ประวัติโรงเรียน


มีมโนธรรม เลิศล้ำวิชาการ สืบสานภูมิปัญญา ก้าวหน้าเทคโนโลยี
ประวัติความเป็นมาของโรงเรียน
 
        โรงเรียนปากพนัง ตั้งเมื่อ พ.ศ.2442 (รศ.118 สมัย ร.5) ที่วัดเสาธงทอง ตามคำแนะนำของพระรัตนธัชมุนีศรีธรรมราช (ม่วง ศิริรัตน์) ผู้อำนวยการศึกษามณฑลนครศรีธรรมราช โรงเรียนไพบูลย์บำรุง มีหลวงพิบูลย์สมบัติ นายอำเภอเบี้ยซัด นายผันผู้พิพากษาศาลแขวงเบี้ยซัดและพระทอง เจ้าอธิการวัดเสาธงทอง เป็นผู้อุปถัมภ์ ในปีแรก มีนักเรียน 21 คน พระช่วย พระจันทร์ เป็นอาจารย์สอน นายผันรับจะเป็นผู้แนะนำให้อาจารย์ทั้งสอง สอนตามแบบหลวงให้ได้ ผู้อุปถัมภ์และราษฎรช่วยกันจัดโรงเรียนขึ้นหนึ่งหลัง พื้นฝากระดานหลังคามุงจาก

       ผู้ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ โรงเรียนไพบูลย์บำรุง ตามลำดับดังนี้
        1. นายห่อ จันทราทิพย์ (ลาออกไปรับราชการกรมไปรษณีย์)
        2. พระภิกษุเลี่ยม สิงหพันธ์ (ลาอุปสมบทไปรับราชการแผนกคลัง)
        3. นายบัว ไชยนุพงศ์ (ลาออกไปรับราชการที่อำเภอหัวไทร)
        4. นายเจริญ วราภรณ์ (ลาออกไปรับราชการที่อำเภอหัวไทร)
        5. ราชบุรุษบุญช่วย กาญจนาภรณ์ (เป็นธรรมการอำเภอ)
        6. นายพร้อม มณีสาร ป. (เป็นธรรมการอำเภอ)
        7. นายเจริญ วราภรณ์ (มารับตำแหน่งครูใหญ่ ครั้งที่ 2)

       ต่อมาทางการได้สร้างอาคารเรียนขึ้น ตรงที่เป็นโรงเรียนเทศบาลปากพนัง 1 เวลานี้ 1 หลัง เปิดเรียนเมื่อ พ.ศ. 2565
       ใน พ.ศ. 2474 สมัย นายพร้อม มณีสาร เป็นครูใหญ่ ได้เริ่มเปิดเรียนถึงชั้นมัธยมปีที่เป็นปีแรก และได้ขยายชั้นเรียนปีละชั้น จนถึง ม.4 พ.ศ.2478 คุณครูเจริญ วราภรณ์ เป็นครูใหญ่ผู้ประสงค์จะเรียนถึงชั้น ม.5 ต้องไปเรียนที่สถานศึกษาจังหวัดหรือจังหวัดอื่น
       พ.ศ. 2481 ครูถัด พรหมมานพ ย้ายจากโรงเรียนประจำจังหวัดพัทลุง มาเป็นครูใหญ่ในปีนั้น โรงเรียนเปิดสอนชั้น ม.5
       พ.ศ. 2482 สอนถึงชั้น ม.6 เป็นครั้งแรก ถึงปี พ.ศ. 2481 นักเรียนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ที่เรียนเดิมมีไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียนจึงย้ายไปเรียนที่วัดนันทาราม สร้างอาคารชั่วคราวขึ้น 1 หลัง หลังคามุงจาก ฝากั้นจากเพียงครึ่งเดียวพื้นห้องเป็นดินทราย นอกจากเรียนที่อาคารหลังนี้แล้วยังใช้วิหาร โรงครัว และอุโบสถเป็นที่เรียน
       พ.ศ. 2481 ทางราชการได้สร้างอาคารเรียนถาวรขึ้น ณ ที่โรงเรียนปากพนังปัจจุบัน 1 หลัง เปิดเรียนเมื่อ พ.ศ. 2482 เป็นโรงเรียนมัธยมโดยเฉพาะ มีนักเรียนตั้งแต่ชั้น ม.1-ม.6 มี นายถัดพรหมมานพ เป็นครูใหญ่
       พ.ศ. 2487 สมัย นายบูรณะ ศรีดิษฐ์ เป็นครูใหญ่ ไฟไหม้โรงเรียนทั้งหลัง ในวันเกิดไฟไหม้ ครูใหญ่ คณะครู นักเรียน ภารโรง ไปทอดกฐินที่วัดแหลมตะลุมพุก เจ้าหน้าที่ตำรวจสันนิษฐานว่าเป็นการลอบวางเพลิง แต่จับตัวคนร้ายไม่ได้ ทางโรงเรียนปากพนัง จึงไปติดต่อสถานที่เรียน ขอฝากนักเรียนที่วัดนันทาราม วัดเสาธงทองและโรงเรียนสตรีปากพนัง ทำให้การเรียนการสอนขลุกขลักมาก เพราะครูบางคนต้องสอนถึงสามแห่งนั้น (เดินสอน)
       พ.ศ. 2490 นายฟอง ลักษณา คหบดีปากพนัง ได้บริจาคเงิน 50,000 บาท สมทบกับเงินงบประมาณ 60,000 บาท สร้างอาคารเรียนถาวร เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น ชื่อว่า "อาคารลักษณา" มี 10 ห้องเรียน เปิดใช้เมื่อ พ.ศ. 2491 เป็นอาคารเรียนที่ยังใช้งานได้อยู่จนถึงปัจจุบันนี้
       พ.ศ. 2496 ได้รับประมาณ 50,000 บาท สร้างต่อเติมอีก 2 ห้องเรียน เป็น12 ห้องเรียน
       พ.ศ. 2507 ได้รับงบประมาณ 170,000 บาท สร้างต่อเติมอีก 6 ห้องเรียน รวมเป็น 18 ห้องเรียน การขยายตัวของนักเรียนในอำเภอปากพนังเพิ่มขึ้น ประชาชนเล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษา ได้บริจาคเงินสร้างอาคารเรียน "ประชาอุทิศ 1" ในวงเงิน 41,000 บาท รวมกับเงินบำรุงการศึกษาสมบทอีก 8,065 บาท
       พ.ศ. 2515 ได้รับงบประมาณสร้างห้องประชุม-โรงอาหาร 200,000 บาท
       พ.ศ. 2519 ประชาชนร่วมกันบริจาคเงินสร้างอาคารเรียนอีก 1 หลัง เป็นหลังที่ 2 คือ "อาคารเรียนประชาอุทิศ 2" จำนวนเงิน 110,000 บาท
       พ.ศ. 2519 เริ่มเปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
       พ.ศ. 2520 ทางราชการได้ให้งบประมาณแบบ 218 ค. 18 ห้องเรียน งบประมาณ 3,200,000 บาท 1 หลัง (อาคาร 8) สมัย อ.ประดิษฐ์ วังสะวิบูลย์
       พ.ศ. 2522 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ยุบโรงเรียนปากพนัง (ประถมศึกษาตอนปลาย) รวมกับโรงเรียนปากพนัง เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2522 ทำให้โรงเรียนปากพนังเพิ่มอาคารเรียน แบบ 044 จำนวน 3 หลัง รวม 24 ห้องเรียน แบ่ง 2 เขต โดยมีโรงเรียนเทศบาลปากพนัง 1 คั่นอยู่ระหว่างกลางห่างกันประมาณ 50 เมตร
       พ.ศ. 2533 ได้รับงบประมาณในการสร้างหอประชุม โรงยิม งบประมาณ 1,800,000 บาท
       พ.ศ. 2524 กรมสามัญศึกษา ได้จัดสรรเงินงบประมาณสร้างอาคารเรียน 318 ค. ให้อีก 1 หลัง ในวงเงิน 5,100,000 บาท สร้างเสร็จในปี พ.ศ.2526 (อาคาร 6)
       พ.ศ. 2529 กรมสามัญศึกษา ได้จัดสรรเงินงบประมาณ สร้างอาคารเรียนแบบ 418 ค. 18 ห้องเรียน ในวงเงิน 5,500,000 บาท สมัย อ.หิรัญ บุปผา เป็นผู้อำนวยการ (อาคาร 10)
       พ.ศ. 2530 ได้รับเงินบริจาคจากธนาคารแห่งประเทศไทย โดย คุณกำจร สถิรกุล ผู้อำนวยการธนาคารแห่งประเทศไทย ศิษย์เก่าต่อเติมอาคารเรียน 418 ค. ชั้นล่างเป็นห้องโสตทัศนศึกษา ด้วยงบประมาณ 159,000 บาท สมัย อ.เรืองเกียรติ อัฐพร และในปีนี้ทางโรงเรียนปากพนัง ได้ขยายการศึกษาเพิ่มขึ้นที่แหลมตะลุมพุก โดยที่คณะครู อาจารย์ จากโรงเรียนปากพนังเดินทางมาสอนถึงแหลมตะลุมพุกทุกวัน
       พ.ศ. 2542 โรงเรียนปากพนัง ฉลองครอบ 100 ปี
 
หมายเลขบันทึก: 237439เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2009 12:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 14:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีค่ะ ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ ^_^

โอ้โฮ ..โรงเรียนอายุร้อยกว่าปีแล้วนะครับ มายินดีด้วยครับ

โรงเรียนปากพนัง กับอดีตที่อยู๋ในความทรงจำเรื่องแหลมตะลุมพุก ที่คณูต้อยเคยประสบมาเมื่อยังเป็นเด็กน้อยค่ะ

ดีใจที่รู้จักคนปากพนังรุ่นใหม่ค่ะ ปี 16 ครูต้อยบรรจุเป็นครูแล้ว มีโอกาสกลับไปเยี่ยมญาติที่ยังหลงเหลือที่ปาดัง 1 ครั้ง ที่นครฯ 3 ครั้ง

และกำลังหาโอกาสลงไปตามหาญาติ เกลอ เพื่อนร่วมรุ่น อีกสักครั้งค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ถึง krutoi

ยินดีต้อนรับ สู่นครศรีธรรมราชนะคะ มาเมื่อไหร่ ส่งข่าวบ้างนะคะ หากว่างเว้นจากภารกิจ จะได้คุยกันค่ะ

ดร. ดิศกุล เกษมสวัสดิ์ ที่เคารพ

ดีใจมากที่ท่านอาจารย์ให้เกียรติ โพสต์เข้ามา หนูเข้าไปดูบล้อกของอาจารย์แล้วทึ่งมากค่ะ อาจารย์เก่งที่สุดเลยค่ะ หนูยินดีมากค่ะที่ได้รู้จักอาจารย์

ดีจังที่เจออาจารย์วิภาดา .... อ.สบายดีนะคะ ตอนนี้1 ใกล้จะจบแล้วนะและกำลังจะไปฝึกงานที่การท่าเรือกรุงเทพอีกรอบนะคะคงไม่ได้กลับนครเลยแต่ยังคิดถึงเหมือนเดิมนะค่ะ..ดูแลสุขภาพด้วย...1

ดีใจเหมือนกันที่เจอ ตื่นเช้าเหมือนกันนะ คิดถึงนะ แต่ด้วยภาระกิจที่ยุ่งเหยิง ไม่ค่อยได้คุยกัน ขอให้สำเร็จนะ

ห่วงใยเสมอจ้ะ

อ.ปิยนุช (สอนเกษตร)ยังสอนอยู่หรือเปล่า คิดถึงมากๆ

จาก ศิษย์ ม.3 ปี36(วราวุฒิ )

ครู ย้าย จากโรงเรียนปากพนัง แล้ว คิดว่าครูปิยนุช ยังคงสอนอยู่ที่นั่น

เธอคงสบายดีนะ ขอให้ประสบความสำเร็จนะ

แล้วเจอกันใหม่จ้ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท