ปุ๋ยหมักจากขยะเพื่อชุมชน วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา


ทิ้งถูกถัง พลังสะอาด

                   สวัสดีคะเมื่อวันที่    ๔   สิงหาคม ๒๕๔๘    ณ ลานอเนกประสงค์ (ลาน ATM) อาคารเรียนรวม มหาวิทยาลัยนเรศวร  วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา  ได้มีการโครงการ ทิ้งถูกถัง พลังสะอาด   ตอน     ทิ้งถูกถัง  พลังเรนเจอร์     โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการแยกทิ้งขยะให้ถูกประเภทและสร้างทัศนคติที่ดีในการแยกขยะก่อนทิ้งอีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นเพื่อให้เกิดความร่วมมือในในการทิ้งขยะรวมทั้งนำไปสู่การ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทิ้งขยะที่ถูกต้องต่อไป  เป็นไงคะมีกิจกรรมดีๆและยังเป็นแนวทางในการทำปุ๋ยหมักด้วยคะ เนื่องจากวิทยาเขตฯ  ของเรามีอัตราการผลิตขยะประมาณ 1.1 ตันต่อวัน โดยมีขยะที่เป็นเศษอาหารมากถึง 49% ของจำนวนขยะทั้งหมด  ปริมาณขยะที่เกิดขึ้น  ประมาณ 1.12 ตัน/วัน  อัตราการผลิตขยะโดยเฉลี่ย เท่ากับ 0.30 kg/คน/วัน  ความหนาแน่น(Density) เฉลี่ย เท่ากับ 212.53 kg/m3  ความชื้น(Moisture Content) เท่ากับ 56.28%
                   ทางเลือกที่เหมาะสมในการจัดการกับขยะประเภทดังกล่าวซึ่งเป็นสารอินทรีย์  คือการนำมาทำปุ๋ยหมักซึ่งการทำปุ๋ยหมักนั้นมีข้อดีและประโยชน์หลายด้าน  กล่าวคือไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพน้ำและอากาศ  ใช้พื้นที่ไม่มาก  ใช้งบประมาณและค่าใช้จ่ายในการจัดการค่อนข้างต่ำ  นอกจากนี้ปุ๋ยหมักยังสามารถนำไปใช้ปรับปรุงคุณภาพดินให้ดีขึ้น  เช่นเพิ่มความร่วนและความสามารถในการอุ้มน้ำให้แก่ดิน  และยังลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีได้อีกด้วยคะ 
         เรามีวิธีการนำขยะอินทรีย์  ไปทำ Composting  ดังนี้คะ
                   ·       กองปุ๋ยหมักบนไม้ Pallet  เพื่อระบายอากาศด้านล่าง
                   ·       ขนาดกองปุ๋ยหมัก ก*ย*ส    1.00*1.00*0.80  เมตร
                   ·       สอดท่อ PVC  เพื่อระบายอากาศ  ตรงกลางกอง
                   ·       คลุมกองปุ๋ยหมักด้วยเศษไม้  เพื่อป้องกันกลิ่นและแมลง
                   ·       กระบวนการหมักใช้เวลาในการหมัก  3  เดือน
                   ·       เศษอาหารที่คัดแยกเพื่อทำปุ๋ย (Input)  1.63  ตัน  ต่อเดือน
                   ·       ได้เนื้อปุ๋ย (Output)  203  กิโลกรัม/เดือน
                  โครงการทำปุ๋ยหมักจากขยะเพื่อชุมชนของมหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา  ประสบความสำเร็จสามารถใช้เป็นแนวปฏิบัติกับชุมชน (อ.บ.ต.)  ที่มีปริมาณขยะและองค์ประกอบ  ใกล้เคียงกัน
                  ส่วนที่เหลือจากการแยกขยะอินทรีย์ไปทำปุ๋ยหมักจะนำมาคัดแยก  เพื่อนำขยะที่ยังนำกลับมาใช้ใหม่ได้ไปขายสร้างรายได้  การลดปริมาณขยะมีแนวความคิดดังนี้คะ
                  ·       การรณรงค์  หลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขยะ  
                  ·       การแยกชนิดขยะที่ขายได้
                  ·       การรณรงค์ให้ใช้บรรจุภัณฑ์ทีสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
                  ·       การรณรงค์ให้ใช้ผลิตภัณฑ์อย่างคุ้มค่า
                  ·       การรณรงค์ให้ลดปริมาณเศษอาหารที่เหลือทิ้ง  โดยขยะที่แยกขายได้ได้แก่  กระดาษ  ขวดแก้ว  ขวดพลาสติก  เหล็ก  กระป๋อง  เป็นต้น  โดยรายได้ที่ได้จากขายขยะ  ตั้งแต่เดือน  มกราคม  2547  ถึงเมษายน  2548  เป็นเงิน  32,720  บาท  (คิดเป็นเงิน  2,045  บาท/เดือน) 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 2306เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2005 11:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากแนะนำให้ติดต่อหน่วย QA (โอ-รัตน์ทวี) เพื่อสมัครเป็นสมาชิก CoP ของ blog มน. เพื่อความสะดวกในการ share ประสบการณ์กัน

วิบูลย์ วัฒนาธร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท