โครงการรางวัลบัณณารสสมโภช ตอนจบ


สคส. จะใช้ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนการจัดการความรู้ในวงการการศึกษาด้วย “ความสำเร็จ” โดยเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักเรียนและครูอาจารย์โดยตรง

ตอนจบ   การขับเคลื่อนขยายผลผ่านเวทีนวัตกรรมการเรียนรู้
            ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมนี้  ทำให้สามารถนำมาเชื่อมต่อกับงานที่รับผิดชอบได้เป็นอย่างดี  นั่นคือ  การขับเคลื่อน เวทีนวัตกรรมการเรียนรู้  :  วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ดีเด่น  ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ภายใต้โครงการบัณณารสสมโภช  ด้วยความเชื่อมั่นของ  สคส. ที่ว่า  การปฏิรูปการเรียนรู้ในโรงเรียนหรือวงการศึกษาของไทย  จำเป็นต้องมีการใช้ยุทธศาสตร์ที่หลากหลาย   ยุทธศาสตร์หนึ่งคือ การใช้เครื่องมือ  การจัดการความรู้  ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังอย่างสูงในการเปลี่ยนแปลงให้เกิดบุคคลเรียนรู้และองค์กรแห่งการเรียนรู้

                ในปี 2549  สคส.  จะดำเนินการขับเคลื่อนการจัดการความรู้ในวงการการศึกษา โดยเน้นการร่วมดำเนินงานกับภาคีที่หลากหลาย  เช่น คณะศึกษาศาสตร์ หรือครุศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ, โรงเรียนแกนนำที่เข้มแข็ง, เขตพื้นที่การศึกษาที่เข้มแข็ง, สมศ., สกศ., โครงการวิจัยหรือโครงการที่ดำเนินการเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโรงเรียน, เครือข่าย สสส., เครือข่าย สกว. เป็นต้น ซึ่งโครงการบัณณารสสมโภช  ที่ดำเนินการโดยคณะวิทยาศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เป็นอีกโครงการหนึ่งที่ สคส. จะร่วมมือเป็นพันธมิตรเพื่อขับเคลื่อนขยายผลในเรื่องนี้ต่อไป
                 สคส.  จะใช้ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนการจัดการความรู้ในวงการการศึกษาด้วย “ความสำเร็จ”   โดยเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักเรียนและครูอาจารย์โดยตรง  นำเรื่องนวัตกรรมการเรียนรู้ในการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์  และการบูรณาการกับสาระวิชาอื่นๆ  ในรูปแบบต่างๆ  ซึ่งนับว่าเป็น “ของดี” หรือทุนเดิมของแต่ละโรงเรียนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน (โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการบัณณารสสมโภช  มีมากถึง 400  แห่ง)  เพื่อขยายผลและต่อยอดความรู้ให้ขยายในวงกว้างมากขึ้น โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่อง (Storytelling)   การจดบันทึกเรื่องเล่า และขุมความรู้    และการขับเคลื่อนสู่ CoP หรือ Community of Practice เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายนวัตกรรมการเรียนรู้ทั่วทั้งประเทศ 

                สำหรับบทบาทของ สคส.  ในการดำเนินการขับเคลื่อนการจัดการความรู้ในวงการการศึกษาจะเน้นไปที่บทบาทของผู้ร่วมจัดและสนับสนุนด้านกระบวนการในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้, กระตุ้นผลักดันให้เกิด CoP  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งทำหน้าที่เชื่อมโยงภาคีเครือข่ายในระดับประเทศ 
                โดย  สคส.  จะต้องมีการพูดคุย, ทำความเข้าใจและหาแนวทางการทำงานร่วมกันเพื่อผลักดันให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างยั่งยืนต่อไป

หมายเลขบันทึก: 23392เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2006 15:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2014 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท