หลักการสังเกตคำภาษาบาลีสันสกฤตในภาษาไทย (๒)


กีฬาบาลี กรีฑาสันสกฤต

ตารางเปรียบเทียบภาษาบาลี – สันสกฤต

ภาษาบาลี

ภาษาสันสกฤต

๑.   สระมี ๘ ตัว  คือ  อะ  อา  อิ  อี  อุ  อู  เอ  โอ

๑.   สระมี  ๑๔  ตัว  เพิ่มจากบาลี    ตัว  คือ    ฤๅ    ฦๅ  ไอ  เอา  ( แสดงว่าคำที่มีสระ ๖ ตัวนี้จะเป็นบาลีไม่ได้เด็ดขาด )

๒.  มีพยัญชนะ  ๓๓ ตัว  (พยัญชนะวรรค)

๒.  มีพยัญชนะ  ๓๕  ตัว  เพิ่มจากภาษาบาลี    ตัว  คือ      (แสดงว่าคำที่มี  ศ ษ  เป็นภาษาสันสกฤต  *  ยกเว้น  ศอก  ศึก  เศิก  โศก  เศร้า  เป็นภาษาไทยแท้ )

๓.  มีตัวสะกดตัวตามแน่นอน  เช่น  กัญญา  จักขุ  ทักขิณะ  ปุจฉา  อัณณพ  คัมภีร์  เป็นต้น

๓.  มีตัวสะกดและตัวตามไม่แน่นอน  เช่น  กันยา  จักษุ  ทักษิณ  ปฤจฉา  วิทยุ  อัธยาศัย  เป็นต้น

๔.  นิยมใช้    เช่น  กีฬา  จุฬา  ครุฬ  เป็นต้น  (จำว่า กีา บาลี)

๔.  นิยมใช้    เช่น  กรีฑา  จุฑา  ครุฑ  (จำว่า  กรีา สันสกฤต)

๕.  ไม่นิยมควบกล้ำและอักษรนำ  เช่น  ปฐม  มัจฉา  สามี  มิต  ฐาน  ปทุม  ถาวร  เปม  กิริยา  เป็นต้น

๕.  นิยมควบกล้ำและอักษรนำ  เช่น ประถม มัตสยา สวามี  มิตร  สถาน  ประทุม  สถาวร  เปรม  กริยา  เป็นต้น

๖.  นิยมใช้  “ ริ ”  เช่น  ภริยา  จริยา  อัจฉริยะ  เป็นต้น

๖.  นิยมใช้  รร  (รอหัน)  เช่น  ภรรยา  จรรยา  อัศจรรย์  เป็นต้น

เนื่องจากแผลงมาจาก  รฺ  (ร เรผะ)  เช่น  วรฺณ = วรรณ

ธรฺม = ธรรม    * ยกเว้น  บรร  เป็นคำเขมร

๗.  นิยมใช้    นำหน้าวรรค ฏะ  เช่น  มณฑล  ภัณฑ์

หรือ    นำหน้า    เช่น  กัณหา  ตัณหา

๗.  นิยม  “ เคราะห์ ”  เช่น  วิเคราะห์  สังเคราะห์  อนุเคราะห์  เป็นต้น

 

เรื่องน่ารู้

๑.  ถ้าพยัญชนะ  “ ส ”  นำหน้า  วรรค  ตะ  คำนั้นจะมาจากภาษาสันสกฤต  เช่น  สถาพร  สถาน  สถิต  เป็นต้น

๒.  พยัญชนะเศษวรรคในภาษาบาลีที่ใช้เป็นตัวสะกดได้  มี    ตัว  คือ            เช่น  อัยยิกา  คุยห  มัลลิกา  กัลยาณ  ชิวหา  อาสาฬห  ภัสตา  มัสสุ  เป็นต้น

๓.  พยัญชนะเศษวรรคในภาษาสันสกฤตคล้ายภาษาบาลี  แต่มีตัวสะกดเพิ่ม  อีก    ตัว  คือ  ศ ษ เช่น  ราษฎร  ทฤษฎี  พฤศจิกายน  เป็นต้น

 

กลับไปอ่านหน้า ๑  

เลือกอ่านหน้า หน้า ๑   หน้า๒ 

หมายเลขบันทึก: 231088เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2008 22:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 สิงหาคม 2012 10:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ได้ความรู้ดีมาก ๆ เลยครับ ตอนผมเรียนอาจารย์ให้ท่องพยัญชนะวรรคแต่ละวรรค แต่ก็ไม่เข้าใจเท่าไหร่เลย มาอ่านงานคุณครูแล้วเข้าใจดีครับ

ครูอ๊อฟ ไอเรื่องประโยคอ่ะ

อยากทำให้อยู่

เสร็จแล้วด้วย ว่างจัด

ถ้าว่างจะส่งไปให้นะคะ

แวะเข้ามา ทักทาย ชายรุ่นหรู

เขาเป็นครู สอนศิษย์ จิตสดใส

อรุณรัชช์ แสงพงษ์ มุ่งตรงไป

สู่หลักชัย แม่พิมพ์ อิ่มอุรา

ได้ความรู้มากเลยคะ

หนูอ่านแล้วก็เข้าใจดีคะ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะ จะได้เตรียมไปสอนนักเรียนต่อ

มาเชียร์ครูรุ่นใหม่ค่ะ

 

มีน ม.1/1 ฤทธิยะวรรณลัย2

อานแล้วค่ะได้ความรู้

ตอนนี้เรียนภาษาไทนเพื่อการสื่อสาร ยากมากไม่เข้าใจแต่ดีที่มีอาจารย์สอนมาดีมีเนื้อหาที่สออนมาแล้วบ้างแต่ บางอยากเรียนไม่เข้าใจเลย อยากให้อาจารย์ช่วยเป็นที่ปรึกษาค่ะ(มากมาก)ขอบคุณค่ะ

ขอขอบคุณครับที่ให้ความกระผม

ห้ะ ตอนแรกที่ครูสอนไม่เข้าใจ แต่ตอนนี้เข้าใจแล้วครับ ขอบคุณมากครับ

ชอบบทเรียนนี้มากค่ะ เข้าใจเกือบหมดทุกอย่างค่ะ ติดที่ข้อสามค่ะ คือยังมองไม่ออกว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร พอจะอธิบายเพิ่มหรือขยายคำอธิบายเพิ่มได้ไหมคะ ขอบคุณมากค่ะ

เขียนเมื่อ 7 ปีที่แล้ว ..

2553 อ่ะดิ?!

จะตกข่าวมั้ยเนี่ย นี่ 2560 แล้วค่าา

หนูเด็กไปสำหรับจะอ่านข้อความนี้สินะ ฮึก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท