ชุดการเรียนรู้ เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์


ชุดการเรียนรู้

 

 

 

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่  1

 

เรื่อง  โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


เอกสารเสริมความรู้สำหรับครู

เรื่อง  โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์

 

                เซลล์เป็นหน่วยของสิ่งชีวิตที่เล็กที่สุด  ส่วนใหญ่มีขนาดที่เล็กมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า  เพราะฉะนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงต้องใช้กล้องจุลทรรศน์  สำหรับกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่  2  ประเภท  ประเภทแรก  คือ  กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง  ที่ใช้กันทั่วไปในห้องปฏิบัติการ  และประเภทที่สองคือ  กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน  ที่ใช้ในการศึกษารายละเอียดของเซลล์ที่ไม่สามารถใช้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงได้

 

1.       ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์

1.1    กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงที่ใช้กันทั่วไป  ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ  ดังนี้

1.1.1           เลนส์ใกล้ตา  เป็นเลนส์นูน  ทำหน้าที่ขยายภาพของวัตถุ

1.1.2           ลำกล้อง  เป็นท่อเชื่อมระหว่างเลนส์ใกล้ตากับเลนส์ใกล้วัตถุ

1.1.3           เลนส์ใกล้วัตถุ  เป็นเลนส์นูน  ทำหน้าที่ขยายภาพของวัตถุ

1.1.4           แท่นวางสไลด์  เป็นแท่นสำหรับวางวัตถุหรือสไลด์  มีช่องกลมอยู่ตรงกลาง  เพื่อให้แสงจากด้านล่างส่องผ่านขึ้นมาได้

1.1.5           ปุ่มปรับสภาพหยาบ  สำหรับใช้หมุนหาภาพของวัตถุก่อนใช้ปุ่มปรับภาพละเอียด

1.1.6           ปุ่มปรับภาพละเอียด  สำหรับใช้หมุนปรับภาพของวัตถุให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น

1.1.7           กระจกเงา  เป็นกระจกเว้า  ทำหน้าที่สะท้อนแสงให้ส่องไปที่วัตถุ

1.1.8           ที่หนีบสไลด์  เป็นแผ่นโลหะอยู่บนแท่นวางวัตถุ  ทำหน้าที่หนีบสไลด์        ให้อยู่กับที่

 

 

 

 

 

 

 

 

วิธีการใช้กล้องจุลทรรศน์ในการศึกษาเซลล์

1.2          การใช้กล้องจุลทรรศน์อย่างถูกวิธีมีข้อปฏิบัติดังนี้

1.2.1           ตั้งตัวกล้องให้ตรง

1.2.2           หมุนเลนส์ใกล้วัตถุให้เลนส์ที่มีกำลังขยายต่ำสุดอยู่ตรงกับแนวลำกล้อง

1.2.3           ปรับกระจกเงาใต้แท่นวางวัตถุ  ให้แสงผ่านเข้าลำกล้อง

1.2.4           นำสไลด์ตัวอย่างเซลล์ที่ต้องการศึกษา  (ปิดด้วยแผ่นกระจกปิดสไลด์แล้ว)           วางบนแท่นวางสไลด์ให้อยู่ตรงกลางของช่องที่แสงผ่าน

1.2.5           ตามองด้านข้างตัวกล้องค่อย ๆ  หมุนปุ่มปรับภาพหยาบ  ให้ลำกล้องเลื่อนใกล้กับวัตถุมากที่สุด

1.2.6           ตามองที่เลนส์ใกล้ตาผ่านลำกล้อง  ถ้ายังไม่เห็นภาพของวัตถุให้ค่อย ๆ  หมุนปุ่มปรับภาพหยาบช้า ๆ  จนเห็นภาพ  แล้วจึงค่อย ๆ  หมุนปุ่มปรับภาพละเอียดเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น

1.2.7           ถ้าต้องการขยายภาพให้เห็นภาพใหญ่ขึ้น  ให้หมุนเลนส์ใกล้วัตถุโดยให้เลื่อนเปลี่ยนเลนส์เป็นเลนส์กำลังขยายที่สูงขึ้นตามลำดับ  แล้วปรับภาพที่เห็นใหม่ให้ชัดด้วยการหมุนปุ่มปรับภาพละเอียดเพียงอย่างเดียว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แผนการจัดการเรียนรู้ที่  1

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์                                                              รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน

เรื่อง  โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์                                                ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1

ภาคเรียนที่  1       ปีการศึกษา  2549                                                                                จำนวน  2  ชั่วโมง

 


สาระที่  1  :  สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต

 

มาตรฐานการเรียนรู้   1.1

                เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต  ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่าง ๆ  ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน  มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้  นำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเอง  และดูแลสิ่งมีชีวิต

 

มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น

1.       สำรวจตรวจสอบ  และอธิบายลักษณะและรูปร่างของเซลล์ต่าง ๆ  ของสิ่งมีชีวิต           เซลล์เดียว  และสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์

2.       สำรวจตรวจสอบ  สืบค้นข้อมูล  อภิปรายและอธิบายโครงสร้าง  และการทำงานของระบบต่าง ๆ  ของสิ่งมีชีวิต  (พืช  สัตว์  และมนุษย์)  การทำงานที่สัมพันธ์กันของระบบต่าง ๆ  และนำความรู้ไปใช้

 

สาระสำคัญ

                สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่จะประกอบด้วยเซลล์หลายชนิด  โดยเซลล์แต่ละชนิดจะมีรูปร่างที่แตกต่างกันไปตามหน้าที่ของเซลล์ชนิดนั้น ๆ  หรือกล่าวง่าย ๆ  ได้ว่าหน้าที่ที่แตกต่างกัน                ทำให้เซลล์แต่ละชนิดมีรูปร่างที่ต่างกัน

 

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

1.       เตรียมสไลด์เพื่อศึกษาลักษณะและรูปร่างของเซลล์ต่าง ๆ  ของสิ่งมีชีวิตภายใต้กล้องจุลทรรศน์  อธิบายและเขียนแผนภาพแสดงส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์

2.       อธิบายหน้าที่ส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์

จุดประสงค์การเรียนรู้

                1.  เตรียมสไลด์สดของเซลล์พืชได้

                2.  ใช้กล้องจุลทรรศน์เพื่อศึกษารูปร่างและส่วนประกอบของเซลล์ได้

                3.  วาดภาพและชี้ส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ได้

                4.  อธิบายรูปร่างลักษณะและส่วนประกอบสำคัญของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ได้

                5.  เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ได้

สาระการเรียนรู้

1.       รูปร่างและส่วนประกอบของเซลล์พืช

2.       รูปร่างและส่วนประกอบของเซลล์สัตว์

 

กิจกรรมการเรียนรู้

                ขั้นสร้างความสนใจ

                1.  นักเรียนศึกษาตัวอย่างภาพเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว  เช่น  เซลล์อมีบา               เซลล์พารามีเซียม   ครูนักเรียนร่วมกันอภิปรายจากภาพที่ศึกษาด้วยการตอบคำถาม จากภาพที่นักเรียนเห็นน่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ เพราะเหตุใด

    แนวคำตอบ   เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เพราะประกอบด้วยเซลล์เพียง 1 เซลล์

                    ครูนำอภิปราย  นักเรียนทราบหรือไม่ว่าคน  สัตว์  พืช ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมาก  นักเรียนร่วมอภิปรายว่าร่างกายของคน  สัตว์  พืช น่าจะประกอบด้วยเซลล์หลายๆ  เซลล์  และนักเรียนคิดว่าเซลล์ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีรูปร่างและส่วนประกอบเหมือนกันหรือไม่

                    แนวคำตอบ  ไม่น่าจะเหมือนกัน

                2.  ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้    กำหนดเวลาและข้อตกลง  อื่น ๆ  ให้ผู้เรียนเข้าใจตรงกันก่อนเข้ากลุ่มปฏิบัติกิจกรรม

 

                ขั้นสำรวจและค้นหา

                3.  นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น  5  กลุ่ม  กลุ่มละประมาณ  4-5  คน  แต่ละกลุ่มประกอบด้วยเด็กเก่ง  ปานกลาง  อ่อน  คละเพศและความสามารถ  เลือกตั้งประธาน  เลขานุการมอบหมายหน้าที่

                4.  ตัวแทนกลุ่มรับชุดกิจกรรมที่  1  ใบงานการทดลองที่1.1 เรื่อง  เซลล์ของสิ่งมีชีวิต      ใบงานที่ 1.1 เรื่อง  รูปร่างและส่วนประกอบของเซลล์

3.       ครูแนะนำเกี่ยวกับส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์และสาธิตวิธีการใช้      

กล้องจุลทรรศน์

                6.   นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาใบงานการทดลอง 1.1 และปฏิบัติกิจกรรมการทดลองตามขั้นตอนในใบงาน

                7.   นักเรียนแต่ละกลุ่มวาดภาพของเซลล์แต่ละเซลล์ที่มองเห็นจากกล้องจุลทรรศน์ลงในแบบบันทึกผลการทดลอง

ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป

8.    นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะของเซลล์แต่ละชนิดที่นักเรียน            เห็นได้จากกล้องจุลทรรศน์เป็นสรุปผลของกลุ่ม

9.       แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอรายงานผลการสรุปของกลุ่มหน้าชั้นเรียน

10.    ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุปเป็นองค์ความรู้ร่วมกันอีกครั้ง ดังนี้

                เซลล์มีรูปร่างและลักษณะต่างๆ กัน  โดยเซลล์พืชทั่วไปเป็นรูปสี่เหลี่ยม   เซลล์สัตว์ไม่เป็นสี่เหลี่ยมชัดเจนเหมือเซลล์พืช

                เซลล์พืชมีส่วนประกอบเรียงจากด้านนอกเข้าสู้ด้านใน คือ ผนังเซลล์  เยื่อหุ้มเซลล์          ไซโทพลาซึม และนิวเคลียส  และในเซลล์บางชนิด  เช่นเซลล์สาหร่ายหางกระรอก พบเม็ดสีเขียวจำนวนมากเรียกว่า  คลอโรพลาสต์ลอยอยู่ในไซโทพลาซึม  เซลล์สัตว์มีส่วนประกอบเหมือนกับเซลล์พืช คือ นิวเคลียส  ไซโทพลาซึมและเยื่อหุ้มเซลล์  แต่ไม่มีผนังเซลล์และคลอโรพลาสต์

นักเรียนจดบันทึกลงในสมุดงาน

ขั้นขยายความรู้

11.    ตัวแทนกลุ่มแต่ละกลุ่มออกมารับใบงานที่ 1.1  เรื่อง  รูปร่างและส่วนประกอบของเซลล์  จากครูผู้สอน

12.    นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาใบงานที่ 1.1  เรื่อง  รูปร่างและส่วนประกอบของเซลล์  ร่วมกันอภิปราย ทุกคนช่วยกันตอบคำถามในใบงาน   

ขั้นประเมิน

13.    ตัวแทนกลุ่มรวมรวบคำตอบของสมาชิกในกลุ่ม  แล้วนำไปแลกเปลี่ยนกับกลุ่มอื่น

เพื่อเปลี่ยนกันตรวจจากแบบเฉลยใบงาน ที่ 1.1  เรื่อง  รูปร่างและส่วนประกอบของเซลล์ 

14.    ตัวแทนแต่ละกลุ่มนำใบงานที่ตรวจเสร็จแล้วมาส่งที่ครูผู้สอน

 

คำสำคัญ (Tags): #ชุดการเรียน
หมายเลขบันทึก: 237751เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2009 15:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 23:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
ศุลีพร ขอเชื้อกลาง

สวัสดีค่ะ ขอเป็นกำลังใจและเอาใจช่วยให้ผลงานประสบความสำเร็จในเร็ววัน

ณัฐพงศ์ ติยะสุวรรณ

ดีมากและให้ความรู้มาก

ดว้ยความเคราพอย่างสูง

อยากถามว่ารูปร่างของเซลล์มีความสัมพันธ์กับการทำหน้าที่ของเซลล์นั้นหรือไม่ อย่างไร

มีตัวอย่างด้วยก็ดีนะคะ

ด่วนด้วยก็ดีนะคะ

ช่วยอธิบายแผนภาพโครงสร้างเชลล์สัตว์และพืชหน่อยคร้า

คือครูให้ภาพมาแต่ให้เติมตัวเลขว่าเลข1คืออะไรอย่างนี้ค่ะช่วยทำแผนภาพให้หน่อยคร้า

ด่วนหน่อยนะคร้าครูให้ส่งพรุ่งนี้

พี่หนูได้อ่านงานพี่แล้วไม่ทราบว่ามีงานพี่  บังเอิญมาค้นหาภาพเพื่อจะไปแก้ไขงาน  อ.3  เพราะอาจารย์ให้ปรับปรุงมาเยอะมาก มาหาที่มาของรูปภาพ  และภาพชัดเจนยิ่งขึ้นก็เลยมาเห็น ขอคุยด้วยนะคะ  เดี่ยวจะมาถามพี่อีกหลายเรื่อง  อย่าเพิ่งเบื่อหนู้นะคะ

ขอให้กำลังใจในการทำงาน สู้ สู้ จ้า...............

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท