( ๒ ) พิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่


ทำบุญขึ้นบ้าน ขาวอีสานทำอย่างไร

        พิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่ เป็นประเพณีเก่าแก่พิธีหนึ่ง ที่ชาวบ้านแต่ละท้องถิ่นได้ถือปฎิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณกาล แต่ละท้องถิ่นอาจจะมีความแตกต่างกันบ้าง ในรายละเอียดปลีกย่อย แต่หลักใหญ่ ๆ แล้วจะไม่แตกต่าง

        เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2552 ผู้เขียนได้มีโอกาสไปร่วมงานขึ้นบ้านใหม่ของญาติผู้ใหญ่ฝ่ายภรรยา ตั้งอยู่หมุ่ที่ 14 บ้านดอนแรด ตำบลดอนแรด อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งพิธีจะมีแตกต่างจากที่เคยเห็นมาบ้าง น่าจะนำมาเผยแพร่ เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมอันดีงามนี้ไว้ ให้คงอยู่กับชาวอีสานใต้ของเราสืบไป

        พิธีทำบุญขึ้บ้านใหม่ เป็นพิธีทำบุญงานมงคลอย่างหนึ่ง เพราะเป็นการปรารภเหตุดี เพื่อเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของบ้านและลูกหลานที่จะได้เข้าพักอาศัย มีความอยู่เย็นเป็นสุข เจริญก้าวหน้าในการประกอบอาชีพ ซึ่งก่อนจะทำบุญเจ้าภาพจะต้องหาฤกษ์ยาม เพื่อให้รู้ว่าวันใดเหมาะที่จะทำพิธี เมื่อได้วันแล้วก็จะนิมนต์พระ เชิญแขก และพ่อพราหมณ์ที่จะมาทำพิธี อีกทั้งเตรียมสิ่งของเครื่องใช้

          ในวันงานดังกล่าง เมื่อถึงเวลา พ่อพราหมณ์ ใส่ชุดสีขาว สพายย่าม ถือไม้เท้าและกั้งร่ม นำขบวนเจ้าของบ้าน ลูก หลาน และแขกแห่รอบบ้านทักษิณาวัฎ ตามขบวนด้วยหาบเงิน หาบทอง เจ้าบ้านเชิญพระพุทธรูปประจำบ้านนำหน้า บางคนถือเสื่อ หมอน และผลหมากรากไม้ ตามขบวนด้วยความสะนุกสนาน ตามด้วยเสียงโห่ร้องกันเป็นระยะ ๆ

           เมื่อครบ 3 รอบแล้ว เมื่อมาถึงประตูเข้าบ้าน พ่อพรามหณ์จะเดินเข้าประตูบ้าน ญาติผู้ใหญ่เจ้าของบ้านมายืนขวางประตูไม่ให้เข้า ทำพิธีสอบถามกันก่อน ตามประเพณี ซึ่งในวันนั้น ได้มีการตั้งคำถามดังนี้

           คำถาม : พวกนี้หามกระดอน คอนกะต่า ขนสิ่งขนของมาแต่ใส น่อ ?

          คำถาม : ข่า ทาส หญิง ชายได้มาบ่น่อ ?

          คำถาม : ช้างม้า วัว ควาย ได้มาบ่นอ ?

         คำถาม : ของอยู่ ของกินเป็นเนื้อเส็กเอ็กลายได้มาบ่นอ ?

           

           คำถาม : แหลูกทอง มองลูกกั่ว ได้มาบ่อนอ คั่นสิมาค้ำ มาคูณให้ลูกหลาน อยู่ดีมีแฮง ก็เชิญขึ้นมาถ่อน

         คำถาม : คั่นสิมาค้ำมาคูณ ให้อยู่ดีมีแฮง ความเจ็บบ่อให้ได้ ความไข้บ่ให้มี เพิ่นได้หยังมาแนนอ ?

        หลังจากเข้ามาในบริเวณบ้านแล้ว พ่อพราหมณ์ก็จะทำพิธีบรวงสรวงเทวดา -แม่ธรณี ด้วยอาหารคาว 9 อย่าง อาหารหวาน 9 อย่าง และผลไม้ 9 อย่าง  

 

                          

                                    (  อาหารคาว หวาน  และผลไม้  9 อย่าง )

        อาหารคาว 9 อย่าง ได้แก่ นึ่งปลาช่อน-ปลานิล,หมูย่าง,แกงเผ็ดไก่หรือหมู,ลาบ,ไข่พะโล้,ขาหมูพะโล้,หมกปลา,แกงปลา และไก่ย่าง

        อาหารหวาน 9 อย่าง ได้แก่ ลอดช่อง,ขนมชั้นหรือตะโก้,ทองหยอด,ขนมปัง,แซนวิส,กล้วยแขก,กล้วยบวชชี,ขนมหม้อแกง และขนมปังชนิดอื่น ๆ

        ผลไม้ 9 อย่าง ได้แก่ มะพร้าวอ่อน,กล้วยน้ำหว้า 1 หวี,ขนุน,ฝรั่ง,ส้มเขียวหวาน,ละมุด,มะขาม,ลำใย และชมพู่

          เสร็จพิธีทางพราหมณ์แล้ว ก็จะทำพิธีทางพระพุทธศาสนา เมื่อพระสงฆ์เข้ามาในบ้านแล้ว เจ้าภาพหรือญาติก็จะกราบพระ ประเคนบาตรทำน้ำมนต์ น้ำดื่ม และเครื่องดื่มต่าง ๆ พิธีกรก็จะเชิญเจ้าภาพจุดธูปเทียน กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย อาราธนาศีล หลังจากรับศีลแล้ว พิธีกรจะกล่าวคำอาราธนาพระปริตร เสร็จแล้วพระสงฆ์ก็จะเจริญพระพุทธมนต์

            เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์เสร็จแล้ว เจ้าภาพก็เตรียมอาหาร คาวหวานมาพร้อม แล้วกล่าวคำถวายภัตตาหาร หลังจากพระฉันภัตตาหารเสร็จเจ้าภาพก็เตรียมจตุปัจจัยไทยทานและถวายพระสงฆ์ ๆ จะกล่าวคำอนุโมทนา ประพรหมน้ำมนต์ เจิมบ้าน และรดน้ำมนต์ตามเสา และมุมบ้าน เพื่อเป็นสิริมงคลแล้วกราบลาพระเป็นเสร็จพิธี

 

   (พ่อพราหมณ์ เป็น อดีตอาจารย์ใหญ่ เป็นปราชฌ์ชาวบ้านของอำเภอรัตนบุรี ได้ให้เกียรติเป็นผู้ทำพิธี)

 

          ( พ่อพราหมณ์  ญาติ และแขกผู้มีเกียรติร่วมผูกข้อมือและอวยพรให้กับเจ้าภาพ)

          หลังจากพระสงฆ์เดินทางกลับแล้ว  ก็จะทำพิธีสู่ขวัญเจ้าของบ้านและลูกหลาน โดยจะมีพานบายศรีข้าวตอกดอกไม้  และด้ายมงคล โดยพ่อพรามหณ์จะร่ายคาถาเป็นภาษาลาว อันเป็นการเชื้อเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย มาคุ้มครองปกปักรักษาบ้านเรือน และเจ้าของบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข พอเสร้จพิธีแล้ว พ่อพราหมณ์ก็จะนำผูกข้อมือเจ้าภาพ และลูกหลาน พร้อมทั้งอวยพร และช่วยงานไปพร้อมกัน และตามด้วยแขกและญาติ ก็จะทะยอยมาผูกแขนอวยพรกันจนครบทุกคน

       สำหรับสิ่งของที่แขกจะนำมาร่วมงาน  นอกจากเงินแล้วก็จะมีหมอน เสื่อ ฟูก และสิ่งของมีค่าอื่น ๆ เพื่อมอบให้กับเจ้าภาพ ไว้ใช้ประจำบ้าน

 

 

       ส่วนสิ่งของที่เจ้าภาพนำมาขึ้นบ้านใหม่ในพิธีเพื่อเป็นสิริมงคลได้แก่ตุ่มใส่น้ำให้เต็ม หมอน เสื่อ ข้าวสาร ข้าวเปลือก อ้อย กล้วย และไม้มงคลต่าง ๆ

       การนิมนต์พระในพิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่ นิยมนิมนต์พระ 5 รูป 7 รูป หรือ 9 รูป ส่วนมากจะนิยม 9 รูป เพราะถือว่าเป็นเลขมงคล

       พิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่ เป็นประเพณีที่สำคัญ เราชาวอีสาน ควรจะอนุรักษ์ และสืบทอดกันชั่วลูกชั่วหลาน เพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข มีเอกลักษณ์ และคงความเป็นลูกอีสานสืบไป!!!!

 

        

       

หมายเลขบันทึก: 234645เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2009 16:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

แถวบ้านผม หมอพราหมณ์จะเอาตะปูตอกเสา ในการตอกแต่ล่ะครั้งจะมีคำพูดที่เป็นมงคล จากนั้นก็จะเอาย่ามที่สะพายมาห้อยไว้ ในยามจะมีของมงคลคือ

1. หินเงิน หินทอง

2. ทรายเงิน ทรายทอง

3. ลูกแห (ลูกตะกั่ว)

4. ฆ้อน

5. พร้า

6. ของคูณบ้าน 6 อย่าง คือ คุด แก้ว แข่ว ขอ นอ งา

แล้วหมอพราหมณ์จะสมมตินอนหลับ จากนั้นก็จะให้ผู้ทำเสียงไก่ขันแล้วหมอพราหมณ์จะลุกขึ้นมาเล่าความฝันใหฟัง(ทำนองแหล่)ซึ่งจะมีแต่ถ้อยคำที่ดีงาม

ปล.ผมเคยไปเก็บข้อมูลเขียนสารคดีแถวบ้านลำเพิญ ต.กุดขาคีม อ.รัตนบุรี

ที่นั่นอุดมสมบูรณ์มากเลย

เป็นชาวอิสานแต่กำเนิดค่า...แต่ทำไมไม่เคยเห็นการทำบุญขึ้นบ้านใหม่แบบนี้เลยคะ

แปลกดีนะคะ..เคยเห็นแบบง่ายๆทำบุญเลี้ยงพระเป็นเสร็จพิธี..ขอบคุณกับข้อมูลดีดีนะคะ

สวัสดีค่ะ

  • เป็นภูมิปัญญาของวิถีชีวิตนะคะ
  • ยังไม่เคยเห็นค่ะ
  • จะย้อนกลับมาอ่านอีกรอบค่ะ
  • ขอขอบพระคุณค่ะ
  • ขอบคุณคุณพิมล ที่เพิ่มเติมให้
  • ความรู้ยิ่งให้ ยิ่งเพิ่ม ยิ่งเติมยิ่งเต็ม
  • ขอให้มีความสุขนะครับ
  • ขอบคุณคุณแอด
  • ผมเองก็เคยขึ้นบ้านใหม่ แต่ไม่เคยทำเช่นกัน
  • แต่ละท้องถิ่นก็จะแตกต่างงกันไปเหมืนคุณพิมล ว่า
  • ขอให้มีความสุขทุกวันครับ
  • ขอบคุณครับครูคิม
  • แต่ละท้องถิ่นคงไม่เหมือนกัน แต่ขาดผู้นำเสนอ หากไม่ช่วยกันประเพณีเก่าแก่คงเลือนหายไปน่าห่วง
  • ขอให้มีความสุขครับ
  • ขอบคุณคุณแอด
  • ผมเองก็เคยขึ้นบ้านใหม่ แต่ไม่เคยทำเช่นกัน
  • แต่ละท้องถิ่นก็จะแตกต่างงกันไปเหมืนคุณพิมล ว่า
  • ขอให้มีความสุขทุกวันครับ

ที่บ้านผมก็ขึ้นบ้านใหม่แบบนี้แหละครับ เขาเรียกว่าขึ้น "พิธีพราหมณ์" โดยมากมักขึ้นในฤกษ์ที่เป็นมงคลยิ่ง โดยบ้านนั้นอาจจะยังไม่เสร็จสมบูรณ์ก็ได้เมื่อสร้างเสร็จสมบูรณ์และเจ้าบ้านพร้อมด้วยทรัพย์แล้วจึงจะทำบุญเลี้ยงพระ เรียกว่า "พิธีพุทธ" บ้านผมยังสร้างไม่เสร็จก็ขึ้นพิธีพราหมณ์เอาฤกษ์ก่อน(ถือฤกษ์ตอนพระราชพิธีครบ ๖ รอบ ในหลวง โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าเป็นมหามงคลฤกษ์ที่หาที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว คือวันที่ 9-12 มิถุนายน 2549) ตอนนี้ยังไม่ขึ้นพิธีพุทธเลยเพราะยังไม่พร้อม

  • ขอบคุณคุณพิมล ที่กรุณาเพิ่มเติม
  • ขอให้มีความสุขในการให้ในทุกวันครับ

บ้านสร้างเสร็จพร้อมเข้าอยู่ แต่หาฤกษ์ยังไม่ได้ กลัวการดูดวง หลายครั้งคิดมาก ไม่เคยขึ้นบ้านใหม่ที่ใหนเลย ขอความคิดเห็นจากผู้ผ่านมาอ่านข้อความด้วยค่ะ บอกยกเลิกบ้านเช่าสิ้นเดือนนี้ค่ะ เม.ย

ขอบคุณมากค่ะที่ให้ข้อมูลดีๆกำลังจะขึ้นบ้านใหม่อยู่พอดี เป็นคนอีสานด้วยคนอุบลค่ะ

ดิฉันยกเสาเอกเมื่อวันที่ 23 เม.ย.55 และกำหนดจะทำพิธีขึ้นบ้านใหม่ตามประเพณีพื้นบ้านก่อนวันเข้าพรรษา ในวันที่ 31 ก.ค.55 คาดว่าบ้านยังไม่แล้วเสร็จแน่นอน แต่ต้องการทำพิธีขึ้นบ้านใหม่เอาฤกษ์ยามมงคลก่อน เนื่องจากบ้านจะสร้างเสร็จเรียบร้อยในระหว่างพรรษา ประเพณีแถวบ้านห้ามแต่งงาน และหรือขึ้นบ้านใหม่ระหว่างพรรษา ดังนั้นจึงกำหนดการขึ้นบ้านเอาฤกษ์นี้ ไม่อยากที่จะแหงนคอมองบ้านที่สร้างเสร็จแล้วไปเรื่อยๆ จนถึงฤกษ์ยามดีหลังออกพรรษา คือ ประมาณวันที่ 27 พ.ย.55 จะเสียดายเวลาที่ผ่านไปโดยไม่สามารถย้อนเวลากลับมาได้

ขอบคุณเจ้าของกระทู้นะคะ ดิฉันกำลังค้นหาความรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติเกี่ยวกับพิธีกรรมการขึ้นบ้านใหม่ และได้มีโอกาสได้อ่านกระทู้ของท่าน ได้ความรู้รวบรวมไว้ในการจัดเตรียมการขึ้นบ้านใหม่ที่กำหนดไว้ และจะไปขอนัดหมายกับอาจารย์(พราหณ์) ผู้นำประกอบพิธี พร้อมทั้งถามท่านเกี่ยวกับระเบียบพิธีด้วย เนื่องจากอาจารย์ฯ แต่ละท่านจะมีระเบียบพิธีเป็นเฉพาะๆ ตำราไปแต่ละท้องถิ่น เคยไปร่วมงานขึ้นบ้านใหม่ของพี่ชายที่ ท้องถิ่น ภูเงิน/กันทรลักษ์ เขาจะทำพิธีในตอนเย็นถือว่าลักษณะเหมือนนกเข้ารัง  แต่ในท้องถิ่นบ้าน คือ ท่าตูม ปราสาท นั้นจะทำพิธีในช่วงเช้าประมาณ ๐๙.๐๐ น. เป็นต้นไป  
เมื่อเราเชิญเจ้าพิธีท่านใดเป็นผู้นำประกอบพิธีแล้ว ก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติของท่านผู้นำประกอบพิธีท่านนั้น

บ้านผม กะทำ เป็นพิธิพรามครับ มีการ ถามตอบ ของพราม แล้วกะทำท่า นอน แล้ว กะเล่าความฝันให้ฟัง ม่วนดีครับ ขนหัวลุกครับ


 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท