ศัพท์ปฎิรูปการศึกษาที่ควรรู้ 2


                       การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ

            เป็นการจัดการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 มาตรา 23 ซึ่งเน้นให้บูรณาการทั้งด้านความรู้ คุณธรรมและกระบวนการเรียนรู้ตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา เพื่อให้ได้ผู้เรียนที่มีศักยภาพเติบโตเป็นพลเมืองดี มีความรู้ควบคู่คุณธรรม มีคุณภาพชีวิตที่ดีดำรงชีวิตอยู่อย่างมีความสุข และเป็นกำลังสำคัญของบ้านเมือง

              การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ จึงจำเป็นต้องเชื่อมโยงให้เกิดความสมดุล ทั้งด้านความรู้และด้านกระบวนการเรียนรู้ โดยสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมในการเรียนการสอนทุกครั้ง จึงมุ่งเน้นที่องค์รวมของความรู้มากกว่าองค์ความรู้ในแต่ละสาขาวิชา เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดความสัมพันธ์เชื่อมโยงความคิดรวบยอดของกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ มาเป็นองค์ความรู้เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงได้

             การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการมีหลายรูปแบบ ซึ่งอาจมี 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือการบูรณาการภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้  และการบูรณาการระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 ได้เสนอแนวทางไว้ 4 ลักษณะ คือ 1) การบูรณาการแบบผู้สอนคนเดียว 2) การบูรณาการแบบคู่ขนาน 3) การบูรณาการแบบสหวิทยาการ และ 4) การบูรณาการแบบโครงงาน

หมายเลขบันทึก: 22968เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2006 13:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
-ขจิต ฝอยทอง( khajit's blog)
  • มาตรา 24(5) ใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้
  • มาตรา 30 ครูควรทำวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้
  • ทำอย่างไรจะส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการได้  น่าสนใจนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท