การประเมินผลแนวใหม่


การประเมินผลเพื่อเพิ่มพลังอำนาจ
การประเมินผลเพื่อสร้างเสริมพลังอำนาจ :  ทางออกที่ท้าทาย
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)  และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  ได้จัดการประชุมเรื่อง  “องค์ความรู้ด้านการประเมินผลแนวใหม่กับการขับเคลื่อนเครือข่ายประเมินผลเพื่อการพัฒนา  ณ  โรงแรม ทีเค. พาเลซ  ถ.แจ้งวัฒนะ  กรุงเทพ  เมื่อวันที่  29  มีนาคม  2549   
รศ.นพ. อำนาจ  ศรีรัตนบัลล์  ผู้ทรงคุณวุฒิ สสส.  ได้กล่าวถึงการประเมินว่า  1)  มีการปรับมุมมองโดยให้เป็นมุมของผู้ถูกประเมิน  โดยผู้ดำเนินการเป็นผู้ประเมินเอง  และให้ผู้ประเมินเป็นคนทำหน้าที่ Facilitator   2)  วัตถุประสงค์ของการประเมินมุ่งการปรับปรุงโครงการ  3)  การประเมินควรทำเป็น Collaborative  Activity  และทำโดยกลุ่ม  และ 4)  การสะท้อนกลับ (Reflection)  เพื่อเป็นการประเมินผลแล้วนำมาคิด  และก่อให้เกิดองค์องค์ความรู้ใหม่
รศ.ดร.ธีรเดช  ฉายอรุณ  คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์  ม.มหิดล  ได้กล่าวว่า การประเมินผลมีผลต่อการพัฒนาและการยกระดับคุณค่าการทำงานของสังคม  โดยมองว่าในรูปแบบเดิมการประเมินผลเป็นการวัด  การตัดสิน  การให้ลำดับคะแนน และการใช้ประโยชน์  แต่การประเมินในยุคนี้เป็นการประเมินเพื่อสร้างความรู้  สังเคราะห์ความรู้   การสร้างชุมชนหรือกลุ่ม  การสร้างทฤษฎีในรูปแบบ Action  Theory    การพัฒนาศักยภาพ และสร้างพลังอำนาจบุคคล และความรับผิดชอบทางสังคม   นอกจากนี้ในการประเมินผลต้องนำศาสตร์อื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง  โดยมองว่าการประเมินเป็นเครื่องมือให้กับศาสตร์อื่นๆ  เช่น  เศรษฐศาสตร์  ธุรกิจ 
อ.อรทัย  อาจอ่ำ  สถาบันวิจัยประชากรและสังคม  มหาวิทยาลัยมหิดล  ได้กล่าวถึง  การประเมินผลที่สามารถนำไปใช้ในการประเมินโครงการ  คือ 
Empowerment  Evaluation   เป็นการประเมินผลที่มุ่งเน้นการประเมินแผนงาน (Program) เป็นหลัก  และสามารถประยุกต์ใช้กับบริบทต่าง ๆ  เช่น ระดับปัจเจก  องค์กร และชุมชน  ซึ่งเป็นการประเมินที่ทำให้ผู้ถูกประเมินสามารถช่วยเหลือตนเองได้  อันนำไปสู่การปรับปรุงแผนงานที่ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง  ซึ่งเรียกว่า  “การประเมินตนเองและการสะท้อนกลับ”   โดยเป็นการประเมินที่ใช้หลัก  1) การมีส่วนร่วม   2) สร้างบรรยากาศที่อิสระของผู้ถูกประเมิน  3)  เน้นกระบวนการประชาธิปไตย  คอยฟังซึ่งกันและกัน 4)  เน้นกระบวนการที่เกิดขึ้นและต่อเนื่อง  5)  ตรวจสอบให้เกิดความสมดุลโดยการตรวจโดยตัวเองและผู้เอง  6) ยอมรับว่าบริบทสามารถเปลี่ยนแปลงเสมอ  7)  เน้นความจริงและความซื่อสัตย์  8) มีการปรับปรุงการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  9)  เน้นกระบวนการว่ามีความสำคัญพอกันกับผลลัพธ์  10)  เน้นความเปลี่ยนแปลงในตัวคน  และ11)  ผู้ประเมินภายนอกควรมีลักษณะเป็นกัลยาณมิตร    โดยมีขั้นตอนการประเมินดังนี้
1.      การกำหนดผลที่ต้องการ
2.      การทดทวนสิ่งที่ทำโดยการจัดลำดับความสำคัญ หรือการให้คะแนน
3.      การวางแผนโดยอาศัยพื้นฐานทางด้านยุทธศาสตร์
4.      มีตัวชี้วัด
5.      การขยายผลและการเชื่อมโยงกัน
สำหรับเกณฑ์มาตรฐานของการประเมินแบบ EE  ได้แก่
1.      ด้านอรรถประโยชน์ (Utility)
2.      ด้านความเป็นไปได้ / สามารถปฏิบัติได้ (Feasibility)
3.      ด้านความเหมาะสม (Property)
4.      ด้านความถูกต้องแม่นยำ  หรือความเที่ยงตรง(Accuracy)
*************************

บันทึกโดย   พรพิมล    ยุตติโกมิตร์

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 23141เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2006 13:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 10:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
-ขจิต ฝอยทอง( khajit's blog)
  • น่าสนใจดีครับ
  • ขอบคุณที่เชิญเข้าร่วมชุมชนครับ
  • อ่านแล้วได้ความรู้ดีครับ แต่จะดีถ้าขยายหรือยกตัวอย่างสักนิด

จริงแล้วๆ  มีตัวอย่างค่ะ  แต่มันเยอะก็เลยสรุปมาให้นะค่ะ  ถ้าสนใจไว้ติดต่อทางเมล์เพื่อขอข้อมูลได้ค่ะ

อ.อ๋อม

เรียน อ.อ๋อม

  • หากเป็นไปได้ ช่วยสรุปเบญจพักตร์ จากงานบ้านผู้หว่านเขียนเป็นตอนๆ ตอนละ ๑ หน้า (พักตร์) ลงในบล็อกด้วยจะดีอย่างยิ่งนะครับ
  • จะได้บุญจากการ ลปรร.ครับ (การให้ความรู้เป็นทาน)
  • ขอบคุณล่วงหน้าครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท