หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551


หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

14 มกราคม 2552

สรุปความรู้จากการอ่านเรื่อง

จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544

 สู่ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551”

 

แหล่งอ้างอิง :  เฉลิมชัย  พันธ์เลิศ  วารสารวิชาการ  ปีที่ 11   ฉบับที่ 3 กรกฎาคม กันยายน 2551 

                                หน้า 64-69

 

                เมื่อวันที่  11  กรกฎาคม  2551  นายสมชาย  วงศ์สวัสดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในสมัยนั้น ได้ลงนามในคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สพฐ 293/2551 ให้ใช้หลักสูตรแกนกลางกานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551  หลังจากนั้นได้มีการดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารประกอบหลักสูตรและแนวทางการนำหลักสูตรไปใช้

                หลักสูตรฉบับใหม่นี้มีเจตนารมณ์ที่จะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการนำหลักสูตรเดิมไปสู่การปฏิบัติ  เพื่อช่วยลดภาระในการทำงานของสถานศึกษา และเอื้อต่อการดูแลคุณภาพการใช้หลักสูตรโดยรวมมากขึ้น  หลักสูตรใหม่นี้จึงได้ขยายรายละเอียดในองค์ประกอบของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2511 ให้มีความชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้คณะพัฒนาหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ประสงค์ที่จะใช้ชื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 มาตรา 27(1) ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนด หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  เพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองดีของชาติ  การดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ  จึงได้ใช้ชื่อหลักสูตรฉบับใหม่นี้ว่า

หลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

                ประเด็นสำคัญในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

                หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีประเด็นสำคัญที่มีการปรับเปลี่ยนและเพิ่มเติมจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ได้แก่

1.       การกำหนดรายละเอียดคุณภาพผู้เรียน

2.       การกำหนดระดับการศึกษา

3.       การจัดโครงสร้างเวลาเรียน

4.       การทบทวนมาตรฐานและกำหนดตัวชี้วัด

5.       การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้

6.       การบริหารจัดการหลักสูตร

ซึ่งแต่ละข้อ มีรายละเอียดพอสรุปได้ดังนี้

1. การกำหนดรายละเอียดคุณภาพผู้เรียน   หลักสูตรใหม่ ได้ขยายรายละเอียดในส่วนของ

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ดังนี้

                                สมรรถนำสำคัญของผู้เรียน ได้แก่

1)   ความสามารถในการสื่อสาร

2)   ความสามารถในการคิด

3)   ความสามารถในการแก้ปัญหา

4)   ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

5)   ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์  ได้แก่

1)      รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

2)      ซื่อสัตย์สุจริต

3)      มีวินัย

4)      ใฝ่เรียนรู้

5)      อยู่อย่างพอเพียง

6)      มุ่งมั่นในการทำงาน

7)      รักความเป็นไทย

8)      มีจิตสาธารณะ

นอกเหนือจากการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพมาตรฐานของกลุ่มสาระการเรียนรู้แล้ว ผู้สอน

จำเป็นต้องพัฒนาสมรรถสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน  โดยทำความเข้าใจ และเลือกวิธีพัฒนา ผสานเข้าไปในการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของผู้เรียน โดยหน่วยงานการศึกษาในระดับท้องถิ่น และสถานศึกษาสามารถเพิ่มเติมรายละเอียดอื่นๆ ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการ ภูมิสังคม และปัจจัยอื่นๆ ที่มีลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นได้

                2. กำหนดระดับการศึกษาออกเป็น 3 ระดับ  คือ 

                                ระดับประถมศึกษา (ประถมศึกษาปีที่ 1-6)

                                ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (มัธยมศึกษาปีที่ 1-3)

                                ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (มัธยมศึกษาปีที่ 4-6)

***ใช้แทนการเรียกช่วงชั้น

 

 

 

3.       การจัดเวลาเรียนและโครงสร้างเวลาเรียน 

3.1      การจัดเวลาเรียน

ระดับประถมศึกษา 

-          ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายปี

-          เรียนวันละไม่เกิน 5 ชั่วโมง

                ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย

-          จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค

-          เรียนวันละไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง

-          ใช้ระบบหน่วยกิต

3.2      มีการกำหนดโครงสร้างเวลาเรียนเป็นพื้นฐาน กำหนดเวลาเรียนเพิ่มเติมเพื่อให้สถานศึกษาจัดเพิ่มเติมในกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือ จัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม

3.3      กำหนดให้ผู้เรียนได้ทำ กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ โดยกำหนดเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมดังนี้

-          ระดับประถมศึกษา (ป.1-6) รวม 6 ปี  จำนวน  60  ชั่วโมง

-          ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3)  รวม 3  ปี  จำนวน 45  ชั่วโมง

-          ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6) รวม 3 ปี จำนวน 60  ชั่วโมง

 

4.       การทบทวนมาตรฐานและกำหนดตัวชี้วัด

4.1 ปรับลดมาตรฐานการเรียนรู้จาก 76 มาตรฐาน เป็น 67  มาตรฐาน

4.2  ให้ใช้ ตัวชี้วัด แทน ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 

-  สำหรับระดับชั้นประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ใช้ ตัวชี้วัดชั้นปี  

-  หรับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ใช้ ตัวชี้วัดช่วงชั้น

                5.  การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้

                                - เน้นการประเมินตามสภาพจริง

                                -  การประเมินระดับสถานศึกษา  เขตพื้นที่การศึกษา และการประเมินระดับชาติ ใช้แนวทางเดิม

                                - การตัดสินผลการเรียน การให้ระดับผลการเรียน การเลื่อนชั้น การซ้ำชั้น การรายงานผลการเรียน การเทียบโอน ให้ส่วนกลางได้จัดทำเอกสารประกอบหลักสูตรในส่วนของแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผล รวมทั้งจัดทำเอกสารหลักฐานการศึกษา  เพื่อจะได้ปฏิบัติอย่างเป็นระบบและมีกระบวนการที่ชัดเจนมากขึ้น

                6. การบริหารจัดการหลักสูตร 

·       มีการกำหนดภารกิจของเขตพื้นที่และหน่วยงานต้นสังกัดในระดับท้องถิ่นในการสนับสนุน ดูแล ช่วยเหลือสถานศึกษาในสังกัดเพิ่มมากขึ้น

·       มีการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียน โดยเพิ่มในส่วนที่เป็นอัตลักษณ์และวัฒนธรรม สภาพปัญหาและความต้องการของท้องถิ่น

·       มีการพัฒนาสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ สอดคล้องกับชีวิตและสังคมที่ตนเองอาศัยอยู่

·       เพิ่มพูนคุณภาพการใช้หลักสูตรด้วยการวิจัยและพัฒนา

·       ให้เขตพื้นที่ได้เข้าไปเรียนรู้ร่วมกับสถานศึกษาในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้

·       ใช้กลไกการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้โดยการอบรมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-base training)

หมายเลขบันทึก: 237043เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2009 23:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ

  • ครูอ้อยมาอ่านแล้ว ได้รับความรู้มากมายเลยค่ะ
  • แล้วครูอ้อยจะแวะมาอ่านอีกนะคะ  ขอบคุณมากค่ะ มีความสุขมากๆๆและนานๆๆนะคะ
  • สวัสดีครับ
  • ดีครับ ทำให้ผู้อยู่ในหน่วยงานอื่นรู้เกี่ยวกับการศึกษด้วย
  • ขอบคุณ

สวัสดีและขอบคุณ ที่ได้อ่านแบบสรุปใจความ

ขอบอีกครั้ง

สวัสดีค่ะ

อ่านแล้วได้ความรู้ดีเลยค่ะ เดี๋ยวแวะมาอ่านเพิ่มเติมใหม่

ข้อมูลที่ได้รับเป็นประโยชน์อย่างมากเลยค่ะ แต่ถ้าจะกรุณาอยากได้ข้อมูลที่วิเคราะห์ให้เห็นเป็นรายกลุ่มสาระจะเป็นพระคุณอย่างยิ่งค่ะ

อ่านแล้วได้ความรู้ เข้าใจง่ายด้วยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท