นักบริหารงานวิจัย


         ในการประชุม UKM 6 - 8 เม.ย.49 ที่หาดใหญ่   ผมดีใจมากที่ได้พบ รศ. ดร. อัศนี  ปาจีนบูรวรรณ์    ผู้ที่ผมถือว่าเป็นนักบริหารงานวิจัยชั้นยอดคนหนึ่งของประเทศไทย

         ผลงานชิ้นสำคัญของ ดร. อัศนี   คือการริเริ่มสนับสนุนการวิจัยแบบ "ศูนย์วิจัยเฉพาะทาง"    เป็น Virtual center ให้มีการรวมกลุ่มกันทำวิจัย   โดยที่แต่ละคนในทีมก็ยังอยู่กับสังกัดเดิม   แต่มีการทำงานร่วมกัน share idea,  share equipment,  share space กันมากขึ้น   เงื่อนไขคือให้รวมกลุ่มกันจากต่างภาควิชา   ต่างคณะ   เขียนโครงการวิจัยเสนอ   หัวหน้าโครงการต้องมีผลงานเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติหรืออย่างน้อยระดับชาติ   และประเด็นวิจัยต้องใหญ่และ relevant ต่อภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   เพราะนี่คือเรื่องราวจของ มข.   และต้องเชื่อมโยงกับบัณฑิตศึกษา   แต่ละศูนย์จะได้รับเงินสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยปีละ 5 ล้านบาท  เป็นเวลา 5 ปี   โดยมีการประเมินผลงานทุกปี

          ดร. อัศนีริเริ่มโครงการนี้เมื่อ 5 ปีที่แล้วตอนเป็นอธิการบดีฝ่ายวิจัยของ มข.   เดิมมีศูนย์วิจัยเฉพาะทางที่ได้รับการสนับสนุน 15 ศูนย์   เวลานี้เพิ่มเป็น 18   และมีวิธีการสนับสนุนและติดตามผลที่มีกติกาชัดเจนขึ้น   ผลักดันให้เพิ่มความสามารถในการพึ่งตนเองได้ในระยะยาว

         ข้อพิสูจน์ความสำเร็จของการจัดการงานวิจัยแบบนี้คือ มข. ลงทุนสนับสนุนการวิจัยปีละ 120 ล้าน   60 ล้านสนับสนุนศูนย์วิจัยเฉพาะทาง   อีก 60 ล้านสนับสนุนโครงการวิจัยย่อย ๆ    ผลงานตีพิมพ์ร้อยละ 90 มาจากศูนย์วิจัยเฉพาะทาง

         เป้าหมายสำคัญของการบริหารงานวิจัยแบบนี้   คือสนับสนุนให้มีการวิจัยเป็นทีม   มีเป้าหมาย & แผนระยะยาว   และเลี้ยง/สนับสนุนให้ออกไปแข่งขันขอทุนภายนอกได้   เป็นการสร้างความเข้มแข็งระยะยาว

          ผมชื่นชมความคิดริเริ่มชิ้นนี้มาก   มหาวิทยาลัยที่ต้องการสร้างฐานความเข้มแข็งด้านการวิจัยของตนควรศึกษาวิธีคิด   และวิธีบริหารงานวิจัยแนวนี้ของ มข.

วิจารณ์  พานิช
 7 เม.ย.49
 หาดใหญ่

หมายเลขบันทึก: 23706เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2006 14:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ที่ มน. เราก็สนใจที่จะประยุกต์ใช้แนวความคิดนี้ด้วยเช่นกัน ได้ทดลองดำเนินการมาแล้วประมาณ 5 ศูนย์ แต่ยังอยู่ในขั้นต้นมาก ๆ ยังไม่มีเงินสนับสนับสนุนอย่างที่ มข. ทำ แต่พยายามจัดเวทีและโอกาสให้นักวิจัยได้มารู้จักมักคุ้นกันและช่วยกันพัฒนาชุดโครงการร่วมกัน แล้วช่วยกันนำชุดโครงการนั้นไปขอทุนสนับสนุนจาก users หรือแหล่งทุนภายนอก ถ้าจำเป็นอาจต้องสนับสนุนให้ทำ pilot study จากแหล่งทุนภายใน มน. ไปก่อน ผมก็ดีใจมากจนออกนอกหน้าเช่นกันที่ได้พบท่านอาจารย์อัศนีเป็นครั้งแรกที่หาดใหญ่ ผมเคยได้ยินแต่ชื่อ ตอนแรกคิดว่าเป็นสุภาพสตรีด้วยซ้ำ ที่หาดใหญ่ผมได้ทาบทามท่านอาจารย์อัศนีด้วยวาจาไว้แล้วว่าจะเชิญท่านไปถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับผู้บริหารงานวิจัยและนักวิจัยที่ มน. ในโอกาสต่อไป ทั้งหมดนี้ก็เป็นผลพวงสืบเนื่องอย่างหนึ่งจากกิจกรรม UKM ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท