Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership)


ปัจจุบันมีแนวคิดทฤษฎีจำนวนมากที่ศึกษาเกี่ยวกับภาวะผู้นำ ซึ่งได้มีการพยายามจัดกลุ่มแนวทางการศึกษาภาวะผู้นำไว้หลายแบบ ในที่นี้ขอยกตัวอย่างการจัดกลุ่มทฤษฎีตามแนวทางการศึกษาผู้นำ ที่แบ่งเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้ คือการศึกษาคุณลักษณะของผู้นำ (Traits Approach) การศึกษาพฤติกรรมของผู้นำ (Behavioral Approach) การศึกษาผู้นำตามสถานการณ์ (Situational Approach) และการศึกษาอิทธิพลอำนาจของผู้นำ (Power-Influence Approach) อย่างไรก็ตามทั้ง 4 กลุ่มทฤษฎีนี้ มีข้อถกเถียงถึงจุดอ่อนของแต่ละแนวคิดทฤษฎีอยู่มาก โดยเฉพาะแนวทางการนำไปประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งสภาพแวดล้อมหรือบริบทของสังคมและขององค์การต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก และยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นในช่วง 1-2 ทศวรรษที่ผ่านมา จึงได้มีการพัฒนาแนวทางการศึกษาภาวะผู้นำในแนวทางใหม่ ที่มีการกล่าวถึงกันมากคือ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership) (รัตติกรณ์, 2544: 32)

ตามแนวคิดของนักวิชาการหลายท่าน มีการให้ความหมายของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงไว้แตกต่างกัน  ซึ่งอาจจะสรุปความหมายของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงได้ดังนี้ เช่น

Bass (1985 อ้างถึงใน  Schultz  และ Schultz, 1998 : 211)  ให้ความหมายไว้ว่า  ผู้นำการเปลี่ยนแปลง  มีพฤติกรรมที่มีความชัดเจนมากกว่า  พวกเขาไม่ได้ถูกจำกัดโดยการรับรู้ของผู้ตาม  ผู้นำต้องตั้งใจทำงานเพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนรูปแบบข้อเสนอของลูกน้อง  และปรับปรุงข้อเสนอเหล่านั้นเสียใหม่  มากกว่าที่จะเชื่อว่าต้องทำงานให้ตรงกับความคาดหวังของลูกน้อง

Mushinsky (1997: 373) ให้ความหมายภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  ไว้ว่า  เป็นกระบวนการที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและสมมุติฐานของสมาชิกในองค์การ  และสร้างความผูกพันในการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์และกลยุทธ์ขององค์การ  ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวข้องกับอิทธิพลของผู้นำที่มีต่อผู้ตาม  แต่ผลกระทบของอิทธิพลนั้นเป็นการให้อำนาจแก่ผู้ตามให้กลับมาเป็นผู้นำ  และเป็นผู้ที่เปลี่ยนแปลงหน่วยงานในกระบวนการการเปลี่ยนแปลงองค์การ  ดังนั้น  ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  จึงถูกมองว่าเป็นกระบวนการร่วมและเกี่ยวข้องกับการดำเนินการของผู้นำในระดับต่างๆในหน่วยงานย่อยขององค์การ

            Schultz  และ Schultz (1998 : 211) ให้ความหมายภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  ไว้ว่า  ความเป็นผู้นำซึ่งผู้นำไม่ได้ถูกจำกัดโดยการรับรู้ของผู้ตาม  แต่มีอิสระในการกระทำ  ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนรูปแบบมุมมองของผู้ตาม

            นิตย์  สัมมาพันธ์  (2546: 54)  ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational leadership)  หมายถึง ผู้นำที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้บุคคลจำนวนมากลงมือทำมากกว่าเดิมจนไต่ระดับขึ้นสู่เพดานการปฏิบัติงานที่สูงขึ้น

            รัตติกรณ์ จงวิศาล (2544: 32) ได้ให้ความหมายว่า  ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational leadership)  หมายถึง  ระดับพฤติกรรมที่ผู้นำแสดงให้เห็นในการจัดการหรือการทำงาน  เป็นกระบวนการที่ผู้นำมีอิทธิพลต่อผู้ร่วมงาน  โดยการเปลี่ยนสภาพหรือเปลี่ยนแปลงความพยายามของผู้ร่วมงานให้สูงขึ้นกว่าความพยายามที่คาดหวัง  พัฒนาความสามารถของผู้ร่วมงานไปสู่ระดับที่สูงขึ้นและมีศักยภาพมากขึ้น  ทำให้เกิดการตระหนักรู้ในภารกิจและวิสัยทัศน์ของกลุ่ม  จูงใจให้ผู้ร่วมงานมองไกลเกินกว่าความสนใจของพวกเขาไปสู่ประโยชน์ของกลุ่ม หรือสังคม 

โมเดลภาวะผู้นำแบบเต็มรูปแบบ (Model  of  the  Full  Range  of  Leadership)

 

            แบส  และ  อโวลิโอ  ในปี ค.. 1991 (Bass, 1999 : 9 – 32 ; Bass และ  Avolio,1994 : 2 – 6 ; Bass และ Avolio, 1993 : 114 – 122  อ้างใน รัตติกรณ์ , 2545 : 39 - 41)  ได้เสนอภาวะผู้นำแบบเต็มรูปแบบ  โดยใช้ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำตามรูปแบบภาวะผู้นำที่เขาเคยเสนอในปี ค.. 1985  โมเดลนี้จะประกอบด้วยภาวะผู้นำ  3  แบบใหญ่  คือ  ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  (Transformational   leadership) ภาวะผู้นำการแลกเปลี่ยน  (Transactional   leadership) ภาวะผู้นำแบบปล่อยตามสบาย (Laissez – faire  leadership) หรือพฤติกรรมความไม่มีภาวะผู้นำ (Nonleadership  behavior)  ซึ่งในที่นี้จะศึกษาและอธิบายเฉพาะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  (Transformational   leadership) เท่านั้น และแนวคิดภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  มีดังนี้

 

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  (Transformational   leadership)

 

เป็นกระบวนการที่ผู้นำมีอิทธิพลต่อผู้ร่วมงานและผู้ตามโดยเปลี่ยนแปลงความพยายามของผู้ร่วมงานและผู้ตามให้สูงขึ้นกว่าความพยายามที่คาดหวัง  พัฒนาความสามารถของผู้ร่วมงานและผู้ตามไปสู่ระดับที่สูงขึ้นและศักยภาพมากขึ้น  ทำให้เกิดการตระหนักรู้ในภารกิจและวิสัยทัศน์ของทีมและขององค์การ  จูงใจให้ผู้ร่วมงานและผู้ตามมองให้ไกลเกินกว่าความสนใจของพวกเขาไปสู่ประโยชน์ของกลุ่มองค์การหรือสังคม  ซึ่งกระบวนการที่ผู้นำมีอิทธิพลต่อผู้ร่วมงานหรือผู้ตามนี้จะกระทำโดยผ่านองค์ประกอบพฤติกรรมเฉพาะ  4  ประการ  หรือที่เรียกว่า “4I’s” (Four  I’s) คือ

 

1.1  การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ (Idealized  Influence หรือ Charisma  Leadership : II หรือ CL)  หมายถึง  การที่ผู้นำประพฤติตัวเป็นแบบอย่าง  หรือเป็นโมเดลสำหรับผู้ตาม  ผู้นำจะเป็นที่ยกย่อง  เคารพนับถือ  ศรัทธา  ไว้วางใจ  และทำให้ผู้ตามเกิดความภาคภูมิใจเมื่อร่วมงานกัน  ผู้ตามจะพยายามประพฤติปฏิบัติเหมือนกับผู้นำและต้องการเลียนแบบผู้นำของเขา   สิ่งที่ผู้นำต้องปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงคุณลักษณะนี้  คือ  ผู้นำจะต้องมีวิสัยทัศน์และสามารถถ่ายทอดไปยังผู้ตาม  ผู้นำจะมีความสม่ำเสมอมากกว่าการเอาแต่อารมณ์  สามารถควบคุมอารมณ์ได้ในสถานการณ์วิกฤต  ผู้นำเป็นผู้ที่ไว้ใจได้ว่าจะทำในสิ่งที่ถูกต้อง    ผู้นำจะเป็นผู้ที่มีศีลธรรมและมีจริยธรรมสูง  ผู้นำจะหลีกเลี่ยงที่จะใช้อำนาจเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน  แต่จะประพฤติตนเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นและเพื่อประโยชน์ของกลุ่ม  ผู้นำจะแสดงให้เห็นถึงความเฉลียวฉลาด  ความมีสมรรถภาพ  ความตั้งใจ  การเชื่อมั่นในตนเอง  ความแน่วแน่ในอุดมการณ์  ความเชื่อและค่านิยมของเขา  ผู้นำจะเสริมความภาคภูมิใจ  ความจงรักภักดี  และความมั่นใจของผู้ตาม  และทำให้ผู้ตามมีความเป็นพวกเดียวกันกับผู้นำ  โดยอาศัยวิสัยทัศน์และการมีจุดประสงค์ร่วมกัน  ผู้นำแสดงความมั่นใจช่วยสร้างความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกัน  เพื่อการบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ  ผู้ตามจะเลียนแบบผู้นำและพฤติกรรมของผู้นำจากการสร้างความมั่นใจในตนเอง  ประสิทธิภาพและความเคารพในตนเอง  ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจึงรักษาอิทธิพลของตนในการบรรลุเป้าหมายและปฏิบัติภาระหน้าที่ขององค์การ

 

1.2  การสร้างแรงบันดาลใจ  (Inspiration  Motivation : IM)  หมายถึง  การที่ผู้นำจะประพฤติในทางที่จูงใจให้เกิดแรงบันดาลใจกับผู้ตาม  โดยการสร้างแรงจูงใจภายใน  การให้ความหมายและท้าทายในเรื่องงานของผู้ตาม  ผู้นำจะกระตุ้นจิตวิญญาณของทีม (Team  spirit) ให้มีชีวิตชีวา  มีการแสดงออกซึ่งความกระตือรือร้น  โดยการสร้างเจตคติที่ดีและการคิดในแง่บวก  ผู้นำจะทำให้ผู้ตามสัมผัสกับภาพที่งดงามของอนาคต  ผู้นำจะสร้างและสื่อความหวังที่ผู้นำต้องการอย่างชัดเจน  ผู้นำจะแสดงการอุทิศตัวหรือความผูกพันต่อเป้าหมายและวิสัยทัศน์ร่วมกัน  ผู้นำจะแสดงความเชื่อมั่นและแสดงให้เห็นความตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายได้  ผู้นำจะช่วยให้ผู้ตามมองข้ามผลประโยชน์ของตนเพื่อวิสัยทัศน์และภารกิจขององค์การ  ผู้นำจะช่วยให้ผู้ตามพัฒนาความผูกพันของตนต่อเป้าหมายระยะยาว  และบ่อยครั้งพบว่า  การสร้างแรงบันดาลใจนี้  เกิดขึ้นผ่านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลและการกระตุ้นทางปัญญา  ช่วยให้ผู้ตามจัดการกับอุปสรรคของตนเองและเสริมความคิดสร้างสรรค์

 

1.3  การกระตุ้นทางปัญญา  (Intellectual  Stimulation : IS)  หมายถึง  การที่ผู้นำมีการกระตุ้นผู้ตามให้ตระหนักถึงปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในหน่วยงาน  ทำให้ผู้ตามมีความต้องการหาแนวทางใหม่ๆมาแก้ปัญหาในหน่วยงาน  เพื่อหาข้อสรุปใหม่ที่ดีกว่าเดิม  เพื่อทำให้เกิดสิ่งใหม่และสร้างสรรค์  โดยผู้นำมีการคิดและการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  มีการตั้งสมมุติฐาน  การเปลี่ยนกรอบ (Reframing)  การมองปัญหา  และการเผชิญกับสถานการณ์เก่าๆด้วยวิถีทางใหม่แบบใหม่ๆ  มีการจูงใจและสนับสนุนความคิดริเริ่มใหม่ๆในการพิจารณาปัญหาและการหาคำตอบของปัญหา  มีการให้กำลังใจผู้ตามให้พยายามหาทางแก้ปัญหาด้วยวิธีใหม่ๆ  ผู้นำมีการกระตุ้นให้ผู้ตามแสดงความคิดและเหตุผล  และไม่วิจารณ์ความคิดของผู้ตาม  แม้ว่ามันจะแตกต่างไปจากความคิดของผู้นำ  ผู้นำทำให้ผู้ตามรู้สึกว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ท้าทายและเป็นโอกาสที่ดีที่จะแก้ปัญหาร่วมกัน  โดยผู้นำจะสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ตามว่าปัญหาทุกอย่างต้องมีวิธีแก้ไข  แม้บางปัญหาจะมีอุปสรรคมากมาย  ผู้นำจะพิสูจน์ให้เห็นว่าสามารถเอาชนะอุปสรรคทุกอย่างได้  จากความร่วมมือร่วมใจในการแก้ปัญหาของผู้ร่วมงานทุกคน  ผู้ตามจะได้รับการกระตุ้นให้ตั้งคำถามต่อค่านิยมของตนเอง  ความเชื่อและประเพณี  การกระตุ้นทางปัญญา  เป็นส่วนที่สำคัญของการพัฒนาความสามารถของผู้ตามในการที่จะตระหนัก  เข้าใจ  และแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง

 

1.4  การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล  (Individualized  Consideration : IC)  ผู้นำจะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบุคคลในฐานะเป็นผู้นำให้การดูแลเอาใจใส่ผู้ตามเป็นรายบุคคลและทำให้ผู้ตามรู้สึกมีคุณค่าและมีความสำคัญ  ผู้นำจะเป็นโค้ช (Coach)  และเป็นที่ปรึกษา (Advisor) ของผู้ตามแต่ละคน  เพื่อการพัฒนาผู้ตามผู้นำจะเอาใจใส่เป็นพิเศษในความต้องการของปัจเจกบุคคล  เพื่อความสัมฤทธิ์ผลและเติบโตของแต่ละคน  ผู้นำจะพัฒนาศักยภาพของผู้ตามและเพื่อนร่วมงานให้สูงขึ้น  นอกจากนี้ผู้นำจะมีการปฏิบัติต่อผู้ตามโดยการให้โอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ  สร้างบรรยากาศของการให้การสนับสนุน  คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านความจำเป็นและความต้องการ  การประพฤติของผู้นำแสดงให้เห็นว่าเข้าใจและยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล  เช่น  บางคนได้รับกำลังใจมากกว่า  บางคนได้รับอำนาจการตัดสินใจด้วยตนเองมากกว่า  บางคนมีมาตรฐานที่เคร่งครัดว่า  บางคนมีโครงสร้างงานที่มากกว่า  ผู้นำมีการส่งเสริมการสื่อสารสองทาง  และมีการจัดการด้วยการเดินดูรอบๆ (Management  by  walking  around) มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ตามเป็นการส่วนตัว  ผู้นำสนใจในความกังวลของแต่ละบุคคล  เห็นปัจเจกบุคคลเป็นบุคคลทั้งครบ (As  a  whole  person)  มากกว่าเป็นพนักงานหรือเป็นเพียงปัจจัยการผลิต  ผู้นำจะมีการฟังอย่างมีประสิทธิภาพ  มีการเอาใจเขามาใส่ใจเรา (Empathy)  ผู้นำจะมีการมอบหมายงานเพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้ตาม  เปิดโอกาสให้ผู้ตามได้ใช้ความสามารถพิเศษอย่างเต็มที่และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆที่ท้าทายความสามารถ  ผู้นำจะดูแลผู้ตามว่าต้องการคำแนะนำ  การสนับสนุนและการช่วยให้ก้าวหน้าในการทำงานที่รับผิดชอบอยู่หหรือไม่  โดยผู้ตามจะไม่รู้สึกว่าเขากำลังถูกตรวจสอบ

 



ความเห็น (20)

ได้ความรู้มากมาย ขอเป็นลูกศิษย์อาจารย์นะครับ ขอบคุณมากครับ

ขอบคุณมากในข้อมูลที่ดี

ขอบคุณมากค่ะสำหรับข้อมูล กำลังทำวิทยานิพนธ์เรื่องนี้อยู่พอดีค่ะ

มีข้อมูลอะไรดีๆเพิ่มเติม

เอามาแชร์กันนะคะ

จะได้ต่อยอดความรู้ค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ ข้อมูลมีประโยชน์มากค่ะ กำลังทำสารนิพนธ์อยู่ค่ะ ใช้ประโยชน์มากที่สุดเลยค่ะ

ยินดีอย่างยิ่งค่ะ

ขอบคุณนะคะที่เข้ามาอ่านและแสดงความคิดเห็น

ขอบคุนสำหรับข้อมูลความรู้ดีนะค่ะ เมย์ได้ประโยชน์เยอะเลยเพราะตอนนี้กำลังทำวิจัยภาวะผู้นำอยู่เลย ขอสมัครเป็นแฟนคลับด้วยนะค่ะ

น.อ.เศรษฐสิทธิ์ จันทร์เสนา ร.น.

ตอนนี้ พัฒนารูปแบบพฤติกรรมไปถึง 5Is ครับยังขาดไป อีก หนึ่งI แต่ผมยังไม่ได้มีข้อมูลตัว I สุดท้ายนี้น่าจะเป็น IB รบกวนอาจาร์ยตรวจสอบว่าจริงหรือไม่เปิดgoogle ใส่คำว่า The Full Range of Leadership ดูนะครับ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ปรับใหม่ของ Bass นี้ น่าจะนำไปใช่ได้กับองค์กรที่เน้นการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ได้รับการไว้วางใจของผู้ใต้บังคับบัญชา

สโรชา หล้ายอดน้อย

ต้องการศึกษา งานวิจัย เพื่อพัฒนางานการสอนให้มีประสิทธิภาพ

อ. ค่ะ เรื่องภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีแค่นี้ใช่ไหมค่ะ มีมากกว่านี้ไหมค่ะ ....ขอบคุณค่ะ ...

มีมากกว่านี้แล้วค่ะ ลองขยันศึกษาค้นคว้าต่อไปนะคะ

ได้พบ ได้เจออะไรดีๆอย่าลืมเอามาแบ่งปันกันนะคะ

ขอบคุณค่ะ

ขอรบกวนคุณแพรภัทรหน่อยนะค่

ดิฉันกำลังจะทำวิทยานิพนธ์

ที่เกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง

แต่ไม่ทราบว่าเป็นทฤษฏีของใครแน่

ปีค.ศ. ..... เท่าไรแน่

และหาข้อมูลได้จากที่ไหนค่ะเป็นฉบับไทยรึเปล่า

รบกวนหลายอย่างเลยถ้าว่างกรุณาตอบกลับด้วยนะคะ

ขอบคุณ สำหรับข้อมูลดีๆครับ อาจารย์

สวัสดีคค่ะคุณแพร

ดิฉันเป็นกำลังจะทำเสนอหัวข้แวิทยานิพนธ์

ที่เกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง

แต่ไม่ทราบว่าเป็นทฤษฏีของใครแน่

ปีค.ศ. ..... เท่าไรและหาข้อมูลได้จากที่ไหนค่ะเป็นฉบับไทยรึเปล่า

และดิฉันมีความปรารถนาอย่างยิ่งที่จะได้ทำวิทยานิพลหัวข้อนี้รบกวนคุณแพร

กรุณาช่วยตอบคำถามของดิฉัน หรือส่งไฟร์หรือลิงค์ข้อมูล

เพื่ออ้างอิงให้สามารถเสนอข้อหัวผ่านด้วยนะค่ะ

ขอแสดงความนับถือ

ขอบคุณค่ะ

ชลธิชา

ผู้นำแบบเหนือชั้นช่วยลดปัญหาและช่องว่างในสังคมเนื่องจากเป็นคุณลักษณะพิเศษความเป็นเลิศของผู้นำ ซึ่งเกิดจากความรู้สึกภายในของบุคคลความเป็นเลิศของผู้นำแบบเหนือชั้น จึงเป็นหนทางหนึ่งที่จะสร้างให้องค์กรเกิดความเจริญก้าวหน้า แต่ผู้นำแบบเหนือชั้นจะต้องมีพื้นฐาน ผู้นำแบบแลกเปลี่ยน ผ้นำแบบการเปลี่ยนแปลงมาก่อนเสมอ

ผู้นำแบบเหนือชั้น

๑.คิดนอกกรอบ

๒.ไม่ยินดียินร้าย

๓.ทำในสิ่งท่เป็นไปไม่ได้

๔.เข้าถึงในสิ่งที่คนอื่นเข้าไม่ได้

๕.มองในสิ่งที่คนอื่นมองไม่เห็น

๖.ได้ยินในท่ามกลางความเงียบสงัด

๗.ลงมือทำก่อนสัญญาณบอกเหตุ

๘.สามารถเข้าถึงความต้องการที่ยังไม่เกิด

๙.สร้างความกล้าจากความกลัว

๑๐.สร้างอนาคตจากความล้มเหลว

ขอให้โชดดีกับการศึกษา

จาก ร.ท.เทพพนม ข่มอาวุธ นศ.ป.เอก การศึกษาพัฒนาสังคม มชร.

ขอขอบคุณในข้อมูล เป็นประโยชน์มากในการทำวิจัย

ร.ท.เทพพนม ข่มอาวุธ

ผู้นำยุดของการเปลี่ยนแปลงที่น่าจับตามองเป็นพิเศษ คือผู้นำแบบเหนือชั้น ซึ่งการมองผู้นำแบบเหนือชั้นเป็นการมองแบบสายการบริหารองค์กรให้เกิดความสำเร็จ ซึ่งในตัวของผู้นำ จะต้องมีจินตนาการ ควรมีคุณสมบัติที่ใช้วิธีคิดแบบเชิงประจักษษืทางคุณธรรม ไม่ใช่แต่เก่งแต่กระดาษ หรือเก่งเฉพาะแต่กระดาษสี่เหลี่ยม แต่ต้องสามารถบูรณาการสภาพปัญหาของสังคมที่เกิดขึ้นอย่างชาญฉลาด ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาการของผู้นำดังกล่าว ต้องมีคุณลักษระแก่นแท้ของ ความฉลาดทางอารมณ์ คือรู้จักการผสมผสานพลังทักษะในการจัดการบริหารตนเอง และความสามารถในการบริหาร และการจัดการผู้อื่น หรือการบริหารความสัมพันธ์ของผู้อื่น ผลสำเร็จคือตัวชี้วัด ความเป็นผู้นำ

อย่างไรก็ตามความฉลาดทางอารมณ์ คือพัฒนาการอย่างหนึ่งซึ่งผู้นำแบบเหนือชั้นจะต้องมีในตัว ประกอบกับก็ไม่ลืมที่จะใช้ความฉลาดทางสติปัญญา ในการตัดสิน หรือนำองค์กรให้บรรลุความสำเร็จ ซึ่งการกระตุ้นให้เข้าถึงความฉลาดทางอารมณ์ อาจมีปัจัยหลายๆอย่างที่เป็นอุปสรรคของการทำให้หักห้าม หรือการสลับทักษะการเกิดอารมณ์ เพื่อตอบสนองในการตัดสินใจ ซึ่งจะเกี่ยวเนื่องกับการใช้องค์ประกอบของ ความฉลาดในเรื่องของสติปัญญาในการบูรณาการแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดเป็นพลังนำองค์กร ไปสู้ความสำเร็จ ดังที่ได้ตั้งความหวังเอาไว้

ความเป็นผู้นำในยุดปัจจุบัน การคิดนอกกรอบไม่ใช่ การก่อให้เกิดการแตกแยก หรือการการแปลกแยกทางความคิด กลยุทธที่สำคัญอย่างยิ่งคือ ต้องมีเหตุผลรองรับแนวคิดนอกกรอบที่ตนเองคิด และดำเนินการอยู่ การสร้างเหตุผลของการคิดนอกกรอบมีทักษะที่ ผู้มีความรู้ทั้งหล่ยได้ถ่ายทอดแบบเอาไว้ เช่น

1. การควบคุมตนเอง

2. การตระหนักรู้ในตนเอง

3. การมีทักษะความสัมพันธ์ชุมชน

4.การสร้างแรงจูงใจในการบริหารความสัมพันธ์

5. การมีความรู้สึกเข้าถึงอารมณ์ที่มีส่วนร่วม

จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมด คุณลักษณะของผู้นำที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ แห่งเป้าหมายที่ได้วางไว้ หากว่าขาดสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง คือ คุณธรรมแล้วอาจนำพาองค์กร หรือสังคมนั้นเกิดความวุ่นวายได้ เพราะรูปแบบของการพัฒนาที่ได้กล่าวมา คือต้นแบบของการพัฒนาองค์กรไปสู่ความสำเร็จโดยการมีส่วนร่วมในอารมณ์แนวคิด สติปัญญา ผู้นำแบบเหนือชั้น ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งซึ่งมีแนวโน้มให้เกิดปัญหา คือ

1. การออกคำสั่ง

2. การใช้อำนาจ

3.แนวทางการให้ความร่วมมือ

4. ต้นแบบผู้นำ

ฝากไว้เป็นข้อคิดให้สำหรับผู้ที่สนใจ ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น ในฐานะการพัฒนาความเป็นผู้นำในอนาคตที่เราต้องการเพื่อรองรับการเจริญเติยโตของโลก ในยุดของการไร้พรมแดน

ร.ท.เทพพนม  ข่มอาวุธ

นศ.ป.เอก มชร.

ได้ความรู้มากครับ เสียดายที่เมื่อนำมาใช้ที่ไทยแลนด์ แดนเกือบกะลา ยังไม่บรรลุความมุ่งมาดปรารถนาของผู้รวบรวม วิเคราะห์ สร้างทฤษฎีขึ้นมา อ่านแล้ว เคลิ้มครับ เหมือนฝันไป แต่สุดท้าย ก็ต้องมานั่งมองความจริงที่มันเกิดขึ้นกับประเทศซ้ำแล้ว  ซ้ำเล่า ...อนิจจา

พระภควัฒน์​ โกวิโท

ข้อเรื่อง​ พระสงฆ์ผู้นำขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล5

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท