แนวทางการบูรณาการกองทุน (พช.ตำบลกะหรอ)


   วันที่ 7 เมษายน 2549 ทีมวิจัย ม.วลัยลักษณ์ และหน่วยจัดการความรู้ คุณจิรา และ คุณหทัย ได้เข้าร่วมประชุมสังเกตการณ์ การบูรณาการกองทุนต.กะหรอ สำหรับการประชุมในวันนี้ก็ได้ขอใช้ห้องประชุมของที่ทำการ อบต. ตำบลกะหรอ  ซึ่งจัดโดย พช.กิ่งอำเภอนบพิตำ นำโดย คุณประมวล วรานุศฺษฏ์ (พัฒนาการกิ่งอำเภอนบพิตำ) พี่วันดี และพี่ต้อย สำหรับผู้ที่เข้าร่วมประชุมในวันนี้ประกอบไปด้วย ตัวแทนทั้ง 9 หมู่บ้าน

   สำหรับประเด็นการพูดคุยในวันนี้ ก็เป็นเรื่องการบูรณาการกองทุน สืบเนื่องจากการประชุมในครั้งที่แล้ว คุณประมวล ให้แต่ละหมู่บ้านกลับไปมองกองทุนของตนเอง  เริ่มตั้งแต่การก่อตั้ง ประวัติความเป็นมา มีสมาชิกและกรรมการกี่คน สถานะการเงินเป็นอย่างไร มีสวัสดิการอะไรบ้าง

   การประชุมในวันนี้ก็จะเป็นการเน้นการบูรณาการกองทุน สำหรับในตำบลกะหรอ ก็มีกลุ่มองค์กรการเงินอยู่หลายกลุ่ม ซึ่งตอนนี้ที่เห็นได้ชัด ก็คือ กองทุนหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์ ธนาคารหมู่บ้าน และกลุ่มอาชีพเสริม โดยแนวทางการบูรณาการ คุณประมวล ได้เสนอให้กับชุมชนดังนี้คือ

  ให้แต่ละกลุ่มองค์การเงินในตำบลกะหรอ ไปจัดตั้งคณะกรรมการบริหารให้เป็นเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต หรือกลุ่มธนาคารหมู่บ้าน ซึ่งตอนนี้ก็มีอยู่กลุ่มเดียวที่มีเครือข่าย ก็คือ เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านตำบลกะหรอ  และให้แต่ละกลุ่มจัดทำข้อมูลให้ชัดเจน เป็นปัจจุบัน

  หลังจากนั้นก็จะจัดตั้งเป็นเครือข่ายการบริหารระดับตำบลซึ่งจะครอบคลุมกลุ่มองค์กรทั้งหมดในตำบลกะหรอ  ซึ่งในเครือข่ายนี้ก็จะประกอบไปด้วย  กรรมการจากเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน เครือข่ายกองทุนออมทรัพย์เพื่อการผลิต เครือข่ายธนาคารหมู่บ้าน เครือข่ายกลุ่มแม่บ้าน ฯลฯ

   เมื่อจัดตั้งเครือข่ายได้แล้ว ก็จะมีการประชุมประจำเดือน จะมีตัวแทนจากแต่ละเครือข่ายมาร่วมประชุม เพื่อหาแนวทางการบริหารจัดการ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ รวมถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่แต่ละกลุ่มได้เจอ  เพื่อที่จะนำไปพัฒนากลุ่มของตนเองให้ดีขึ้น

   นอกจากนี้ คุณประมวล ก็ยังได้เสนอให้มีการอบรมในเรื่องบทบาทหน้าที่ของกรรมการกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ในตำบลกะหรอ  คนที่ทำงานอยู่ในตำแหน่งประธาน ได้รู้บทบาทหน้าที่ของตัวเองหรือยัง รวมถึง เลขานุการ และเหรัญญิกด้วย จะเชิญแต่ละกลุ่มมาคุยกัน ว่าบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละตำแหน่งประกอบไปด้วยเรื่องอะไรบ้าง

  ซึ่งแนวทางที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะเป็นจริงได้มากน้อยแค่ไหน ก็ต้องขึ้นอยู่กับความร่วมมือของกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ในตำบลกะหรอ ทีมวิจัย ม.วลัยลักษณ์ ก็ขอเป็นกำลังใจให้ในทก ๆ เรื่องนะค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 23226เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2006 11:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 21:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แนวทางของพช.กับเป้าหมายของเครือข่ายกองทุนที่จะจัดตั้งสถาบันการเงินระดับตำบลค่อนข้างตรงกัน เครือข่ายแต่ละสกุล(กองทุน ออมทรัพย์ แม่บ้าน)จะรวมกันก่อนอย่างไร ก็เป็นเรื่องยาก ดังที่เครือข่ายกองทุนรวมกันได้ในระดับหนึ่ง การรวมข้ามสกุลเริ่มจากเครือข่ายเรียนรู้(แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานระหว่างกัน)ไปจนถึงเครือข่ายจัดการซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญที่เคยตั้งเป้าไว้ว่าจะบริหารเงินที่เหลือภายในกันเอง

ที่จริงเครือข่ายกองทุนมีศักยภาพที่จะทำเรื่องนี้ได้มากที่สุด ถ้าพี่ประมวลตั้งเป้าไว้ถือเป็นเรื่องดี จะได้ร่วมกันคิดร่วมกันทำอย่างเป็นขั้นตอนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยพยายามให้อบต.ธกส.และออมสินเข้ามามีส่วนร่วมด้วยเพื่อของบสนับสนุนการทำงานอย่างต่อเนื่องต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท