกระทรวงศึกษา

      4 อาทิตย์ สามแสน จัดอย่างไร?

      ดึงเด็กมาประกวดดนตรี เด็กสนใจจนจัดตารางไม่ทัน พวกค่ายเทป indy ก็จะมาวนเวียนใกล้ๆ

      มีพื้นที่ซึ่งเหมาะสม à มีคนมาเอง ?

      Theme วัยรุ่น แนวแปลกๆ เช่นสอนทำปลาตะเพียน ซึ่งสามารถก่อตัวเป็นสานร้อยแปดจนมะพร้าวไม่พอ

      กลุ่มศิลปะได้มาตั้งพื้นที่นั่งวาดรูปเหมือน มี jagging  

      ประเด็นคืออำนวยความสะดวกให้เกิดพื้นที่

 

      กระบวนการแลกเปลี่ยนระหว่างเวทีกับผู้เรียนรู้ ย่อมมีประโยชน์กว่าการแสดงแต่อย่างเดียว

 

แนวหลักๆ

      พื้นที่กลาง

      สาธิต

      มีส่วนร่วม

 

หมอยงยุทธ

      อยากปล่อยของก็ต้องมีคนอยากเอาของ

      สำคัญอยู่ที่ให้มีเด็กเริ่มทำของ มาเป็นกลุ่ม

      กระตุ้นให้กลุ่มที่มาดู นำไปสู่การอยากทำ

 

      กระทรวงศึกษาไม่มีทางเปลี่ยนวิธีคิดที่จะสร้าง creative space ในโรงเรียน จึงต้องใช้ยุทธศาสตร์แบบ outside-in จึงจะได้ผล

      ต้องดันให้กลุ่มทำของกลับไปสู่การตั้งชมรม/กลุ่มที่ยั่งยืนในโรงเรียน มหาวิทยาลัย และกลุ่มเพื่อนฝูงได้

      ถนนคนเดินวัดความสำเร็จที่คนที่กลับไปทำของมากขึ้น ไม่ใช่แค่จำนวนคนมาดู

      อย่าให้เด็กมาเป็นแค่ไม้ประดับ

หมอบัณฑิต

      Zone 4 ซึ่ง organizer เสนอมานั้น open อยู่แล้วนี่  น่าจะ blend กันได้หรือไม่

      น่าจะสวมกัน 3 ทางเป็นไปได้ดังนี้

  เปิดพื้นที่ open ส่วนหนึ่ง

  จัดเวทีคู่ขนาน

  Total switch

 

หมอศุภกร

      วาระตั้งเพื่อหาจุดร่วมที่จะทำให้เกิดความแรงสุดๆในช่วงแต่ละปี

      เมื่อเริ่มต้นด้วยข้อจำกัดแล้ว

   ถ้าใหม่ไปเลย ก็อาจจะง่าย แต่เหนื่อยเพราะไม่มี leverage and vice versa

      โจทย์อยู่ที่การต่อเชื่อมสามกลุ่ม (multi-stakeholder partnership?)

   ภาคี

   เยาวชน ดึงเป็นพระเอก/นางเอกให้ได้ เป็น actor

   อื่นๆ เช่นผู้บริหารท้องถิ่น สื่อมวลชน

      ต้องหาจุดนัดพบให้เจอไม่ว่าจะเป็น

   สถานที่เช่นของหมอบัณฑิต

   ในระดับจังหวัด

   ตั้งเป้าว่าจะมาทำอะไร แนวไหน อย่างไร

   ฝ่ายสารสนเทศต้องช่วยว่าจะเชื่อมโยงอย่างไรกับใคร ผู้ว่า รัฐมนตรี เด็ก ฯลฯ

   อาจไม่จำเป็นต้องคิดรวบรัดมากเกินไปแต่ต้น  จะได้เปิดมากพอที่จะรับความต้องการจริงได้

   ทำเหมือน mob โดยมีเราเป็นเจ้าภาพและจัดกระบวนการให้คนอื่นมีบทบาทในกิจกรรมนั้นๆ

เป้าหมายคือพลักให้เกิด วาระ และ กลุ่มทำงาน ในพื้นที่เล็กนั้นๆ แล้ว สสส. ค่อย position เป็น supporter ในส่วนที่เขาดิ้นรนเองไม่ได้ เช่นนโยบายและสื่อ คล้ายกระบวนการสำนักงานปฏิรูปฯ เดินไปเรื่อยๆจนถึงจุดนัดพบระดับชาติในวันเด็ก

 

      ถนนเด็กเดิน custom made > 15 แบบ

      เชิญทีมไปช่วยคิดตอนทำระดับจังหวัด

      เน้นวัยรุ่นอย่างเดียวหรือเปล่า? ปกติเด็กน้อยก็ไม่มีพื้นที่จะเล่นแล้ว ต้องดึงพื้นที่เรียนรู้เด็กน้อยกลับมาบ้าง กลุ่มเป้าหมายควรจะหลากหลาย?

      ถนนเด็กเดินมีเป้าหมายมากกว่าพื้นที่แสดงศักยภาพ ไม่ใช่แค่ show zone! อะไรที่ดีก็ควรมีอยู่แม้จะไม่ popular

      จับปูสามกระด้งมากเจอกันให้ได้  ต้องจัดการเรื่องข้อมูลให้ดีก่อน ว่าสรุปแล้วภาคีออกันอยู่ตรงไหน เริ่มจากพื้นที่ประเภทนั้นก่อนอาจจะไม่ยากนักในการดำเนินการ  ในกทม. อาจต้องบริหารจัดการข้อมูลอีกลักษณะหนึ่งหรือไม่ แล้วใช้ภาคีเป็น outreach ในประเด็นต่างๆ

      จัดเรื่องจังหวะเวลาให้เกิด momentum ไปเรื่อยๆจนถึงระยะที่ปักธงได้เช่นวันเด็กในเชิงประเด็นที่สำคัญ

      ตัวบ่งชี้ที่ขับเคลื่อนงานจังหวัด คือการ survey ความรู้สึกของเด็กในเรื่องต่างๆ เช่นความปลอดภัย การเรียนรู้ ความมีส่วนร่วม สภาพแวดล้อมในชีวิต

ปรับปรุงกรอบผลลัพธ์

      มีการประชุมที่มวกเหล็กออกมาเป็นกรอบดังในเอกสาร

      การชี้วัดทำได้สองระดับ คือภาพใหญ่และระดับกิจกรรม/โครงการ ซึ่งต้องไปทำอีกทีเพื่อติดตามว่ากิจกรรมบรรลุประสิทธิผลจริงหรือไม่ เชื่อมโยงไปสู่กรอบใหญ่เพียงใด

      โครงการส่วนใหญ่มักจะคาดในเรื่องของเกณฑ์ประเมิน ซึ่งต้องมีมิติ หัวข้อ และเกณฑ์วัดผล

      ตัวชี้วัดต้องคิดเงียบๆลึกซึ้ง J  

      เรากำลังทำเรื่องกระบวนการเรียนรู้ทางสังคม  ผลสำคัญประเมินด้านพฤติกรรมการเรียนรู้ และต้อง realistic สะท้อนความเป็นไปได้ในช่วง 6-8 เดือนในทั้งสามกลุ่มคือคนที่เกี่ยวข้องกับโครงการ (เด็ก + ภาคี) และสังคมที่กว้างออกไป

      ยากที่จะวัดไปไกลว่ากระบวนการเรียนรู้  เพราะประเด็นอื่นๆอาจจะเกิดอีกหลายซิ่ง

      ต้องจัดการข้อมูลก่อนจึงจะจัดการได้ ต้องรู้ว่าจะดึงใครเข้ามา เพื่อให้มีข้อมูลจริงที่นำไปสู่การตัดสินใจได้จริงบนฐานภาคีเดิมที่มีอยู่จริง

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 23834เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2006 15:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท