เรื่องเล่า จาก


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการจัดทำโครงการนี้ ได้แก่ งานบริการทางพยาธิวิทยาจะมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ด้วยการพัฒนาอย่างเป็นระบบ บุคลากรเกิดความพึงพอใจในการได้รับการพัฒนาอย่างเท่าเทียม และเกิดการบูรณาการกระบวนการจัดการความรู้และการพัฒนางานประจำ
KM concept สู่ Patho-Otop
รศ. พญ. ปารมี  ทองสุกใส
ภาควิชาพยาธิวิทยาได้จัดกิจกรรมพัฒนางานขึ้นภายใต้ชื่อว่า พยาธิ 1 ทีม 1 โครงการ หรือ Patho-Otop ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินโครงการ มิย-ธค 2548 นี้  ขอเล่าให้ฟังว่าโครงการนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร และไปเกี่ยวข้องกับ KM ได้อย่างไร
ภาควิชาพยาธิวิทยาได้ตั้งเป้าประสงค์ในด้านการบริการของภาควิชาว่า “ให้บริการที่มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ“ โดยมีเป้าหมายที่สำคัญประการหนึ่งในระยะสั้นนี้คือ จะนำห้องปฏิบัติการเข้าสู่การรับรองมาตรฐาน ISO15189” ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับสากลสำหรับห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ที่เป็นที่ยอมรับในระดับโลก
            เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ในการดำเนินงานเพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย ปัจจัยสำคัญคือ “คน” ที่สำคัญคือหมายถึงคนทุกทุกคนในองค์กรในทุกระดับ ทุกตำแหน่ง ที่ร่วมแรงร่วมใจเดินไปในทิศทางเดียวกัน องค์กรนั้นจึงจะไปถึงดวงดาวที่วาดฝันไว้
ภาควิชาพยาธิวิทยาถือได้ว่าหน่วยงานขนาดใหญ่ มีบุคลากรทั้งสิ้นเกือบ 200 คน เป็นระดับหัวหน้าหน่วย/งาน 25 คน ที่เหลือเป็นระดับปฏิบัติถึง 168 คน ดังนั้นคนกลุ่มหลังนี้ จึงเป็นประชากรส่วนใหญ่ของภาควิชา ดังนั้นในการขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย บุคลากรระดับปฏิบัติการจึงเป็นกลไกสำคัญยิ่งของภาควิชา  เนื่องจากระดับหัวหน้าหน่วย/งาน มีโอกาสได้รับการส่งเสริมจากคณะในการจัดโครงการพัฒนางาน ดังนั้น ภาควิชาจึงเห็นความจำเป็นที่บุคลากรที่เหลือควรได้รับการพัฒนาให้สามารถพัฒนางานของตนได้เช่นกัน 
ในการพัฒนางานแบบเดิม ซึ่งอาจเป็นการปรับปรุงตามการมอบหมายของหัวหน้างาน หรือ บุคคลปรับปรุงงานในความรับผิดชอบด้วยตนเอง หรือ  กลุ่มย่อยๆ ในหน่วยงานปรับปรุงงานเป็นจุดๆ นั้น เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลน้อย  เนื่องจากการมีส่วนร่วมน้อย  ศักยภาพบุคคลที่มีอยู่ไม่ถูกนำมาใช้ รวมทั้งการพัฒนาไม่เป็นเอกภาพ ขับเคลื่อนสู่เป้าหมายขององค์กรได้ช้า
จากกระแสการจัดการความรู้ซึ่งคือการนำความรู้มาใช้ประโยชน์ โดยการเสาะหา สร้างสรรค์ กลั่นกรอง แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนางานของตนหรือของกลุ่ม และมีหลักการสำคัญคือ การมีเป้าหมายร่วมกัน, การใช้คนหลากหลายทักษะ หลากหลายวิธีคิด, การใช้ความรู้ฝังลึก (tacit knowledge) & และความรู้ที่ชัดแจ้ง, การทดลอง และเรียนรู้ รูปแบบใหม่ๆ และที่สำคัญมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งในกลุ่ม และข้ามกลุ่ม หลักการสำคัญเหล่านี้ เชื่อว่าจะทำให้การเรียนรู้มีพลังยิ่ง

จากการที่เป้าหมายของการจัดการความรู้คือการพัฒนางานของกลุ่ม/ตน จึงนำหลักการสำคัญดังกล่าวข้างต้น มาออกแบบการจัดทำโครงการ Patho-Otop   โดยมีกรอบแนวคิดโครงการคือ ให้มีการพัฒนางานเป็นทีม โดยเน้นกระบวนการกลุ่มของระดับผู้ปฏิบัติงาน แต่ละกลุ่มมีพี่เลี้ยง (facilitator) ซึ่งคือหัวหน้า หรือผู้มีประสบการณในหน่วย และมีผู้มีประสบการณ์จากต่างหน่วย เพื่อให้เกิดความหลากหลายทางความคิด และถือเป็นแหล่งความรู้ภายนอกได้ทางหนึ่ง และจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มโดยการนำเสนอ ทั้งในช่วงต้นเพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดในการจัดทำโครงการ และในช่วงปลายคือการแลกเปลี่ยนผลการดำเนินโครงการ  นอกจากนี้ ในการจัดทำโครงการพัฒนางานของกลุ่มนั้น เน้น.การพัฒนาโดยมีจุดเริ่มจากการทบทวนตนเอง เพื่อหาโอกาสพัฒนา และดำเนินการพัฒนาตามกระบวนการ P D C A

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการจัดทำโครงการนี้ ได้แก่ งานบริการทางพยาธิวิทยาจะมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ด้วยการพัฒนาอย่างเป็นระบบ  บุคลากรเกิดความพึงพอใจในการได้รับการพัฒนาอย่างเท่าเทียม และเกิดการบูรณาการกระบวนการจัดการความรู้และการพัฒนางานประจำ

 ที่จริงมี PowerPoint ที่จะมีพลังมาก   บอกความคิดของ ."ยอดคุณเอื้อ" ได้มาก   เรากำลังหาวิธี post อยู่ครับ

วิจารณ์ พานิช

๑๖ มิ.ย. ๔๘

หมายเลขบันทึก: 232เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2005 21:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท