เล่า
คุณ ชุติมา อินทรประเสริฐ

หนังสือนานาเรื่องราวจัดการความรู้


เมื่อวันที่ 3 สค. 2548 อาจารย์หมอวิจารณ์ ได้เสนอข้อคิดเห็นเพื่อเป็นแนวทางในการเขียนเรื่องลงหนังสือ “นานาเรื่องราวจัดการความรู้” สำหรับงานมหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติ  ครั้งที่ 2 (1 – 2 ธ.ค.48) 
โดยเปิดรับความคิดเห็นเพิ่มเติม จนถึง 10 สิงหาคม 2548 (ซึ่งเป็นวันนี้)
จึงขอสรุปแนวทางฯ และข้อคิดเห็นที่เพิ่มเติม(1 ท่าน) ดังนี้
1.      เขียนให้เห็นภาพรวมของเรื่องนั้น
2.      มี “เรื่องเล่า” อย่างน้อย 1 เรื่อง
3.      เขียนให้เห็น “ตัวละครเด่น” ในเรื่อง,  หมายเลขโทรศัพท์ที่บ้าน,  มือถือ,  แฟกซ์, e-mail
         (ถ้ามี)   ของตัวละครเด่นให้ผู้อ่านที่สนใจไปดูหรือขอข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้สะดวก
4.       เขียนให้เห็น “ขุมความรู้” และ “แก่นความรู้” ของเรื่องนั้น   เห็นในระดับภาพรวมรวม     โดยอาจลง  รายละเอียดในบางขุมความรู้ที่เห็นว่ามีความแปลกใหม่คนมักนึกไม่ถึง
5.       ความยาวเรื่องละไม่เกิน 5 หน้ากระดาษ A 4 (ไม่รวมรูป)
6.       มีภาพประกอบตามความเหมาะสม
7.       ชี้ให้เห็นจุดเด่น   จุดด้อย   เมื่อวิเคราะห์จากมุม KM
8.       มีการเขียนสรุปท้ายบทในแต่ละเรื่อง เพื่อให้เห็นองค์ประกอบของเรื่องโดยรวมและ            ประเด็นของเรื่องทั้งหมด (เพิ่มเติม)
9.        มีการจัดหมวดเรื่องราวให้สอดคล้องกัน/ขัดแย้งกันชัดเจน ตามเรื่องราวก่อนและหลัง   หลัง      การเกิด KM พร้อมตัวอย่างเรื่องเล่าที่เห็นภาพในในเชิงปฏิบัติ (เพิ่มเติม)
10.      เรื่องนั้นมีประเด็นอะไร ให้น่าติดตามต่อ...(ขอเพิ่มเติมเองค่ะ)
         

         ทั้งนี้ทางทีมประชาสัมพันธ์ของเราก็จะรับไปดำเนินการต่อไป   ขอขอบคุณสำหรับข้อคิดเห็นเพิ่มเติมค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 2333เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2005 15:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ยากเหมือนกันนะที่จะเอารายละเอียดมากมายที่ล้วนมีสาระและอรรถรสในตัวเองของตัวละคนในวง KM ของแต่ละเรื่องมาบรรจุในพื้นที่ไม่เกิน 5 หน้ากระดาษ แต่ก็ขอรับดำเนินการต่อไปค่ะ   แล้วจะแจ้งความคืบหน้าให้ทราบเป็นระยะ ๆ

อ้อ! มีประเด็นหนึ่งอยากหารือคือ เนื้อหาของหนังสือนานาเรื่องราวการจัดการความรู้นี้ ควรได้รับการยินยอมพร้อมใจ(ยืนยันความถูกต้อง)จากเจ้าของเรื่องราวนั้น ๆ ด้วยค่ะ  เพราะนอกจากจะยืนยันในส่งที่เขา/พวกเขาทำแล้ว ยังเป็นการย้ำว่าพวกเขาจะต้องพร้อมรับกับสิ่งที่จะตามมาไม่ว่าจะเป็นการเข้ามาของคนกลุ่มต่าง ๆ ที่พวกเขาต้องไปบริหารจัดการภายหลัง

ตุ่ม

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท