กำเนิด NUKM Blog (ตอน1)


ดิฉันได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยนเรศวรในการนำเสนอ เรื่อง ชุมชน : คนเขียน Blog ภายในเงื่อนเวลา 11.10 - 11.30 น. (20 นาที) และภายในกรอบประเด็นนำเสนอ ตามหัวข้อ ดังนี้

วันพฤหัสบดีที่ 6  ถึงวันเสาร์ที่ 8 เมษายน 49 ดิฉันได้ร่วมขบวน NUKM Team ไปเสวนาสมาชิกเครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย : UKM ครั้งที่ 2/2549  ณ โรงแรมลีการ์เดนส์ พลาซ่า อ.หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา  คณะของเรามีทั้งหมด 10 คน นำทีมโดยท่านรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ : ผศ.ดร.วิบูลย์  วัฒนาธร  ตามขบวนด้วย ตัวดิฉันเอง(คณะสหเวชฯ) รศ.เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย (คณะศึกษาฯ)  อาจารย์สมลักษณ์ วงศ์สมาโนดน์ (คณะวิทย์ฯ) อาจารย์ ดร.รุจโรจน์  แก้วอุไร (สำนักหอสมุด) คุณอนุวัทย์  เรืองจันทร์ (คณะสหเวชฯ)  คุณวันเพ็ญ  ตันจันทร์กูล (สำนักหอสมุดฯ)  คุณมาดา  ชยทัตโต (ศูนย์ CITCOM)  คุณเจนจิต  รังคะอุไร  และคุณรัตน์ทวี  อ่อนดีกุล (หน่วยประกันฯ)

ตามกำหนดการ วันที่ 7 เม.ย. ดิฉันได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยนเรศวรในการนำเสนอ เรื่อง ชุมชน : คนเขียน Blog ภายในเงื่อนเวลา 11.10 - 11.30 น. (20 นาที) และภายในกรอบประเด็นนำเสนอ ตามหัวข้อ ดังนี้

  1. ชื่อชุมขน............มหาวิทยาลัย................
  2. ชื่อ Facilitator...........
  3. จำนวนสมาชิกใน Cop........
  4. Website ของ Cop (ถ้ามี).............
  5. พัฒนาการ การก่อเกิดของกลุ่ม.........
  6. Core Business / Core Value / Key success..............
  7. ความสัมพันธ์ของสมาชิก.........
  8. ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับภายนอก................
  9. ความยั่งยืนของกลุ่ม...........
  10. ระบบการจัดการความรู้......................

ดิฉันอยากเล่าให้ชาว Office ที่ไม่มีโอกาสไปร่วมเสวนาได้ฟังด้วย ไหนๆ ก็อุตสาห์ทำ slide ไว้แล้ว และเพื่อสนองความอยากเล่าของตัวดิฉันเอง เพราะเวลาเพียง 20 นาทีในวันนั้น บีบคั้นจนดิฉันเล่าเป็นรถไฟด่วน จึงขอบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ ณ ที่นี้อีกที จะได้มีหลักฐาน....

ดิฉันเล่าว่า......

ชุมชนที่ดิฉันขอนำเสนอในวันนี้  ชื่อว่า ชุมชน  " คนเขียน Blog "  มหาวิทยาลัย นเรศวร    Facilitator หรือผู้บริหารชุมชนแรกเริ่มคือ ตัวดิฉันเอง มาลินี ธนารุณ แต่ในปัจจุบัน ผู้บริหารที่แท้จริงคือ ท่านรองฯ  วิบูลย์  วัฒนาธร  Website ของ Cop คือ http://www.gotoknow.org/nuqakm  สมาชิกใน Cop ณ วันที่ 5 เม.ย. 49= 154 blog

การก่อเกิดและการพัฒนาการของกลุ่ม

ต้องเล่าท้าวความตั้งแต่ ดิฉันได้รู้จักกับ KM ก่อน ซึ่งเป็นวันที่ทุกท่านจำได้ดีเช่นกัน ช่วงวันดังกล่าวตรงกับวันที่เกิดภัยพิบัติครั้งใหญ่ "คลื่นสึนามิ ถล่มภาคใต้ " 24 - 26 ธ.ค. 47  ดิฉันรู้จักกับ KM ในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ  เรื่อง เครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย” ครั้งที่ 1  ณ ศูนย์ฝึกอบรมบ้านผู้หว่าน  อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ซึ่งจัดโดย สคส. (สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม) คำว่า Cop หรือชุมชนแนวปฏิบัติ และอีกหลายคำที่ทำให้ดิฉันเข้าใจ KM บ้าง แต่ไม่รู้ว่าจะทำยังงัยกับ KM ดี  ความงุนงงสงสัยกรุ่นอยู่ในความคิดคำนึงของดิฉันนับแต่นั้น....

เป็นโชคดีหรือโชคร้ายก็ไม่ทราบ เดือนมกราคม 48 ถัดมา ดิฉันหลวมตัวเข้ามารับภารกิจอันหนักหน่วงในตำแหน่งผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยนเรศวร  และนี่เป็นเหตุให้ดิฉันต้องคิดให้ออกว่า จะเดินหน้า QA และ KM ใน มน. อย่างไร?  จะทำให้เกิด Cop ได้อย่างไร?

ดิฉันโชคดี ที่มีผู้บังคับบัญชาที่มีวิสัยทัศน์เป็นเลิศอย่างท่านรองอธิการบดีวิบูลย์ วัฒนาธร เป็นผู้ชี้นำ  การทำความรู้จักกับ KM อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น จึงได้บังเกิดขึ้นอีกครั้งในวันที่  11  กุมภาพันธ์  2548  หน่วยประกันฯ ได้จัดการบรรยาย เรื่อง การจัดการความรู้  โดยเรียนเชิญ ดร.ประพนธ์  ผาสุขยืด  ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการสื่อสารพัฒนาการเรียนรู้ แห่ง สคส. มาปูพื้นให้กับพวกเรา 

เหมือนว่าจะเข้าใจเสียจริงๆ นะค่ะ   แต่...จะทำให้ Cop เกิดได้อย่างไร ? 

เหมือนตั้งท้องใกล้คลอด  แต่ไม่ยอมคลอดเสียที...... สงสัยเด็กคนนี้หัวโต เพราะคิดมาก...

 

     

   

หมายเลขบันทึก: 23186เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2006 20:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • ขอขอบคุณอาจารย์มาลินี...
  • เรื่องดีๆ มีประวัติพัฒนาการแบบนี้ เรียนเสนอให้ทำเป็นชุดบทความ (series)
  • เรื่องบทความนี่...อาจารย์ "มนุษย์ผึ้ง" ท่านแนะนำให้ทำลิ้งค์ (linkage)
  • ไม่ทราบทำอย่างไร เข้าใจว่า คงจะหมายถึงให้ผู้อ่านติดตามเรื่องจากตอนที่ 1,2,3,... ได้จนจบคล้ายละครทีวี. (soap opera / sopra)
  • เชื่อมั่นว่า มีคนรออ่านตอนต่อไปอยู่ครับ
  • กำลังคิดอยู่ว่าเรื่องดีๆ ที่ อาจารย์เล่าทำอย่างไรจะได้บันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ เป็นความรู้ และการก่อกำเนิด ความเป็นมาเป็นไป เรื่องนี้คงไม่มีใครเล่าได้ดีเท่าอาจารย์ครับ ต้องขอขอบคุณอาจารย์ที่ทำให้ความฝันนั้นเป็นจริงผ่านเรื่องเล่าผ่านบล็อกครับ

ดิฉันรู้ตัวดีว่า การสื่อสารโดยใช้ "ภาษาพูด" ของดิฉัน ยังต้องพัฒนาอีกมาก  (เสียแรงที่เป็นครูบาอาจารย์มานาน) การสื่อสารด้วย "ภาษาเขียน" อาจช่วยดูดสิ่งที่ฝังลึกอยู่ในตัวดิฉันให้ออกมาได้มากขึ้น  เพราะดิฉันคิดช้า การเขียนที่ต้องใช้เวลา เหมาะกับอัตราเร็วในการคิดของดิฉัน  ดิฉันชอบที่จะคิดไปเขียนไป  (พิมพ์ไป  แก้ไป) น้องๆ หลายคนจึงว่าเอาว่า ชอบทำเองไปเสียทุกอย่าง  หรือเจ้านายก็มักจะบ่นว่า กลัวคนอื่นทำไม่ได้อย่างใจหรือไง  ข้อเสียนี้ ดิฉันจะพยายามแก้ไข  และแก้ไข ต่อไปค่ะ  ขอกำลังใจจากทุกๆ ท่านด้วยนะค่ะ   

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท