กฎหมายลิขสิทธิ์ : การนำรูปหน้าเว็บเพจมาประกอบการเขียนตำรา


กรณีศึกษา :

การนำรูปหน้าเว็บเพจมาประกอบการเขียนตำรา จะนำมาประกอบได้มากน้อยเพียงใด ?

 

ประเด็นนี้ รศ.ดร.มานิตย์ จุมปา แห่งคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ทัศนะไว้ว่า

ต้องพิจารณาว่าการจัดทำหน้าเว็บเพจนั้นมีลิขสิทธิ์หรือไม่ ในเรื่องนี้เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่า  การจัดทำหน้าเว็บเพจมีการสร้างสรรค์ ดังนั้น จึงมีลิขสิทธิ์

การนำหน้าเว็บเพจมาประกอบการเขียนหนังสือต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเว็บเพจนั้นเสียก่อน หากนำมาโดยไม่ได้รับอนุญาต ย่อมเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

นอกจากนั้น การนำรูปหน้าเว็บเพจอันมีลิขสิทธิ์มาดัดแปลงก็ต้องขออนุญาตเจ้าของเว็บไซต์เสียก่อน มิฉะนั้นจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ (ดูมาตรา ๓๒ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗)

 

ประเด็นนี้ร้อนแรงครับ เพราะพบเห็นกันได้ทั้งสื่ออินเทอร์เน็ต หนังสือคอมพิวเตอร์แบบ How to หรือแม้กระทั่งเอกสารการฝึกอบรมของหน่วยราชการต่าง ๆ

มีอยู่เคสหนึ่งครับ สำนักพิมพ์หนังสือคอมพิวเตอร์เขียนหนังสือเกี่ยวกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตเบื้องต้น จำเป็นต้องนำภาพจากเว็บเพจต่าง ๆ มาใช้ในการสอนในตัวเล่ม แต่บังเอิญไปเลือกจับภาพเว็บเพจของ Disney.com มา เมื่อเจ้าของลิขสิทธิ์มาพบเข้า จึงฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์แก่สำนักพิมพ์นี้ ทำให้สำนักพิมพ์นี้ต้องยกเลิกการจัดจำหน่ายหนังสือเล่มนี้ทั้งหมด พร้อมกับต้องนำภาพเว็บเพจนี้ออกจากตัวเล่ม ซึ่งผมเองก็ไม่ทราบว่า คดีสิ้นสุดอย่างไร สำนักพิมพ์ตกลงกับเจ้าของลิขสิทธิ์อย่างไรบ้าง

เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ ครับ ... ไปเอาของเขามา เขาก็ฟ้องได้เหมือนกัน โดยเฉพาะพวกบริษัทต่างประเทศนี่เคร่งครัดในเรื่องนี้มาก หากเป็นคนไทย ถ้าไม่เหนือบ่าฝ่าแรงมากเกินไป ก็ไม่ได้ว่าอะไร คิดว่าเป็นการโปรโมทเว็บไซต์ในทางอ้อม

ระมัดระวังเรื่อง "การนำรูปหน้าเว็บเพจมาใช้" ให้ดี  ๆ นะครับ ... เรื่องนี้ฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์กันได้แน่นอน

 

..................................................................................................................................... 

บันทึกที่เกี่ยวข้อง

ภายในสมุดบันทึก ชื่อ "เทคโนโลยีการศึกษา..เท่าหางอึ่ง"

บันทึกของบล็อกเกอร์ท่านอื่น

 

....................................................................................................................................... 

แหล่งอ้างอิง

มานิตย์ จุมปา.  เขียนผลงานวิชาการอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์.  กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537.  http://www.thnic.co.th/docs/copyright-law.pdf (13 มกราคม 2552).

 

หมายเลขบันทึก: 234996เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2009 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
  • สวัสดีค่ะ
  • ที่แนะนำแหล่งที่มาของภาพ
  • เพราะได้ข้อมูลมาจาก FW Mail ค่ะ
  • พอเข้าไปในลิงค์ที่แนะนำ มีภาพดีดีมากมาย
  • คงต้องขอ Copy เอาไว้ค่ะ
  • ขอบคุณอย่างมากมายนะคะ

น่านล่ะน้า เข้าตำราไม่คิดก่อนทำไงค่ะ ของทุกอย่างมีต้นทุน จะคิดเอาเองฝ่ายเดียวว่าแค่นิดหน่อยเอง ไม่ได้เอามาทำเสียหาย เวลาโดนฟ้องฝ่ายละเมิดก็พูดได้ว่าไม่ได้ตั้งใจ แต่ฝ่ายที่ถูกละเมิดเขาจะฟังหรือเปล่านั่นอีกเรื่อง อาจจะยอมฟังเสียงเซ็นเช็คก็ได้ ^ ^

คาดว่ามีอีกเยอะค่ะเรื่องประเภทไปหยิบโน่นหยิบนี่ของชาวบ้านมาใช้ ส่วนใหญ่ที่ไม่โดนฟ้องคือเจ้าของไม่เจอ กับอีกแบบคือเจอแต่ไม่เอาเรื่องเพราะเห็นว่าเป็นงานที่ไม่ใช่เพื่อการค้า หนังสือที่ว่าถ้าแจกฟรีเพื่อการศึกษาเขาอาจจะไม่ฟ้องก็ได้ค่ะ วัตถุประสงค์เป็นตัวช่วยให้ทางเจ้าของลิขสิทธิ์ตัดสินใจ ถึงไม่ฟ้องก็อาจจะถูกต่อว่าให้ได้อายว่าไม่มีมารยาทและจริยธรรม ทางที่ดีคือคิดเยอะๆๆๆๆๆ ก่อนทำอะไรค่ะ

ขอบคุณมากครับ มาเก็บข้อมูลเพิ่มเติม ได้ความรู้ดีมากครับ..โดยเฉพาะ Blogger ก็ควร(ต้อง)อ่าน

  • ขอบคุณครับที่ให้ข้อมูลดี ๆ กันไว้ดีกว่ามาแก้ทีหลัง..เหนื่อย
  • พยายามติดตามอ่านครับ
  • ขอให้มีความสุข
  • สวัสดีค่ะอาจารย์
  • ตามมาเก็บเกี่ยวความรู้ค่ะ
  • ไม่รู้จะหาได้หรือเปล่านะคะหนังสือ
  • แต่จะลองไปหาดูในศูนย์หนังสือ มข. ดูนะคะ
  • ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูลดีๆและสาระที่มีมาให้เรียนรู้ตลอดเลยค่ะ
  • ^_^  :) ^_^

สวัสดีครับ คุณซูซาน Little Jazz :)

จริงอย่างว่านะครับ คนไทยมักคิดกันแค่ ... นิดหน่อยเอง ไม่เป็นไร (ในใจคิดว่า เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่รู้หรอก) ... ซะส่วนใหญ่ เป็นไปในทุกวงการครับ ... วงการวิชาการนี่ ก็แย่หน่อย ... ธุรกิจการศึกษาจะเจริญเติบโตสวนกระแสระหว่าง เงิน กับ ความรู้ ...

"การให้เกียรติ" จึงเป็นเรื่องที่พึงระวังมากที่สุด ครับ

ขอบคุณมากครับที่ให้ข้อคิดเอาไว้ :)

ขอบคุณครับ คุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร .. แค่หวังว่า BLOGGER จะนำข้อมูลนี้ไปเลือกใช้ประโยชน์ให้ดีที่สุดนะครับ :)

ขอบคุณมากครับ ท่าน ผอ. ศรีกมล  ... มิบังอาจสอนนักกฎหมายครับ :) ... เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันดีกว่านะครับ :)

ใครกันหนอกำลังทำวิทยานิพนธ์อยู่น้า น้องคุณครู เทียนน้อย :)

ยังไงก็ฝากการสร้างองค์ความรู้ใหม่โดยไม่คัดลอกเอาไว้ด้วยนะครับ

อยากให้เป็น "บัณฑิตศึกษา" รุ่นใหม่ ใส่ใจ "การให้เกียรติ" ทางวิชาการกัน

  • ปกติเป็นคนไม่มีลูกเล่น ตกแต่งเว็บเพจไม่เก่งเลยรอดตัวไป
  • แต่เรื่อง "plagiarism" ผลงานวิชาการนี้ เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ ต้องระมัดระวังกันให้มาก ๆ เคารพความคิดสร้างสรรค์ซึ่งกันและกัน สมัยเรียน ป ตรี อาจารย์ฝรั่งตรวจรายงานนักศึกษา เห็นcopy ข้อความหนังสือมาประหนึ่งว่าตัวเองเขียนเองเพราะไม่มีอ้างอิง  ให้เกรด F เลยค่ะ
  • ไม่แน่ใจว่าสมัยนี้ อาจารย์จะเข้มงวดกันขนาดนี้หรือเปล่า
  • ขอบคุณค่ะ เป็นประโยชน์มาก  ๆ หลายคนอ่านบันทึกนี้คงเห็นแล้วว่าสมัยนี้มีกฎหมายใหม่ ๆ จากตะวันตกเยอะขึ้น (ตามข้อตกลง TRIPS) ก็จะได้ระวังกันมากขึ้นค่ะ

ขอบคุณครับ คุณ Sila Phu-Chaya :)

เหมือนกันเลยครับ ด้วยไม่เก่งในการตกแต่งเลยรอดด้วยคนครับ แต่...ยังมีไม่รอดอีกหลายประเด็น ก็ต้องแก้ไขกันไปครับ อิ อิ เขียนบันทึกเยอะ ปัญหาก็เยอะตามมา ครับ

เกรด F เป็นเรื่องสมควรครับ และเป็นการให้บทเรียนสำคัญครับ

แต่อาจารย์สมัยนี้ หลายคนตามไม่ทันเด็กครับ ลอกมาหรือเปล่า บางทีก็ไม่ทราบ เพราะอ่านน้อย ค้นคว้าน้อย

สำหรับเข้มงวดแค่ครึ่งเดียว คือ งานชิ้นนี้ คุณเอาศูนย์ไป พร้อมกับอคติต่อคุณแน่นอน เพราะดันทะลึ่งโกงมาส่งนี้ อนาคตเมื่อหมดคอร์สก็ไม่ค่อยดีเท่าไหร่นัก ครับ

กฎหมายช่วยให้เราระมัดระวังตัวมากขึ้น สำหรับโลกที่แคบลงขนาดนี้ ครับ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท