การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในปัจจุบันของประเทศไทย


การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่องค์กรทั่วโลกใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้มีอยู่ไม่กี่รูปแบบ และก็มีหลายๆ องค์การที่นำเอากลยุทธ์การบริหารมากกว่าหนึ่งรูปแบบมาใช้ร่วมกัน เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับองค์การของตนที่สุด ตัวอย่างเช่น องค์การหนึ่งอาจจะใช้กลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์รูปแบบหนึ่งกับหน่วยงานที่ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง และใช้อีกกลยุทธ์หนึ่งกับหน่วยงานที่เน้นเรื่องการวิจัยพัฒนา
ระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในปัจจุบันที่หลายๆ คนมักจะคุ้นหูกันว่า ฝ่ายบริหารทรัพยากร
บุคคล จะต้องทำหน้าที่เป็น
strategic partner ขององค์กรนั้น ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลจึงจำ
เป็นต้องสร้างบทบาท
และปรับเปลี่ยนระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลใหม่
ให้สามารถตอบสนองความต้องการขององค์กร โดยอาศัยคนเป็นปัจจัยหลักในการบรรลุความ
สำเร็จขององค์กรนั้นมากกว่า
ที่จะทำหน้าที่เป็นตำรวจคอยตรวจสอบ และลงโทษพนักงานที่
กระทำความผิด
หรือพนักงานธุรการ ที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบ และจัดเตรียมเอกสารให้เป็น
ไปอย่างครบถ้วนสมบูรณ์เท่านั้น


บทบาทในฐานะ strategic partner ด้านระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคล
สามารถจำแนกออกเป็นประเด็นต่างๆ โดยคร่าวๆ เพื่อใช้สำหรับเป็นแนวทางในการบริหารได้ดังนี้
1. การถ่ายทอดวิสัยทัศน์ พันธกิจขององค์กร
ซึ่งหมายถึงทิศทางในการดำเนินธุรกิจขององค์กร ตลอดจนเป้าหมายที่บริษัทต้องการให้
บรรลุความสำเร็จนั้น
ผู้ที่รับผิดชอบงานระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคล จำเป็นต้องศึกษา
ทำความเข้าใจในการดำเนินธุรกิจขององค์กร และมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์
พันธกิจขององค์กรด้วย เพื่อที่จะได้สามารถถ่ายทอดวิสัยทัศน์ หรือพันธกิจของบริษัทลง
ไปสู่ระดับบริหาร ตลอดจนพนักงานในระดับปฏิบัติการ
เพื่อให้พนักงานทุกระดับมีความรู้
ความเข้าใจในทิศทางการดำเนินธุรกิจของบริษัท
แนวทางในการบริหารงาน และกลยุทธ์
ในการดำเนินธุรกิจของบริษัท
โดยภาพรวมตลอดจนการกำหนดระบบการบริหารงานทรัพยากร
บุคคลให้ตอบสนองวิสัยทัศน์
พันธกิจขององค์กรได้อย่างชัดเจน

2. การส่งเสริมวัฒนธรรมการทำงานแบบเน้นผลงาน
ในปัจจุบันที่เต็มไปด้วยการแข่งขันกันอย่างรุนแรงในเชิงธุรกิจ องค์กรต่างๆ ก็จำเป็นที่จะต้อง
ปรับตัวเองให้ทันกับสถานการณ์การแข่งขันที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน
เรามักจะเห็นว่า
หลายๆ องค์กรพยายามที่จะสร้างวัฒนธรรมในการทำงานขึ้นมาใหม่
ที่มักจะเรียกว่า วัฒนธรรม
ของการมุ่งเน้นที่ผลการทำงาน กล่าวคือ พยายามที่จะสร้าง
หรือหล่อหลอมให้พนักงานทุกคน
ในองค์กรต้องตระหนัก และเห็นความสำคัญของผลงานมากกว่า
การทำงานแบบสบายๆ เหมือน
ในอดีต
ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของผู้ที่รับผิดชอบงานระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคล ที่จะต้องสร้าง
ระบบด้านการบริหารขึ้นมาสนับสนุนวัฒนธรรมดังกล่าว เช่น

การกำหนดมาตรฐานในการวัดผลการปฏิบัติงานของตำแหน่งงานต่างๆ ในองค์กร เพื่อให้สามารถ
วัดผลการทำงานของพนักงานได้อย่างชัดเจน
มากกว่าการใช้ความรู้สึกเป็นแนวทางในการวัด
ผลการปฏิบัติงาน
หรือการใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวในการประเมินผลการทำงานของพนักงาน
การกำหนดระบบผลตอบแทนบนพื้นฐานของความสามารถในการปฏิบัติงาน เพื่อที่จะสามารถ
ดึงดูดบุคลากรที่มีคุณภาพเข้ามาทำงานกับบริษัท
และกระตุ้นให้พนักงานแสดงศักยภาพที่ตนเอง
มีอยู่
ตลอดจนเพื่อเก็บบุคลากรที่มีความสามารถให้ทำงานกับบริษัทต่อไปได้ในระยะยาว เป็นต้น
ดังนั้น ระบบผลตอบแทน ควรที่จะขึ้นอยู่กับความสามารถของพนักงานมากกว่าอายุงาน
หรือความสัมพันธ์ส่วนตัวอันเป็นการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน
ที่มีศักยภาพ
และความสามารถ
การกำหนดทิศทางในการพัฒนาพนักงานอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง เพื่อให้พนักงานได้รับ
การพัฒนาความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงาน
อันส่งผลต่อการสร้างผลงานที่มีประสิทธิภาพ
เป็นต้น


3.การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับองค์กร
ซึ่งจะเป็นการมององค์กรโดยภาพรวมว่า องค์กรจะเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานได้อย่างไร
ทั้งนี้
ขอยกประเด็นที่เกี่ยวกับสภาพบรรยากาศการทำงานในองค์กร ซึ่งโดยปกติแล้ว ผู้บริหาร
ของฝ่ายงานต่างๆ
มักจะมุ่งเน้นที่การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของตนเองเป็นหลัก พยายาม
จะแสวงหาวิธีในการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ แต่ท้ายที่สุดแล้ว
ประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน
อาจจะมาจากสภาพบรรยากาศการทำงานขององค์กรโดยภาพรวมที่ไม่เอื้อประโยชน์ต่อประสิทธิ
ภาพในการทำงานก็เป็นได้
ดังนั้น ผู้ที่รับผิดชอบงานระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคล จะต้อง
ทำหน้าที่เสมือนเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบในการปรับปรุง แก้ไข
และเสนอแนะสภาพบรรยากาศการ
ทำงานในองค์กร โดยพิจารณาในแง่มุมต่างๆ ดังนี้



· ความชัดเจนในการทำงาน
· มาตรฐานในการทำงาน
· ความยืดหยุ่นในการทำงาน
· ความรับผิดชอบตามตำแหน่งงาน
· การทำงานเป็นทีม
· ระบบผลตอบแทน


ซึ่งนับว่าเป็นประเด็นที่ระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลในปัจจุบัน จำเป็นต้องสร้างความชัด
เจน และหาแนวทางในการพัฒนาประเด็นดังกล่าว
อันถือว่าเป็นภาระหน้าที่หลัก ที่ส่งผลต่อ
บรรยากาศการทำงานภายในองค์กร
และส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรโดย
ภาพรวมต่อไปด้วย

จากบทบาทของระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลที่ทำหน้าที่เป็น strategic partner
ให้กับองค์กรในประเด็นที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นโดยคร่าวๆ นั้น จะสังเกตเห็นได้ว่า สามารถสร้างการ
เปลี่ยนแปลงในองค์กรในเชิงของประสิทธิภาพได้ค่อนข้างมาก
และจากการที่ผมได้มีโอกาสใน
การพบปะกับผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต่างๆ นั้น
จะสังเกตเห็นได้เลยว่า ผู้บริหารขององค์กร
ท่านใด
ที่ให้ความสำคัญกับระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคล องค์กรเหล่านั้น มักจะประสบ
ความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจในระยะยาว
ที่มา ประชาชาติธุรกิจ
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 23098เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2006 16:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 19:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แวะมาเรียนรู้ค่ะ

ครูต้อยเคยอยู่นครศรีฯค่ะ

มีผู้ใหญ่ที่นับถือชื่อ คุณป้าช.วิไล แต่ตอนนี้ท่านสิ้นแล้ว

ดีใจที่ได้อ่านบทความนี้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท