บทบาทของบรรณารักษ์ต่อการจัดการความรู้


มี ๓ ด้าน

วันนี้ผมค้น file เก่าๆ พบเรื่องนี้  ซึ่งร่างความคิดไว้เมื่อกว่า ๒ ปีมาแล้ว คิดว่าน่าจะมีประโยชน์บ้างถ้าเอามาลงไว้ให้ถกเถียงกัน

บทบาทของบรรณารักษ์ต่อการจัดการความรู้
ในสังคมไทย
วิจารณ์ พานิช

(ร่างความคิด)

      บทบาทของบรรณารักษ์ต่อการจัดการความรู้   มีได้ 3 บทบาทใหญ่ๆ  คือ
1.       ผู้ดำเนินการจัดการความรู้
2.       ผู้อำนวยความสะดวกต่อ การจัดการความรู้
3.       ผู้สร้างศาสตร์ หรือร่วมสร้างศาสตร์ว่าด้วยการจัดการความรู้ในสังคมไทย

บทบาทผู้ดำเนินการจัดการความรู้
       อาจแบ่งได้เป็น 2 แบบ
1.       จัดการความรู้ภายในหน่วยงานของตน   มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงงานของหน่วยงาน   เน้นที่งานที่เป็น “หัวใจ” ของหน่วยงาน
2.       จัดการความรู้ของเครือข่ายห้องสมุด (หรือสำนักวิทยบริการ) มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงงานของทั้งเครือข่าย   เน้นที่งานที่เป็น “หัวใจ” ของเครือข่าย
       ลักษณะสำคัญของการจัดการความรู้คือ  ความเป็นพลวัตและความต่อเนื่องของกิจกรรม   ทุกคนร่วมกันแสดงบทบาทสร้างสรรค์ ยกระดับหรือปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานอย่างไม่มีที่สิ้นสุด   องค์ความรู้ในหน่วยงานหรือเครือข่ายเพิ่มขึ้น  (องค์ความรู้ในที่นี้หมายถึงความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนางานเท่านั้น  ไม่เกี่ยวข้องกับความรู้โดยทั่วๆไป)   และผู้ร่วมกิจกรรมจัดการความรู้มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้น

บทบาทผู้อำนวยความสะดวกต่อ การจัดการความรู้
       นี่คือบทบาทที่บรรณารักษ์โดยทั่วไปคุ้นเคย   แต่เมื่อเข้าสู่ยุคจัดการความรู้  บทบาทนี้ไม่ควรเหมือนเดิม   แต่ควรให้บริการในลักษณะที่มีความจำเพาะต่อกลุ่มผู้จัดการความรู้ (tailor-made) มากขึ้น    ควรให้บริการในลักษณะ interactive มากขึ้น   รวมทั้งให้บริการในลักษณะ “เสนอแนะบริการเพิ่ม” มากขึ้น  ซึ่งหมายความว่า เป็นบริการเชิงรุกมากขึ้น

บทบาทผู้สร้างศาสตร์ หรือร่วมสร้างศาสตร์ว่าด้วยการจัดการความรู้ในสังคมไทย
       นี่คือบทบาทด้านการวิจัย   บรรณารักษ์หรือนักสารสนเทศสามารถแสดงบทบาทได้อย่างหลากหลายตามความรู้ความสามารถของตน

คำถาม
1.       ในยุค จัดการความรู้ เช่นนี้ หลักสูตรบรรณารักษศาสตร์ควรเป็นอย่างไร  ในระดับ ปริญญาตรี  โท  เอก
2.       หัวใจสำคัญของการเรียนรู้ในสาขานี้ควรเปลี่ยนไปอย่างไร

                                                                30 กค. 46

คำสำคัญ (Tags): #เครือข่าย#km#supply#-#side
หมายเลขบันทึก: 2346เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2005 20:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 14:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท