วิธีสู้ไข้หวัดนก


         ผมได้รับ อี-เมล์ จากกลุ่มติดตามโรคติดเชื้อเกิดใหม่ เกี่ยวกับการจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อศึกษาการระบาดของไข้หวัดนกในคน   น่าสนใจ จึงนำมาฝาก    จะเห็นว่าวิชาคณิตศาสตร์มีประโยชน์มากในการสร้างแบบจำลองในการคาดการณ์อนาคต 

From: Emerging Infectious Diseases [mailto:[email protected]]
Sent: Wednesday, April 05, 2006 1:58 PM
To: Urgent Response Unit; Bird Flu Expert Group; Emerging Infectious Diseases
Subject: PNAS: Mitigation strategies for pandemic influenza in the US
 Mitigation strategies for pandemic influenza in the US
 Timothy C. Germann, Kai Kadau, Ira M. Longini Jr., and Catherine A. Macken
 PNAS, 3 April 2006
 
1. ผู้วิจัยได้สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อสมมุติสถานการณ์การระบาดใหญ่ของไวรัสไข้หวัดใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกา
2. การทดสอบนี้ใช้ค่า R0 ในช่วงระหว่าง 1.6-2.4 (R0 = การแพร่เชื้อเกิดจาก 1 คนไปสู่ R0 คน ค่า R0 ยิ่งมาก = เชื้อจะยิ่งแพร่กระจายได้เร็ว)
3. ผู้วิจัยได้กำหนด intervention 3 รูปแบบหลัก ที่ระดับต่างๆ กัน คือ 1) ให้มีการใช้ยาต้านไวรัส    2) ให้มีการใช้วัคซีน และ 3) ให้มีการจำกัดการเดินทาง
4. ผลการจำลองสถานการณ์พบว่า การดำเนินการจำกัดการเดินทางทันทีหลังจากพบการระบาด จะทำให้จำกัดวงของการระบาดได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น แต่สุดท้ายแล้วการระบาดจะส่งผลให้มีจำนวนผู้ป่วยที่ไม่แตกต่างไปจากกลุ่มควบคุม
5. ในกรณีที่ค่า R0 ของการระบาดต่ำกว่า 1.9  การลดจำนวนผู้ป่วยให้ต่ำกว่า 10% ของประชากร สามารถกระทำได้โดยการเร่งผลิตและแจกจ่ายวัคซีน โดยเน้นการให้วัคซีนในเด็ก แม้ว่าลักษณะทางแอนติเจนของวัคซีนที่ผลิตขึ้นมานั้น จะไม่ค่อยตรงต่อสายพันธุ์ที่เกิดการระบาดอยู่ก็ตาม (partial cross protect)
6. นอกจากนี้ การควบคุมการระบาดของโรคโดยระดมใช้ยาต้านไวรัสเข้าควบคุมที่จุดระบาดอย่างทันท่วงที นับเป็นอีกทางเลือกที่ทำให้ควบคุมการระบาดของโรคเมื่อค่า R0 ของการระบาดไม่สูงนัก 
7. อย่างไรก็ตาม เมื่อค่า R0 ของการระบาดมีค่าสูงมาก อาจจะต้องใช้ทุกแนวทางควบคุมร่วมกัน เพื่อให้การจำกัดวงของโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงที่สุด
8. Ira M. Longini Jr., เป็นหนึ่งในกลุ่มนักวิจัยที่ตีพิมพ์เรื่องแบบจำลองในวารสาร Science เมื่อกลางปี 2005 (ครั้งนั้นเป็นชื่อแรก) และ paper นี้ทางทีมได้ขอให้ นพ. โสภณ กรม คร. ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมอยู่
 
 EID Program
National Center for Genetic Engineering and Biotechnology (BIOTEC)
113 Paholyothin, Klong 1, Klong Luang, Pathumthani 12120
Tel. 02-644-8150 Ext. 504 or 02-564-6700 Ext. 3425, 3443, 3431
Fax 02-564-6704

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 23495เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2006 08:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท