ธรรมะสหกรณ์ของท่านพุทธทาสภิกขุ (ตอน 3)


รวบรวมโดย นายสหพล สังข์เมฆ

3.ธรรมะสหกรณ์

ท่านได้ชี้แนะทางออกในเรื่องนี้ว่า ความเห็นแก่ตัว เป็นเรื่องของความอยากจะได้อยากจะเอา ทางแก้ของความเห็นแก่ตัว เป็นสิ่งที่ง่ายมาก คือการให้ ซึ่งเครดิตยูเนี่ยนคือ คุณธรรม และจิตอารมณ์ นั่นเอง “ธรรมะช่วยแก้ไข้ความเห็นแก่ตัวให้กลายเป็นความไม่เห็นแก่ตัว ในพุทธศาสนามีธรรมะที่ทำลายความเห็นแก่ตัวมากมาย เช่น ระบบ

สหวัตถุ คือ การเสียสละ

ทาน คือ การสงเคราะห์ที่ลดความเห็นแก่ตัว

ปิยวาจา คือ คำพูดที่ไพเราะ

อัตถจริยา คือ ประพฤติประโยชน์แก่กันและกันตลอดเวลา

สมานัตตา คือ การวางแผนกลมเกลียวกัน ความเสมอกัน

หรือธรรมะที่บังคับให้เป็นไปคือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา มีความพอใจที่จะยึดสิ่งนี้เป็นที่พึ่ง มีความพากเพียร หมั่นศึกษาค้นคว้าใคร่ครวญอยู่เสมอ ให้ปัญญาหรือใช้อิทธิบาทให้สำเร็จประโยชน์หรือทำให้ละเอียดเข้มแข็งก้ใช้”ฆราวาสธรรม” ซึ่งเป็นธรรมะสำหรับฆราวาสแท้ๆ คือสัจจะ คือ ความจริงใจ ซื่อสัตย์ต่อความเป็นมนุษย์ของตน อย่าให้คนเลวกว่าสัตว์ ถ้าซื่อสัตย์ต่อความเป็นมนุษย์แล้ว ความซื่อสัตย์อย่างอื่นก็จะตามมาเอง เช่น ซื่อสัตย์ต่อวาจา ต่อเพื่อนมนุษย์ ต่อหน้าที่การงาน เป็นบุตรที่ดีของพ่อแม่ เป็นศิษย์ที่ดีของครูบาอาจารย์ เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ เป็นสาวกที่ดีของศาสนา เป็นมนุษย์ที่เต็มเปี่ยมในความเป็นมนุษย์

ทมะ คือ การบังคับ กาย วาจา ใจ ให้อยู่ในความถูกต้อง ใจที่คิดจะโกงก็ต้องบังคับไว้ให้ได้แม้จะรู้สึกเจ็บปวดก็ต้องทน ทำให้เป็นสหกรณ์ให้ได้

ขันติ คือ การอดทนจนกว่าสมควรจะได้รับประโยชน์

จาคะ แปลว่า รูรั่วหรือการระบายความเลว ความเห็นแก่ตัวออกไป สละสิ่งที่ไม่ดีในตัวออกไป

หากฆราวาส ประพฤติปฏิบัติในเรื่องฆราวาสธรรมได้ เรื่องสหกรณ์ก็ง่ายเป็นเรื่องเด็กเล่น มีความถูกต้องของความเป็นสหกรณ์ ร่วมมือกันทุกอย่างทุกระดับ ที่จะทำในสิ่งที่ควรเพื่อให้รอดพ้นจากปัญหาทั้งปวง ร่วมกันขจัดศัตรูข้าศึกของสหกรณ์ได้”

ธรรมะอีกบท ที่ท่านบรรยายให้สำหรับฆราวาสผู้ศรัทธาในธรรม คือ สัปปุริสธรรม 7 ได้แก่ ธัมมัญญุตา คือ รู้เหตุว่าที่ทำไปจะเกิดผลอะไร

อตัญญุตา คือ รู้ผลว่าเกิดมาจากสาเหตุอะไร

อัตตัญญุตา คือ รู้ตนว่าจะต้องปรับตัวอย่างไร

อนัตตัญญุตา คือ รู้ประมาณมีความดี ไม่มากไม่น้อย

กาลัญญุตา คือ รู้เวลาควรจะทำอะไร

ปริสัญญุตา คือ รู้บริษัท รู้สังคมทั้งหลายว่าปฏิบัติอย่างไรจึงสำเร็จประโยชน์

บุคคลปโรปรัญญุตา คือ รู้บุคคลว่าเกี่ยวข้องอย่างไร

เมื่อรู้จักครบทั้ง 7 อย่างก็ไม่มีปัญหาอุปสรรค เพราะแก้ไขได้หมด การที่ธรรมะหรือความถูกต้องทั้งหลายมารวมกันก็เป็นสหกรณ์ได้โดยอัติโนมัติ

หมายเลขบันทึก: 23568เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2006 14:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 10:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
แล้วสหวัตถุ มีบทบาทสำคัญสำหรับคนเราอย่างไ ร
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท