ขุมความรู้จากเพื่อนเยี่ยมเพื่อน


อย่าบังคับให้ผู้ป่วยต้องเปลี่ยนรองเท้า อย่าฝืนใจ ฝืนพฤติกรรมผู้ป่วย แต่ให้พยายามปรับพฤติกรรมอย่างค่อยเป็นค่อยไป

พี่เอนกทวงขุมความรู้หลายครั้งแล้ว  ที่ผ่านมาก็ทำได้แค่ยิ้มหวานๆ แล้วบอกว่า รออีกนิดนะ.... แต่วันนี้พร้อมจะมาเล่าแล้วล่ะ........

จากวันที่ ดร.วัลลา  ตันตโยทัย และ อ.สมเกียรติ  มหาอุดมพร เพื่อนที่น่ารักแวะมาเยี่ยมพวกเรา นอกจากบรรยากาศที่เป็นกันเองแล้ว ยังมีขุมความรู้ที่พวกเราได้รับเพิ่มกันเยอะเลย 

ความรู้จาก อ.สมเกียรติ

-   การใช้ monofilament ในการตรวจเท้า หลังจากจิ้มลงไปแล้ว ให้ "นับหนึ่ง" แล้วจึงค่อยเอาออก ไม่ควรจิ้มเร็วเกินไป และไม่ควรทำเป็น pattern ในผู้ป่วยทุกราย ควรหลอกผู้ป่วยบ้าง ในบางจุด เพื่อยืนยันว่าผู้ป่วยไม่ได้เดา

-  การตรวจเท้าให้ง่ายขึ้น อาจให้ผู้ป่วยนั่งไขว่ห้างแล้วชี้จุดที่ตรวจ ถ้าไขว่ห้างไม่ได้ ให้ใช้ landmark ของมือแทนเท้า โดยให้ผู้ป่วยชี้ที่มือแทนตำแหน่งของเท้าที่ถูกตรวจ หรือให้หลับตา แล้วชี้จุดที่รู้สึกร่วมด้วย

-  การ Trim callus ถ้าจะฝึกทำให้ได้บางๆ อ.แนะนำให้หัดขูดเทียน เพราะเทียบหนังหนาเป็นเทียน และไม่จะเป็นต้องคอยถามผู้ป่วยอยู่ตลอดว่าเจ็บหรือเปล่า เพราะถ้าเจ็บจะชักเท้าหนี (ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องการรับรู้ของระบบประสาทอยู่แล้ว)

-  แผลจะหายช้าหากมีกำแพงเมืองจีน (อ.สมเกียรติ เทียบว่าหนังหนาๆ บริเวณขอบแผลเป็นเสมือนกำแพงเมืองจีน ) เราต้องทำลายลงไปเสียก่อน เนื้อเยื่อใหม่ๆ จึงจะถูกสร้างขึ้นได้ ไม่เช่นนั้น ก็จะมีแผลอยู่ตลอดทั้งปี การทำลายกำแพงเมืองจีนสามารถทำได้ด้วยการใช้ใบมีดตัดขอบแผลแข็งๆ ออก และต้องกำจัดเนื้อเยื่อที่ตายแล้วออกให้หมด

-  การดูแลเท้าที่บ้าน อาจใช้หินขัดฝ่าเท้า หรือใช้สกอตไบรท์ก็ได้ แต่ไม่ควรขัดแรงจนเกินไป

-  เครื่องมือวัดความนุ่มของรองเท้า เรียกว่า ชอว์มิเตอร์ ซึ่งมีค่าไม่ควรเกิน 15 องศาชอว์ ถ้าเกินนี้แสดงว่ารองเท้าแข็งเกินไป (อ. ชมว่า รองเท้าที่รพ.ตัด  มีความนุ่มดี  จำได้ว่าวัดได้ประมาณ 10 องศาชอว์)

-  การตัดรองเท้า สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ rocker ดังนั้นควรตัดรองเท้าให้มีส้นเล็กน้อย เพื่อให้ gait cycle  เกิดได้ง่ายขึ้น พื้นรองเท้าควรนุ่ม แต่พื้นด้านล่างต้องแข็ง ไม่ลื่น

-  หากต้องการใส่ insole เข้าไปเสริมในรองเท้า ต้องเลือกรองเท้าที่มีห้องลึกมากกว่าปกติ

-  อย่าบังคับให้ผู้ป่วยต้องเปลี่ยนรองเท้า อย่าฝืนใจ ฝืนพฤติกรรมผู้ป่วย แต่ให้พยายามปรับพฤติกรรมอย่างค่อยเป็นค่อยไป

- การจัดการเท้าให้ผู้ป่วย อย่าไปยึดติดรูปแบบว่าต้องเป็นเทคนิคต่างๆ ไม่ต้องหรูหราสมบูรณ์แบบ  แต่ขอให้ยึด concept ว่า ต้อง off-load ให้ได้และเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายก็เพียงพอแล้ว

พเยาว์  ปิยะไพร   นักกายภาพบำบัด  ผู้เล่าเรื่อง

   
   
   
   
   
   
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 23050เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2006 09:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
น้องหงาเก็บรวบรวมความรู้ได้เยอะแยะ มั่นใจได้ว่าผู้ป่วยเบาหวานที่ รพร.ธาตุพนมจะได้รับการดูแลอย่างดีแน่นอน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท