ฟาร์มสาธิตปศุสัตว์อินทรีย์ปี๒๕๔๙-๒๕๕๐


ฟาร์มสาธิตปศุสัตว์อินทรีย์ ปี ๒๕๔๙ สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย ปราชญ์เกษตรของ สปก. นายถนอม จันทร์เงิน

ายถนอม จันทร์เงิน  นักกีฬา นักเกษตร

ที่อยู่เลขที่ ๑๑๘ หมู่ที่ ๑๓ บ้านเนินไทรพัฒนา ตำบลป่าซาง อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย ๕๗๒๑๐

โทรศัพท์ ๐๘๓-๓๒๒๖๐๒๕,๐๘๕-๖๒๗๖๖๘๖

ด้วยที่เป็นนักกีฬามาตั้งแต่เด็กนักเรียน จึงทำให้รักการออกกำลังกาย โดยเฉพาะการวิ่งเป็นกีฬาที่ลุงถนอมชอบมากเพราะไม่ต้องใช้อุปกรณ์ สนาม และสามารถเล่นได้ทุกที่เมื่อแต่งงานจึงชวนภรรยาและลูกๆให้ออกกำลังพร้อมกัน เป็นครอบครัวนักกีฬา แข่งชนะระดับตำบลอำเภอ จังหวัด ได้รับรางวัลมากมาย จนคู่แข่งไม่อยากลงแข่งขันด้วย

ช่วงเริ่มสร้างครอบครัวใหม่ ด้วยความยากจนจึงต้องขยันทำงานเก็บเงินเพื่อส่งเสียลูกเรียนให้สูงสุดเท่าที่จะทำได้ จนปัจจุบันลูกสองคนได้รับปริญญาตรีแล้วทั้งคู่มีงานทำเป็นหลักแหล่งแล้ว ลุงถนอมเริ่มออกงานรับใช้สังคมด้วยการเป็นอาสาสมัครของหน่วยงานต่างๆทั้งในและนอกกระทรวงเกษตร ด้วยความขยันอดทนและมีจิตใจมุ่งมั่นทำการเกษตรช่วงปี ๒๕๓๐ เกษตรกรภาคเหนือนิยมปลูกส้มเขียงหวาน ลุงถนอมก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก จนปัจจุบันส้มมีปัญหาและมีอายุมากจึงปรับมาปลูกยางพาราแทนโดยระหว่างแถวยางพาราก็ปลูกผักเพื่อเก็บเป็นอาหารและจำหน่ายเป็นรายได้เสริม

ลุงถนอมและภรรยาขยันขันแข็งอดทนมีความใจเย็น ไม่จ้างแรงงานมาทำนาจะค่อยๆทำไปด้วยแรงงานสองคนสามีภรรยา โดยเฉพาะภรรยาจะอดทนทำงานเอง บางเวลาที่ลุงถนอมไปออกช่วยเหลือเพื่อนบ้านสังคม การทำงานไม่รีบร้อนใช้เวลาอยู่ในแปลงทั้งวัน รู้จักใช้ทรัพยากรในพื้นที่อย่างคุ้มค่า เช่นนำฝรั่งที่แมลงเจาะ มาตำผสมรำข้าวให้ปลา ปลูกมันเทศขอบบ่อปลาตัดยอดให้ปลากินประจำเป็นอาหารเสริมลดต้นทุนไม่ต้องชื้ออาหารปลา

การเลี้ยงไก่พื้นเมืองแบบปศุสัตว์อินทรีย์

ปี ๒๕๔๙ ปศุสัตว์อำเภอได้เข้ามาเยี่ยมและส่งเสริมให้ลุงถนอมเพิ่มการเลี้ยงไก่พื้นเมืองแบบปลอดสารเคมี ในสวนส้มที่ปลดแล้ว เนื่องจากมีองค์ประกอบฟาร์มที่เหมาะสม ลุงถนอมเข้าอบรมความรู้ด้านปสุสัตว์อินทรีย์และตั้งเครือข่ายปศุสัตว์อินทรีย์ในอำเภอเวียงเชียงรุ้ง เมื่อมีความเข้าใจและได้เริ่มจากมีไก่ไม่ถึง ๒๐ ตัว ปฏิบัติการเลี้ยงไก่จนมีไก่เพิ่มเกือบ ๔๐๐ ตัวภายในหนึ่งปี  มีรายได้เสริมจากการเลี้ยงไก่ขายประมาณ ๕๐๐๐-๖๐๐๐บาทต่อรุ่น และได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายปศุสัตว์อินทรีย์ในเกษตรผสมผสานเป็นประจำ

องค์ความรู้

๑.เกษตรผสมผสาน

๒.การเลี้ยงสัตว์แบบปศุสัตว์อินทรีย์

๓.การทำน้ำหมักกำจัดโรคแมลงในสวนส้ม

ส่วนผสมน้ำหมัก

๑.ปูนขาว

๒.มูลสุกร(ถ้าเป็นมูลสุกรขุนจะดีมาก)

๓.น้ำ

วิธีทำ

ผสมมูลสุกรกับปูนขาวให้เข้ากันใส่ในถังทิ้งไว้อย่างน้อย ๑ คืน

การนำไปใช้

น้ำหมัก ๒๐ ซีซี (๒ซ้อนแกง) ต่อน้ำ ๒๐ ลิตร ฉีดพ่นทางใบหรือรดโคนต้น สามารถใช้อัตราที่เข้มข้นขึ้น ฉีดพ่นทุก ๗ วันเพื่อป้องกันหรือกำจัดโรคแผลสะเก็ดในส้ม โรคโคนเน่า ใบหงิก

ลดต้นทุนการทำนา

พื้นที่ ๑๐ไร่ ลุงถนอมและภรรยาใช้แรงงานเพียงสองคนในการทำนา ใช้การจัดการให้ได้ข้าวพอกิน เหลือจึงแบ่งขายได้  โดยหน้าแล้ง(เดือนมีนาคม) ใส่ปุ๋ยหมักที่มีส่วนผสมของแกลบ มูลสัตว์ ปูนขาว หมักไว้ข้ามปี เมื่อมีสีน้ำตาลหรือดำจึงนำมาใช้ ในอัตรา ๑๐ กระสอบต่อไร่ รอกระทั่งฝนตกปล่อยให้หญ้าขึ้นแล้วไถกลบเพื่อใช้หญ้าเป็นปุ๋ยพืชสดและลดปริมาณหญ้าในระหว่างเพาะปลูกได้  หว่านกล้า ๑ งาน ใช้เมล็ดพันธุ์ ๓ ถัง เมื่อกล้าอายุได้ ๑๕-๒๐ วัน ถอนแช่น้ำไว้ชุดละประมาณ ๒๐ ต้น เรียกว่าการสิมกล้า เพื่อเร่งให้กล้าแตกกอดีและเป็นการยืดอายุกล้าในกรณีแรงงานจำกัด ดำนากอละ ๕ ต้น ปล่อยน้ำให้เข้านาสูง ประมาณ ๑ คืบ

กำจัดหอยเชอรี่ ใช้ใบมะละกอ ๓ ใบ วางตามหัวมุมคันนาในตอนเย็นเพื่อล่อให้หอยเชอรี่มากิน ตอนเช้าจึงเก็บหอยไปทุบทำน้ำหมัก

โรคหนอนชอนใบและหนอนกอ ปูนขาวในปุ๋ยหมักช่วยลดการเกิดหนอนได้

เวลาข้าวตั้งท้อง ใช้น้ำหมักหอยเชอรี่ จำนวน ๕ ลิตร เทบริเวณต้นน้ำแล้วปล่อยเข้าแปลงนา เปิดน้ำให้ระบายทั่วแปลงน้ำหมักจะได้ไปเลี้ยงบำรุงต้นข้าวได้ทั่วถึง ทำให้ข้าวออกรวงมากได้น้ำหนักดี การเก็บเกี่ยว เมื่อข้าวหางเหลืองหรือสังเกตุเปลือกเมล็ดข้าวใสใช้ไม้ข่มตอข้าวให้ลู่ลงเพื่อให้ข้าวลู่ไปทางเดียวกันเกี่ยวข้าวเมื่อข้าวแก่เต็มที่จะได้ข้าวเปลือกแห้ง สามารถเก็บในยุ้งได้นานโดยไม่ต้องตากหรืออบอีก

ฟางข้าวมัดเป็นฟ่อนทำไม้ล้อมมุมบ่อปลาเทผสมขี้วัวด้านบน ประมาณ ๑ เดือนจะย่อยสลายเกิดไรแดงเป็นอาหารเลี้ยงปลา   ตอซังข้าวปล่อยให้วัว ควายลงกิน ทั้งหน่อลูกข้าวพร้อมกับย่ำตอชังข้าว มีมูลวัวถ่ายลงเป็นปุ๋ยในนาด้วย

หมายเลขบันทึก: 233171เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2009 13:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 10:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ขอบคุณครับที่แวะไปทักทาย
  • สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๒

     สวัสดีปีใหม่ ขอให้โชคคี มีความสุข ตลอดปี ๒๕๕๒ ...คำพอง สมศรีสุข

ขอบคุณเช่นกันครับคุณคำพองที่แวะมาครับ

สัวสดีปีใหม่ 2553

คุณลุงถนอม มีข้อสงสัยจะถามค่ะ

สูตรฮอร์โมนเร่งรากเร่งหัวทำอย่างไรทั้งใหญ่ทั้งดก นี้เป็นสูตรของถุงหรือเปล่า มีคนบอกว่าเป็นสูตรของลุง

หนูไม่เข้าใจขั้นตอนการหมักข้อ 3 ว่าควรมักไว้กี่วันจึงจะใช้แช่มันสัมปะหลังได้ และให้หมั่นเติมกากน้ำตาลในปริมาณเท่าไหร่ในการเติมแต่ละครั้ง แล้วถ้าลืมเปิดระบายอากาศทุก 3 วันจะทำให้ฮอร์โมนเสียหรือเปล่า

วัสดุ / ส่วนผสม

1. น้ำหมักชีวภาพ 1 ลิตร

2. กากน้ำตาล 1 ลิตร

3. น้ำกะทิมะพร้าว ½ ลิตร

4. นมเปรี้ยว ½ ลิตร

5. ไข่เป็ดต้ม 5 ฟอง

6. ถังหมักขนาด 5 ลิตร (มีฝาปิดได้)

ขั้นตอนวิธีทำ

1. นำวัสดุทั้งหมดมาผสมในกะละมังแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน

2. เทใส่ถังหมักที่สะอาดแล้วปิดฝาให้แน่น

3.เก็บถังหมักไว้ในที่ร่ม ไม่ควรให้ถังหมักถูกแสงแดดและถูกฝน

วิธีใช้

1. ส่วนผสมน้ำฮอร์โมน 1 ส่วน ผสมน้ำเปล่า 100 ส่วน

2. นำน้ำฮอร์โมนที่ผสมน้ำเจือจางแล้วไปจุ่มโคนกิ่งพันธุ์ที่จะใช้ตอนหรือปักชำ ให้เปียกชุ่มในส่วนที่จะงอกราก

3. พืชประเภทมัน เช่น มันเทศ มันสำปะหลัง ให้ราดหรือจุ่ม หรือราดน้ำชีวภาพบริเวณโคนต้นตอที่จะปักในดินให้เปียกโชกแล้วปล่อยทิ้งไว้อย่างน้อย 6 ชั่วโมง จึงนำไปปักชำลงในแปลง จะทำให้พืชประเภทมันออกรากมากและมีหัวดก

4. พืชประเภทขยายพันธุ์ด้วยหัว เช่น เผือก โชน บอน และมันบางประเภท ให้นำหัวของพืชมาแช่ในน้ำฮอร์โมนที่ผสมแล้ว ทิ้งไว้ 2 ชั่วโมง แล้วจึงนำไปปลูกจะทำให้หัวแตกตันเร็วกว่าปกติ

5. เมล็ดพันธุ์พืชก่อนที่จะนำไปปลูกหรือเพาะในแปลงปลูก ให้แช่น้ำฮอร์โมนเจือจางประมาณ 6 ชั่วโมง จะทำให้เมล็ดงอกเร็วและป้องกันแมลงกินเมล็ดพืช เช่น มะเขือ มะพร้าว แตง ถั่ว เป็นต้น

การเก็บรักษา

1. เก็บไว้ในที่ร่ม ไม่ให้ถูกแสงแดดและถูกฝน เก็บไว้ได้ประมาณ 1 เดือน

2. เก็บไว้ในตู้เย็น เป็นการน็อคเชื้อไม่ให้ตาย เก็บได้นาน 6 เดือน

3. ต้องหมั่นเติมกากน้ำตาลบ่อย ๆ อย่างน้อย 10 วัน / ครั้ง

4. อย่าเปิดฝาภาชนะบ่อยหรือเปิดทิ้งไว้นาน จะทำให้เสื่อมสภาพเร็ว

5. ถ้าไม่ได้นำฮอร์โมนมาใช้ต้องเปิดฝาระบายอากาศทุก ๆ 3 วัน ครั้งละ 1 นาที แล้วปิดฝาให้แน่นเหมือนเดิม

6. ปริมาณการผลิตสามารถเพิ่มหรือลดปริมาณได้ตามอัตราส่วนที่กำหนด

ไม่ใช่สูตรลุงถนอมครับ

อ่านดูแล้วคล้ายๆฮอร์โมนไข่ของโรงเรียนชาวนานะ แต่ส่วนผสมไม่เหมือนกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท