พัฒนาโจทย์วิจัยใครว่าง่าย


ชุมชนชนบทของประเทศไทยถูกทำลายลงด้วยนโยบายและการให้ความช่วยเหลือจากภาครัฐโดยไม่สอบถามถึงความสมัครใจของเขาก่อน

การพัฒนาประเทศที่ผ่านมาลักษณะของ"โปรเจคเดียว หนึ่งหมื่นหมู่บ้านนั้น" มีปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาหน่วยงานราชการรับนโยบายลงมาก็จะมาปฏิบัติตามคำสั่งโดยไม่ได้คำนึงถึงความต้องการของชุมชนและผลได้ผลเสียที่จะตามมา

ฉันได้มีโอกาสร่วมกับ NODEแม่กลอง ไปพัฒนาโจทย์วิจัยที่ชุมชนบ้านไร่ใหม่ใกล้ๆ กับวิทยาลัยของฉัน ใครว่าโจทย์วิจัยของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเป็นเรื่องง่ายๆ ไม่จริงเลยเพราะชาวบ้านของเรานั้นเป็นฝ่าย"ถูกกระทำ" มาเป็นเวลานานพวกเราต้องคอยช่วยตะล่อมเขาให้เข้าที่เข้าทาง ทั้งเข้าทางเขาและเข้าทางเราก่อน

เข้าทางเขา หมายถึงการเข้าถึงปัญหาที่แท้จริงของชุมชน ปรากฏว่าปัญหาส่วนใหญ่เป็นรอยร้าวภายในชุมชนที่ผลประโยชน์จากภาครัฐเข้ามามีส่วนให้เกิดความแตกแยก การดึงคมให้หันหน้าเข้ามาคุยกันนั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่าย ชาวบ้านมีหลายฝ่าย และชาวบ้านก็ไม่ฟังกันตั้งหน้าตั้งตาจะเถียงกัน ตั้งหน้าตั้งตาที่จะเอาเรื่องของตนเองเป็นที่ตั้ง

ส่วนเข้าทางเรานั้นก็คือ โจทย์วิจัยต้องเป็นงานเย็น ไม่ใช่เรื่องของความขัดแย้ง ไม่มีโจทก์ ไม่มีจำเลย เราจะไม่เข้าไปอยู่ระหว่างความขัดแย้ง แต่เราจะฝึกให้ชาวบ้านหันหน้ากลับมาปรึกษาหารือกัน การตะล่อมให้เข้าทางเราต้องฝึกให้ชาวบ้านรู้จัก"การฟังที่ดี"ด้วย เพราะต่างคนต่างพูดไม่ฟังกันเลย

ถ้าเราใช้เวลากว่า 70 ปี พัฒนาประเทศโดย"การเมือง" มาจนคุณภาพคนโตแต่เรื่องของเศรษฐกิจ แต่ไม่ได้พัฒนา"ความคิด" และไม่ได้ใช้"ความรู้" ที่มีอยู่ในชุมชนให้เกิดประโยชน์ พวกเราก็อาจจะต้องใช้เวลามากกว่า 70 ปี เราถึงจะเห็น"สังคมอุดมปัญญา"เกิดขึ้นในเมืองไทยของเรา

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 23805เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2006 07:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท