ปิติกานต์ จันทร์แย้ม : อิสระทำให้โอกาสอยู่กับเรา
ปิติกานต์ จันทร์แย้ม : อิสระทำให้โอกาสอยู่กับเรา จันทร์แย้ม

เรียนรู้การทำ Blog ภายหลังการอบรม Blog เพื่อการจัดการความรู้


แนวทาง วิธีการที่จะนำไปสู่การทำ Blog ของชุมชน

(มีภาพบรรยากาศการเสวนาผู้ประสานชุมชนนักปฏิบัติวันที่ 20 เมษายน 2549) เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2549 ได้ร่วมอบรม Blog เพื่อการจัดการความรู้ โดยมีท่าน ดร.จันทวรรณ น้อยวัน เป็นผู้แนะนำการใช้ Blog เพื่อจัดการความรู้ให้กับเพื่อนๆ ชุมชนนักปฏิบัติของวลัยลักษณ วันนี้จึงมาหารือ กับผู้ประสานชุมชนคนทำแว็บหรือ น้าหวาด เกี่ยวกับแนวทางการทำ Blog ของชุมชนต่างๆ มีแนวทางให้เราได้เรียนรู้อีกมากและคิดว่าจะนำมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังหลังสงกรานต์นะคะ และตั้งใจกับน้าหวาดว่าจะมีการแลกเปลี่ยนร่วมกันวันที่ 27 เมษายน 2549 เวลา 13.30-16.00 น. และเราค่อยพบกันนะคะ ....เออลืมบอกไป ตอนนี้เมอายุ 30 ปีแล้ว เมื่อวันที่ 9 เมษายน นี้ ...เมเป็นผู้ใหญ่ตอนปลายแล้วเย้

ภาพบรรยากาศการเสวนาผู้ประสานชุมชนนักปฏิบัติ วันที่ 21 เมษายน 2549 เวลา 13.30-16.00 น. ณ ห้องอบรม 1 ศูนย์คอมพิวเตอร์

ภาพบรรยากาศอบอุ่น (อาหารไม่เหลือ เหลือเชื่อจริงๆ)

ภาพกลาง พี่จินตนา คุณอำนวยเอาจริง
น้องเสกมนต์ ส่วนแผน(นั้งคนซ้ายสุด) นั่งหลับหรือไม่

ต้อยตีวิด (ผู้ประสานชุมชนพัสดุ)

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 23578เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2006 14:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ปิติกานต์ จันทร์แย้ม

ตอนนี้วลัยลักษณ์เป็นช่วงเริ่มต้นของการใช้บล๊อกและดูทุกคนตื่นเต้นมาก และเมื่อวานได้เดินเยี่ยมพบปะ พูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้ประสานชุมชนในวลัยลักษณ์บางชุมชน ใช้เวลาในการคุย (เมาส์) กันนานมากเพราะทุกคนกำลังตื่นเต้นกับบล๊อก และการเข้ามาทักทายของชาว มน. ทำให้หลายๆ คนตื่นเต้นมากและหลายชุมชนเกิดความมุ่งมั่น อยากตั้งบล๊อกของชุมชเมื่อได้ประมวลดูพบว่ามีหลายๆ ทางในการตั้งบล๊อกคือ

  1. การให้สมาชิกในชุมชนสร้างบล๊อกตนเองและมาสมัครเป็นสมาชิกในชุมชน

การเปิดบล๊อกของชุมชนและให้ผู้ประสานชุมชนนั้น (อาจจะมากกว่า 1 คน) มี Password เดียวกัน

สำหรับในแนวทางที่ 1 ได้ลองทำแล้ว ก็รู้สึกว่ามีอิสระดีและมีความสะดวกที่จะบันทึก
สำหรับปัญหาที่พบตอนนี้คือ มีพี่ๆ บางท่านอยู่หลายชุมชน เช่น เป็นสมาชิกทั้งชุมชนคนพัสดุ ชุมชนคน 5 ส. ชุมชนคนประหยัดพลังงาน จะทำอย่างไร ดี

แนวทางแก้ไข

  1. เปิดบล๊อกเท่ากับชุมชนที่เขาสังกัดและสมัครเป็นสมาชิกของแต่ละชุมชน
  2. ....สำหรับแนวทางอื่น....ยังนึกไม่ออกคะ

สิ่งที่สัมผัสได้ภายหลังจากการอบรมบล๊อกเพื่อการจัดการความรู้ครั้งที่ผ่านมา ทำให้หลายคนตื่นเต้นกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านบล๊อก เนื่องจากมีแรงกระตุ้นทั้งจาก มน. และ มอ. และเกิดอาการที่อาจารย์จันทวรรณบอกคือเรากำลังจะติดบล๊อก ทำให้รู้ถึงความรู้สึกของการเรียนรู้ที่ไร้ขีดจำกัด ไม่ว่าจะอยู่สถานที่ใด เวลาใด หรือใคร ทุกคนพร้อมจะให้..ขอบคุณคะ

ปิติกานต์ จันทร์แย้ม

สำหรับก้าวต่อไป ผู้ประสานหลายชุมชนอยากที่จะมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนแนวทางที่ดีในการตั้ง Blog ของชุมชนร่วมกัน โดยกวนๆ กันว่าประมาณ 18 เมษายน 2549 13.00-16.00 น. จะชวนผู้ประสานชุมชนหรือตัวแทนชุมชนในวลัยลักษณ์พบกันแบบ F2F ผู้สนใจติดตามความเคลื่อนไหวได้นะคะ..ขอบคุณคะ

ปิติกานต์ จันทร์แย้ม

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2549 ได้จัดเสวนาผู้ประสานชุมชนนักปฏิบัติ ซึ่งจัดเป็นครั้งที่ 3 ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความตั้งใจที่จะพบปะ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนวคิดที่ดีในการบริหารจัดการ CoP ซึ่งครั้งแรกๆ ยอมรับยังขาดทิศทางที่ชัดเจนและลองผิดลองถูกกับพี่อูฐ และพี่ๆ ผู้ประสาน CoP แต่ก็วันนี้ภายหลังจากที่ไป UKM ที่สงขลาทำให้เรามีแรงบันดาลใจ และเชื่อมั่นว่าชุมชนนักปฏิบัติสามารถส่งผลให้เกิดสิ่งที่ดีทั้งแก่ตนเอง งาน มหาวิทยาลัยและรวมถึงชุมชนได้ และเชื่อและมั่นใจว่าการสื่อสารระหว่างสมาชิกใน CoP ผ่าน Blog หรือที่เรียกว่า B2B จะเป็นการสื่อสารที่ดี ลดข้อจำกัดเรื่องสถานที่ เวลา และยังช่วยในการจัดเก็บความรู้ของชุมชน พร้อมยังมีการเชื่อมติดต่อกับภายนอกด้วย
และในการจัดเสวนาครั้งนี้ได้แลกเปลี่ยนถึงทิศทางในการสร้าง Blog ของคนและชุมชนในวลัยลักษณ์
เมื่อประมวลภาพรวมจากการเสวนาตนเองคิดว่า Blog ของคนและชุมชนในวลัยลักษณ์น่าจะมีถึง 2 แบบ
1. Blog ของชุมชน โดยแต่ละชุมชนต้องคุยร่วมกันระหว่างสมาชิกว่า เราจะสร้าง Blog ชื่ออะไร Blog มีวัตถุประสงค์อะไร โดยเริ่มแรกจะมี Key Man(Woman) ของแต่ละชุมชน อาจจะเป็น 1 หรือ 2 หรือ 5 คน ก็คนก็ได้ที่จะเข้าไปบอกเล่าประสบการณ์ในการทำงาน ปัจจัยอะไรทำให้เราทำงานชิ้นนั้นสำเร็จ และเราทำงานสำเร็จได้อย่างไร หรืออาจจะเริ่มจากปัญหาที่เราพบ และวิธีที่เราแก้ปัญหา และให้สมาชิกคนอื่นๆ ได้เข้ามาแสดงความคิดเห็นหรือเสนอแนวทางอื่นๆ ซึ่งเมื่อได้มีการสร้าง Blog ของชุมชน มี Keyman ผู้ประสานชุมชนจะแนะนำ Blog ของชุมชนและวิธีง่ายๆ ในการแสดงความคิดเห็นหรือเล่าประสบการณ์เพิ่มเติม ในเวที face2face เพื่อให้สมาชิกชุมชนได้รู้จัก Blog ของชุมชนและสามารถเข้ามาแสดงความคิดเห็นได้
2. Blog ของบุคคล ที่ได้สร้างขึ้นโดยตนเอง
 
แนวทางต่อไปสำหรับหน่วยพัฒนาองค์กร ก็จะทำหน้าที่ในการรวบรวม Blog ของชุมชน/หน่วยงาน Blog ของคนวลัยลักษณ์ ใน Goto Know เพื่อจะได้ทำ Link ที่บนหน้า Web KM ให้

และในการเสวนาผู้ประสานชุมชนนักปฏิบัติที่กำหนดจัดขึ้น 30 พฤษภาคม 2549 13.30-16.00 น. ณ ห้องประชุมส่วนพัสดุ อาคารบริหาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะเชิญชวนหน่วยงานและผู้สนใจท่านอื่นๆ ร่วมเสวนาเพิ่มขึ้น โดยในครั้งหน้าเราจะพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรูถึง
              1. แผนกิจกรรมแต่ละชุมชน
              2. เรียนรู้ประสบการณ์กิจกรรมที่แต่ละชุมได้ทำมา
              3. ถ่ายทอด แลกเปลี่ยนแนวทางการสร้าง/เขียน Blog เพิ่มเติม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท