กฎหมายลิขสิทธิ์ : การแปลสำนวน สุภาษิต จากภาษาหนึ่งไปอีกภาษาหนึ่ง


สำนวน สุภาษิต นั้น ปกติเป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่รู้เป็นการทั่วไป และไม่อาจสืบสาวทราบได้ว่า ใครเป็นผู้สร้างสรรค์ ดังนั้น โดยสภาพจึงเป็นไม่อาจมีบุคคลอ้างลิขสิทธิ์ในสำนวนหรือสุภาษิตนั้นได้

เมื่อสำนวน สุภาษิต ไม่มีลิขสิทธิ์ การแปลจากภาษาหนึ่งไปอีกภาษาหนึ่งโดยหลักจึงไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

 

รศ.ดร.มานิตย์ จุมปา แห่งคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า

"... หากสำนวน หรือสุภาษิตนั้น เป็นสิ่งที่บุคคลใดเพิ่งสร้างสำนวนหรือสุภาษิตนั้นขึ้นเป็นการเฉพาะ บุคคลนั้นย่อมมีลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์นั้น การแปลสำนวน สุภาษิต ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์เสียก่อน..."

สรุปสั้น ๆ ว่า โดยธรรมชาติของสำนวน สุภาษิต ไม่อาจมีบุคคลใดอ้างลิขสิทธิ์ได้ แต่ถ้ามีบุคคลใดคิดสำนวน หรือสุภาษิตใหม่ ๆ ในปัจจุบันกาล บุคคลนั้นย่อมเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ครับ

 

 

..................................................................................................................................... 

บันทึกที่เกี่ยวข้อง

ภายในสมุดบันทึก ชื่อ "เทคโนโลยีการศึกษา..เท่าหางอึ่ง"

บันทึกของบล็อกเกอร์ท่านอื่น

 

....................................................................................................................................... 

แหล่งอ้างอิง

มานิตย์ จุมปา.  เขียนผลงานวิชาการอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์.  กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537.  http://www.thnic.co.th/docs/copyright-law.pdf (23 ธันวาคม 2551).

 

หมายเลขบันทึก: 231419เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2008 15:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ คุณว่าจะสวัสดี

จะปีใหม่แล้ว ขอให้มีความสุขสุขภาพแข็งแรงทั้งครอบครัวน่ะค่ะ

คิดอะไรในทางทีดีก็ขอให้สมปรารถนาค่ะ อาโด อาโด

ขอบคุณครับ คุณ  ใยมด  ... :) ... "วสวัตดีมาร" น่ะครับ อิ อิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท