KM กับความเป็นองค์การธรรมรัฐของวลัยลักษณ์


ความเป็นองค์การธรรมรัฐที่เกิดขึ้นจากจิตสำนึกของแต่ละคน ซึ่งดีกว่าการเป็นองค์การธรรมรัฐที่เกิดจากกฏระเบียบ
เป้าหมายประกาศหนึ่งที่สำคัญของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ของพวกเรา คือ การเป็นองค์การธรรมรัฐ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่ว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นองค์การธรรมรัฐ เป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นหลักในถิ่น เป็นเลิศสู่สากล  ผมคิดและเชื่อว่าพวกเราชาววลัยลักษณ์ทุกคนได้รับรู้และซึมซับวิสัยทัศน์นี้ไว้ในใจของทุกคนอย่างแน่นอน เพราะการเกิดขึ้นของวิสัยทัศน์ ของชาววลัยลักษณ์ไม่เกิดขึ้นจากบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่เกิดขึ้นจากทุกคนในวลัยลักษณ์ และการมีส่วนร่วมของบุคคลหลายภาคส่วนทีเดียว ผมเองในฐานะที่เป็น  CKO ของวลัยลักษณ์นอกจากจะดูแลในเรื่องการจัดการความรู้แล้ว หน้าที่และความรับผิดชอบหลักอีกอย่างหนึ่งก็คือ การเป็นรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ซึ่งต้องดูแลรับผิดชอบในเรื่องการเงิน พัสดุ ประชาสัมพันธ์ สารบรรณ การเจ้าหน้าที่ และการพัฒนาองค์กร  ผมจึงมีแนวคิดว่า  วลัยลักษณ์จะใช้เครื่อง KM นี้ อย่างไรในการที่จะก่อร่างสร้างความเข้มแข็งในคนของวลัยลักษณ์ให้มีค่านิยมร่วมที่ดีในการทำงานเพื่อวลัยลักษณ์ โดยเฉพาะเมื่อเชื่อมโยงไปที่บทบาทสนับสนุนของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ผมดูแลอยู่  ที่จะทำให้เราไปถึงเป้าหมายในการเป็นองค์การธรรมรัฐ ให้ได้ เพราะพวกเราชาววลัยลักษณ์เชื่อว่า องค์การที่มีการปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ จะเป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับการเป็นองค์กรที่มีพลังในการขับเคลื่อนสู่ความเป็นเลิศในสากลได้  แน่นอนที่สุดว่า การทำกิจกรรม KM ของพวกเราชาววลัยลักษณ์ในช่วงการเรียนรู้ 10 เดือนที่ผ่านมา ชาววลัยลักษณ์หลายคน ได้รับรู้ความรู้สึกถึงความรัก ความภูมิใจ และความจริงใจของเพื่อนร่วมงานที่มีต่อวลัยลักษณ์ นั่นแหละครับความรัก ความภูมิใจที่แท้จริง จึงทำให้เพื่อนร่วมงานชาววลัยลักษณ์ของเราทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต นึกถึงผลประโยชน์ขององค์กรมากกว่าที่จะนึกถึงประโยชน์ส่วนตัว  หากพวกเราชาววลัยลักษณ์ได้มีการใช้เครื่องมือ KM อย่างต่อเนื่อง และเข้าใจมันอย่างถ่องแท้แล้ว ในที่สุด ความเป็นองค์การธรรมรัฐ ก็จะเกิดขึ้นจากจิตสำนึกของแต่ละคน  ซึ่งดีกว่าการเป็นองค์การธรรมรัฐที่เกิดจากกฎระเบียบ หรือหลักเกณฑ์ ขั้นตอนต่าง ๆ เพราะการเป็นองค์การธรรมรัฐที่เกิดจากจิตสำนึกนั้นจะมีความยั่งยืนและถาวรครับ
คำสำคัญ (Tags): #vision#cko
หมายเลขบันทึก: 23116เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2006 23:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 14:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ถ้าใช้กรอบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งมีเป้าหมายที่ความพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกัน

การเป็นองค์กรธรรมรัฐก็เป็นประเด็นหนึ่งที่อยู่ภายใต้กรอบคิดดังกล่าวซึ่งต้องอาศัย ความรู้คู่คุณธรรมที่เกิดผลในทางปฏิบัติ

ซึ่งก็คือการจัดการความรู้

โดยตัวของการจัดการความรู้ยังมีเป้าหมายในเชิงกระบวนการ   ที่สำคัญอีกประการหนึ่งด้วยคือการพัฒนาเป็นองค์กรเรียนรู้

กระบวนการจัดการความรู้นอกจากตั้งต้นที่แผนงาน/กิจกรรมของหน่วยOD ซึ่งเป็นส่วนของการทำงานที่เป็นระเบียบ(order)แล้วควรเพิ่มการจัดการความรู้ในส่วนที่ไร้ระเบียบ(caos)ด้วย นั่นคือกระบวนการพบปะสังสรรค์ร่วมมือกันในเรื่องราวต่างๆภายในชุมชนวลัยลักษณ์ที่เกิดขึ้นเองซึ่งเป็นปัจจัยสร้างความเป็นประชาสังคม

การเรียนรู้ทำความเข้าใจหน่ออ่อนต่างๆเหล่านี้ แล้วเข้าไปหนุนเสริมอย่างเป็นธรรมชาติด้วยเทคนิคการจัดการความรู้คือบทที่ว่าด้วยการจัดการความรู้เชิงเครือข่ายซึ่งเป็นการจัดการความรู้แบบหยิน ในขณะที่แบบแรกคือ การจัดการความรู้แบบหยาง

ทั้งหยางและหยินต้องเสริมพลังกันจึงจะเพิ่มพลังทวีคูณได้

ได้เข้ากลุ่มแลกเปลี่ยนในการเสวนาของ UKM เมื่อวาน จากการเล่าให้ฟังของคุณติ๋ม (แม้จะเป็นระยะเพียงสั้นๆ) ก็สัมผ้สได้ถึงพลังของชาววลัยลักษณ์ ในการใช้แนวทางจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กร ยินดีกับอาจารย์และชาววลัยลักษณ์มากเลยค่ะ

 

จินตนา ศิริวัฒนโชค

สวัสดีค่ะ  ก่อนอื่นต้องขอบคุณ คุณหมอปารมีฯมากที่ให้กำลังใจ เป็นพลังที่ยิ่งใหญ่สำหรับน้องใหม่จริงๆค่ะ  ขอบอกความในใจในวันที่เข้ากลุ่ม ลปรร.ในUKM 2/49 เมื่อได้เข้ากลุ่มคิดว่าโชคดีมากที่มีคนเก่งๆหลายคนน่าจะได้อะไรดีๆกลับไปมากทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น รศ.นพ.จิตเจริญ ไชยาคำ(JJจาก มข.),ผศ.ดร.พิศมัย ศรีอำไพ(ผู้ใหญ่ใจดีจาก มหาสารคาม),รศ.มาลินี ธนารุณ(คุณอำนวยที่น่ารัก จากมน.),ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์(มหิดล),คุณวราพร แสงสมพร(คุณน้อย จากศิริราช),คุณเที่ยง จารุมณี(ผอ.กจน.มอ.)และอีก 2 ท่านจากม.ทักษิณ(ขอโทษที่จำชื่อไม่ได้) และยิ่งดีใจมากเมื่อ ผศ.พญ.ปารมี ทองสุกใส(มอ.)เดินเข้ามาสมทบในกลุ่ม  เพราะแอบปลื้ม"คุณหมอปารมี"ในเรื่องราวที่นำเสนอ"คนคุณภาพ พยาธิ"ช่วงบ่ายวันที่ 7 และเช้าวันที่ 8 เวลาอาหารเช้าได้มีโอกาสพูดคุยกับ คุณหมอวิจารณ์ฯและ รศ.สมนึก(รองฯบริหาร) คุณหมอวิจารณ์ฯได้ชื่นชมผลงานและให้เรียนรู้เป็นแบบอย่าง แล้วจะไม่คิดเป็นเรื่องดีได้อย่างไร

        เสียดายแต่ว่าไม่ได้ฟังแนวคิด วิธีการของผู้อาวุโสทุกคน และไม่มีโอกาสได้เล่าถึงวิธีการที่เรา "ชาววลัยลักษณ์"สร้างกระบวนการ "การจัดการความรู้สึก" และกระบวนการสร้าง"ค่านิยมร่วม"คิดว่ามันเห็นผลดีมากหลังจากเราทำกระบวนการ KM และพวกเราได้ก่อร่างสร้าง "ชุมชนนักปฏิบัติ"ขึ้นมาแล้วพวกเราจะช่วยกันทำให้เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไปค่ะ  

ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับชาววลัยลักษณ์แล้ว ได้รู้สึกถึงพลังแห่งการ ลปรร. ของชาววลัยลักษณ์ที่เข้มแข็งมากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท