โรงเรียนที่ไม่เสียเงินนะ...มีไหม


การศึกษาคือการลงทุน...แต่เก็บค่าเทอมแพงมาก..ลูกชาวบ้านจะมีสิทธิ์เรียนไหมเนี่ย

 

   ผมอ่านเรื่องของคุณมุทิตาพบว่าสถานที่เรียนที่ไม่เสียเงินนี่ไม่มีเลย ดูเรื่องของเธอจากเรื่องโรงเรียนแนวใหม่(?) (ต่อ) พบว่า"ว่าแล้ว... คำว่าเรียนฟรีไม่เคยมีจริง แต่ค่าใช้จ่ายนับว่าถูกมาก เพียงแค่สามพันหน่อยๆ ยิ่งดูรายละเอียดก็พบว่าเป็นเครื่องแบบนักศึกษาทั้งหมด  แต่ก็มีอยู่หนึ่งรายการที่รู้สึกแหม่งๆ คือ ชุดสูท ราคา 2,400 บาท!!" ผมคุยกับท่านอาจารย์ที่เคารพท่านหนึ่ง  ท่านบอกว่าไปเสียเงินค่าเทอมหลานน้อยๆมา แต่เงินไม่พอจึงต้องมากดที่ธนาคาร  เด็กที่อาจารย์ท่านอุปการะอยู่ชั้นประถมศึกษาเสียเงินค่าเทอมเกือบ 10,000 เพื่อนรักที่เป็นครูที่โรงเรียนประจำจังหวัดหนึ่งเล่าว่า โรงเรียนเก็บเงินค่าบำรุงโรงเรียน 5,000 บาทไม่รวมค่าบริจาค  ปรากฏว่าผู้ปกครองไม่มีเงิน เนื่องจากเป็นชาวไร่รับจ้างตัดอ้อย ได้เงินวันละไม่กี่บาท ทางโรงเรียนให้นำเงินมาชำระภายใน 2 วัน ชาวบ้านธรรมดาจะไปหาที่ไหนทัน  กินยังไม่มีเลย  อยากวอนครูอาจารย์เห็นใจผู้ปกครองบ้าง  อย่าเป็นยักษ์เป็นมาร กันเลย สงสารผู้ปกครองและเด็กที่อยากเรียนเถอะครับ ท่านใดมีประสบการณ์ ความคิดเกี่ยวกับการเก็บเงินของโรงเรียน เข้ามาแสดงความคิดเห็นบ้างนะครับ

หมายเลขบันทึก: 23769เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2006 22:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2013 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
โรงเรียนที่ไม่เสียเงิน มีไหม........
บอกว่าไม่เก็บค่าเทอม
ค่าอย่างอื่นแพงกว่าค่าเทอมอีก
ค่าครองชีพสูง เป็นปัจจัยที่มีผลกระทบไปทั่วหน้า.. ต้องการพัฒนาวัตถุ ก็ต้องใช้เงิน การจัดการเรียนการสอน วัสดุทางการศึกษา ก็ต้องมีเงินเป็นส่วนประกอบ.. แล้วจะไปหาเอาจากที่ไหน ก็ที่นักเรียนงัยล่ะ ก็มันระบบธุรกิจนี่

การศึกษาที่ออกนอกระบบก็ต้องเลี้ยงตัวเอง.. ค่านิยมก็มีส่วนที่พลักดันให้ต้องดิ้นรนเพื่ออนาคตที่ดี แต่ไม่ได้ประกันการว่างงานให้นะ ว่าคุณเรียนจบออกมาแล้วจะมีงานทำทุกคน คุณก็ต้องไปดิ้นรนกันเอาเองในสนามชีวิต..

ถ้าบ้านเมืองเราส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ไม่ใช่อุตสาหกรรมอย่างปัจจุบันนี้ ปัญหาน่าจะลดลง ถ้าไม่มีการคดโกง ไม่ส่งเสริมอบายมุข..

นำรายได้มาเสริมให้กับสถานศึกษา เน้นการสร้างทรัพยากรมนุษย์ของประเทศอย่างมีคุณภาพ เมื่อคนมีคุณภาพ สังคม ประเทศ ก็น่าจะมีคุณภาพเช่นเดียวกัน..

ก็บรรดาผู้บริหารนโยบายทางการศึกษาไม่เข้าใจชีวิตจริงของระดับผู้ปฏิบัติที่ต้องเผชิญอยู่ ก็เลยต้องมาเผชิญชะตากรรมอย่างที่เป็นอยู่นี้..

เท่าที่ทราบ  โรงเรียนระดับประถมที่สังกัดเทศบาลต่างๆ  รวมทั้งโรงเรียนของรัฐที่อยู่ตามชนบท  ตามหมู่บ้าน  ตำบล  ทั่วประเทศ   เรียนฟรีนะคะ  หรือถ้าต้องเสียก็เสียน้อย อยู่ในหลักร้อย  

-ขจิต ฝอยทอง( khajit's blog)
  • ขอบคุณคุณดอกหญ้า ,naigodและคุณnidnoiมากครับที่เข้ามาแสดงความคิดเห็น
  • ทำอย่างไรให้เสียน้อยที่สุด หรือไม่เสียเลย เพราะนักเรียนที่จนมากๆอยากเรียนแต่ไม่มีเงิน ปัญหานักเรียนออกกลางคันก็ตามมา
เคอเรนสกี้...เคยบอกถึง 3 ตัวนี้คือ "อำนาจ อภิสิทธิ์ ความร่ำรวย" ว่า ถ้ามีตัวใดตัวหนึ่งก็จะมีตัวอื่นตาม เริ่มจากตัวใดก่อนก็ได้ ถ้าไม่มีตัวใดตัวหนึ่งก็จะไม่มีตัวอื่นด้วย...เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ไหม คนที่ไม่มีเงินจ่ายค่าเทอม ควรจะอยู่ในกลุ่มไหน และคนที่สามารถเลือกโรงเรียน/มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด หรือแพงที่สุดทั่วโลกให้ลูกตนเองเรียนได้ ทั้งๆที่ปากพร่ำบอกอย่างมั่นใจว่าเป็นผู้แทนปวงชน ทำเพื่อมวลชนทั่วไป คือกลุ่มไหนครับ ความเหลื่อมล้ำ และช่องว่างจากวงจรนี้ คุณว่าจะลดลงหรือเพิ่มมากขึ้น ในกระแสที่กำลังพูดถึงเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง" มาวิเคราะห์แนวโน้มอนาคตกันดูหน่อยดีไหม
  • ขอบคุณอาจารย์ธเนศ มากครับ
  • ไม่ค่อยได้แวะไปเยี่ยมอาจารย์นะครับ
  • สงสัยชื่ออาจารย์ทำไมไม่ activate

เพราะเหตุ เป็นปัจจัย การศึกษาไทย จึงเป็นเช่นนี้

ท่านเคยพบเห็นไหม จบวิศวะ ตกงาน (ไสมารถสร้างงานเองได้) น่าสมเพช

แก้คำผิดครับ "ไม่สามารถ" ครับ

  • ขอบคุณท่านศน มากครับ
  • ปกติผมอยู่ที่นี่ครับ
  • http://gotoknow.org/blog/yahoo

เคยไปเป็นผู้ปกครองให้น้องสาวที่โรงเรียนที่ขอนแก่นค่ะ

ปรากฏว่านอกจากจะค่าใช้จ่ายพื้นฐานแล้วก็จะเน้นเงินบริจาคด้วยค่ะ

แต่ในส่วนของแนวคิดที่ว่าเรียนฟรีมีไหม อยากให้เกิดมากๆเลยค่ะ ถ้าไปเจอแหล่งเรียนรู้ฟรีจะรีบเอามาฝากทุกท่านค่ะ

ขอบคุณน้องนฤมลมากครับ แล้วจะมีโอกาสได้กลับขอนแก่นอีกไหมเนี่ย

จากการที่ครูนกไปเยี่ยมบ้าน...ก็พบคำปรับทุกข์จากผู้ปกครองมากมาย

  • การศึกษาฟรี...ฟรี100% คงจะจัดและพัฒนาไปได้ยาก
  • คงทำได้ในลักษณะให้มีค่าใช้จ่ายที่จำเป็น..และลดสิ่งฟุ่มเฟือยให้น้อยลง
  • ที่สำคัญอยากให้ทุกคน ทุกครอบครัวร่วมกันสร้างจิตสำนึกของการใช้สอยอย่างประหยัด....กระดาษ น้ำไฟ...ทำทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน...อาจส่งผลให้ค่าใช้จ่ายพวกสาธารณูปโภคลดลงได้...แต่ที่เจอด้วยประสบการณ์เยาวชนต้องได้รับการปลูกฝังด้านนี้อีกเยอะ
  • สรุป...ร่วมด้วยช่วยกันค่ะในยุคข้าวยากหมากแพง

กลับสิคะอาจารย์ กำลังหาโอกาสเหมาะๆอยู่เชียวค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท