กิจกรรมรับน้องในมหาวิทยาลัย


    ขณะนี้เมื่อดูข่าวทางโทรทัศน์หรือหนังสือพิมพ์คงไม่มีเรื่องไหนดังไปกว่าข่าวกิจกรรมการรับน้องในมหาวิทยาลัยต่างๆ มีทั้งทัศนคติของบุคคลหลายฝ่ายแสดงความคิดเห็นทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับกิจกรรมนี้ มีภาพการรับน้องที่ไม่เหมาะสมมาเผยแพร่ในสื่อ ซึ่งผมก็คิดว่าเป็นภาพการกระทำที่ไม่เหมาะจริงๆของกิจกรรมรับน้อง แต่ส่วนหนึ่งผมก็ว่ากิจกรรมรับน้องบางกิจกรรมก็เป็นกิจกรรมที่ดีที่มีประโยชน์ เหตุการณ์ที่ทำให้สังคมตื่นตัวถึงกิจกรรมรับน้องก็เพราะการเสียชีวิตของน้องนักศึกษาใหม่คนหนึ่ง ซึ่งผมก็ขอแสดงความเสียใจ แต่ประเด็นที่อยากจะกล่าวถึงเกี่ยวกับเรื่องการรับน้องนี้ก็คือกระแสของสังคมที่กำลังสับสนและการแสดงความคิดเห็นของผู้ที่มีอำนาจในแวดวงการศึกษาหรือข้าราชการการเมืองที่เกี่ยวข้องบางคน ซึ่งผู้ใหญ่จะมองในลักษณะที่เป็นลบกับการรับน้อง ส่วนนักศึกษาที่ให้ความเห็นผ่านสื่อหรือสมาคมองค์การนักศึกษา(ถ้าเรียกชื่อผิดก็ขออภัยด้วยครับ)ก็มีความเห็นว่ากิจจกรรมรับน้องแม้จะมีบางคนบางกลุ่มที่เอาไปปฏิบัติในทางไม่ดีแต่ตัวของกิจกรรมเองเป็นกิจกรรมที่ดี เมื่อกระผมฟังทางสื่อแล้วรู้สึกว่าการที่ผู้ใหญ่ที่มีอำนาจในวงการศึกษาที่จบถึงด๊อกเตอร์ให้ความเห็นก็จะเป็นที่น่าเชื่อถือกว่าเด็กมหาลัยที่อยู่ปี3หรือปี4ซึ่งบางเหตุผลของเด็กก็ดี ผมจึงหยิบประเด็นนี้มาเพื่อขอความคิดเห็นจากชาว GoToKnow เพราะที่นี่ทุกคนมีความเท่าเทียมการเห็นด้วยหรือการน่าเชื่อถือน่าจะขึ้นกับเหตุผลเป็นหลัก และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความคิดเห็นที่แตกต่างกันจะเป็นข้อดีที่เราจะสามารถสรุปองค์รู้จากบทเรียนที่ผ่านมาเพื่อนำไปสู่วิถีทางการปฏิบัติที่ถูกต้องได้

  โดยส่วนตัวกระผมแล้วคิดว่ากิจกรรมรับน้องเป็นกิจกรรมที่ดี โดยแนวคิดของกิจกรรมเพื่อให้

1.นักศิกษาใหม่ที่มาจากแต่ละที่ได้ทำความรู้จักกัน(ภายในเวลาอันสั้นผ่านทางกิจกรรมต่างๆ)

2.นักศึกษาใหม่ได้รู้จักรุ่นพี่เพื่อประโยชน์ของนักศึกษาใหม่เองเช่น การขอหนังสือจากรุ่นพี่ สอบถามข้อควรรู้ต่างๆจากรุ่นพี่ไม่ว่าการลงทะเบียน การเพิ่มถอนวิชาเรียนฯลฯ(ซึ่งสำหรับคนที่ไม่เคยทำเรื่องง่ายอาจดูเหมือนยาก)

3.นักศิกษาใหม่ได้รู้จักสถานที่ต่างๆภายในคณะเพราะบางคณะมีพื้นที่กว้างเช่นคณะวิศวะมีโรง shop ของแต่ละภาควิชา 

4.ปลูกฝังให้ภูมิใจและรักคณะของตน บางคนมีคำถามว่าปลูกฝังทำไมเลือกมาเรียนก็เพราะรักอยู่แล้วแต่ผมคิดว่าอันที่จริงแล้วมีนักศึกษาอยู่ไม่น้อยรู้สึกผิดหวังที่ได้มาเรียนในคณะที่อยู่เพราะบางคนเลือกไว้อันดับสุดท้าย

5.ให้มีความอดทนทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งในข้อนี้จะมีคนที่ไม่เห็นด้วยค่อนข้างมาก เพราะการที่จะมีความอดทนทั้งร่างกายและจิตใจนั้นในการรับน้องจะใช้กิจกรรมที่เรียกว่าว๊ากมาเป็นเครื่องมือ ซึ่งวิธีการนั้นมีลักษณะลอกเลียนแบบมาจากการฝึกทหาร

การฝึกความอดทนทางร่างกายนั้นก็คือการออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง เช่นการวิ่ง การวิดพื้น

ส่วนการฝึกความอดทนทางจิตใจนั้นก็คือกิจกรรมที่ให้ผู้ทำนั้นทำในสิ่งที่ไม่ชอบ เช่น ถูกว่า ถูกตะคอก ถูกทำให้รู้สึกไม่พอใจ ขาดอิศระภาพทางความคิด ต่อสู้กับความเมื่อยล้าเหน็ดเหนื่อย ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่ชอบทั้งสิ้น ไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่มีเสรีภาพ ซึ่งการทำกิจกรรมนี้ให้ได้ผลดีนั้นผู้ที่เป็นผู้ที่เป็นผู้สั่งจะต้องเข้าใจถึงขอบเขต หลักจิตวิทยา มีผ่อนหนักเบาซึ่งในกิจกรรมรับน้องนั้นมีหลายคนไม่เข้าใจถึงหลักจิตวิทยาแล้วนำไปใช้แบบผิดๆ การทำกิจกรรมนี้จึงเป็นสิ่งที่ยากหากจะทำให้ได้ดีจะต้องมีการทำความเข้าใจกับผู้ที่ควบคุมและมีการซ้อมเหมือนละครฉากหนึ่งที่สร้างความกดดันและสอดแทรกสัจธรรมถึงการแก้ปัญหาให้กับรุ่นน้อง ซึ่งการทำกิจกรรมนี้ในตอนท้ายๆของการรับน้องจะค่อยๆเฉลยและสอนน้องใหม่ไปในตัว(มีบางแนวคิดบอกว่าไม่ต้องทำแบบนี้ก็ฝึกคนให้มีความอดทนได้ซึ่งผมก็ไม่เถียง)

 ดังนั้นโดยส่วนตัวผมคิดว่ากิจกรรมรับน้องเป็นกิจกรรมที่ดีและมีประโยชน์ต่อรุ่นน้อง เพียงแต่รุ่นพี่ต้องเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมกับน้องผู้ปฏิบัติ และใช้กุศโลบายผ่านกิจกรรม จากเหตุการที่ผ่านมาในข่าวการรับน้องผ่านสื่อต่างๆจะเห็นว่าสิ่งที่เสียหายคือการที่รุ่นพี่มีความเข้าใจถึงจุดประสงค์ของการรับน้องแบบผิดๆ กิจกรรมที่ออกมาเลยผิดและไม่เหมาะสม เช่นออกมาในรูปบบของการอนาจาร ซึ่งแนวคิดการรับน้องจะสอนให้เป็นสุภาพบุรุษ ให้เกียรติคนรอบข้าง อย่าหยิ่งผยองว่าเราสอบเข้ามหาลัยแล้วเราเก่งจนไม่รู้จักฟังคนอื่นโดยเฉพาะพ่อแม่

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 229เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2005 20:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ตอนแรกกระทรวงศึกษาออกหนังสือห้ามกิจกรรมรับน้องทุกมหาวิทยาลัย

ตอนนี้16/6/48ออกหนังสือยกเลิกหนังสือฉบับเดิมที่ห้ามการรับน้อง

งงกับจุดยืนกระทรวงศึกษา....

กิจกรรมรับน้อง นอกจากจะเสริมสร้างความรักความสามัคคีภายในกลุ่มแล้ว ผู้จัดกิจกรรม (รุ่นพี่) ก็ยังได้ประโยชน์อีกด้านคือการทำงานเป็นทีม เพราะต้องวางแผน และแบ่งงานกันรับผิดชอบ การรับน้องที่ดีนอกจากมีรุ่นพี่ที่ต้องเข้าใจหลักจิตวิทยาแล้ว ก็ควรมีอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมให้คำแนะนำด้วย สิ่งที่สำคัญและขาดไม่ได้คือการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ปกครอง ปัจจุบันการนำระบบ SOTUS มาใช้ประยุกต์ในการรับน้อง จนกระทั่งลืมเป้าหมายหลักแต่หันมาให้ความสนใจเฉพาะแค่ความสนุกสนาน และยังมีรุ่นพี่อีกหลายคนที่ต้องการแก้แค้น หรือ "เอาคืน" โดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบ หรือความรู้สึกของรุ่นน้อง ทั้งที่ตนเองก็เคยเป็นรุ่น้องมาก่อน เปรียบเทียบกันดู ก็ไม่แตกต่างนักจากค่านิยม ทัศนะคติของการเลี้ยงดูลูก พ่อแม่หลายๆ รุ่น เลี้ยงดูลูกจากตัวอย่างที่ได้รับมาจากพ่อแม่ ปู่ย่า ตายายของตน และคาดหวังว่าลูกจะได้รับสิ่งที่ตนเองอยากจะให้ ถ้าเพียงแต่พ่อแม่ รุ่นพี่ มองที่คน "รับ" เป็นหลัก ก็จะรับรู้ได้ว่าควรทำอย่างไร จุดประสงค์อยู่ที่ "รุ่นน้อง" มิได้อยู่ที่ "รุ่นพี่" ฉะนั้นการรับน้องที่ดี ก็คือการให้สิ่งที่ "รุ่นน้อง" ต้องการ ทั้งเรื่องของ การรู้จักสถานที่, การปรับตัว, ความรักความสามัคคี, ความภาคภูมิใจในสถาบัน ฯลฯ ไม่แตกต่างจากพ่อแม่ ที่ควรมีเป้าหมายหลักอยู่ที่ "ลูก" ว่าควรจะได้เรียนรู้เพื่อให้อยู่ในสังคมได้ ไม่ใช่อยู่ได้แค่ที่ "บ้าน" เท่านั้น การสอนให้เผชิญกับปัญหาจึงเป็นเรื่องที่ละเลยไม่ได้ การรับน้องก็ควรสอนให้ "รุ่นน้อง" ได้เผชิญ "ปัญหา" เช่นกัน เพราะเมื่อออกจากสถาบันแล้ว ความจริงอย่างหนึ่งของสังคมก็คือการต้องดิ้นรนต่อสู้ กับทุกสิ่งทุกอย่าง ที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอน บทเรียนจากการร่วมกิจกรรมรับน้องจึงมีคุณค่าอย่างสูงในการผลักดันให้ "รุ่นน้อง" ได้มีโอกาสเผชิญและฝึกแก้ไข "ปัญหา" "ปัญหา" ในสังคมที่มนุษย์ทุกคนต้องดิ้นรนต่อสู้นั้น เริ่มตั้งแต่ต่อสู้กับสภาวะแวดล้อมที่เลวร้าย เช่น ฝนตกรถติด ต่อสู้กับผู้คน เช่น เจ้านาย เพื่อร่วมงาน เพื่อร่วมธุรกิจ ต่อสู้กับสังคม เช่น คอรัปชั่น ความเห็นแก่ตัว เล่ห์กลโกง ต่อสู้กับภัยสังคม เช่น ฉกชิงวิ่งราว ข่มขืน ปล้นทรัพย์ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ทุกคนต้องเผชิญ จึงไม่แปลกเลย ถ้าการรับน้องจะช่วยสอนให้ "รุ่นน้อง" เรียนรู้และได้เผชิญความจริง เพราะรุ่นพี่มีหลากหลาย มาจากต่างที่ต่างถิ่น คงเป็นไปไม่ได้ที่จะได้พบปะแต่เฉพาะคนที่ตัวเองอยากจะเจอ...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท