ขอคำแนะนำด้วยค่ะ


การทำงานจะเปลี่ยนจากเราเป็นพวกเรา

          เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2549  KM Team ชุมพร ได้ประชุมเต็มคณะเป็นครั้งแรก ร่วมด้วยเกษตรอำเภอ ซึ่งเป็นคุณกิจ ในทีม แต่ก็เป็นคุณอำนวย ในระดับอำเภอ เข้าร่วมประชุมด้วย การประชุมครั้งนี้ มีพี่ประสงค์ บุญเจริญ สนง.เกษตรจังหวัดชุมพร  และออย (จุรีรัตน์ จันทร์ภักดี) สนจ.ชุมพร  พยายามเป็นคุณอำนวย  ก่อนการประชุมไม่เครียดเลย เพราะตามเป้าหมาย KM เพื่อจัดการความรู้เกี่ยวกับการผลิตตามแนวทางเกษตรดีที่เหมาะสม สำหรับทุเรียน และมังคุด เพื่อนำไปสู่การผลิตที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย เป็นกระบวนงาน และการดำเนินงานของทีมอยู่แล้ว คือ สนง.เกษตร จะเกี่ยวข้องการการผลิต การนำไปสู่เกษตรกร ศูนย์วิจัยพืชสวนและสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 7 เกี่ยวกับเทคโนโลยีการเกษตร และสถานีพัฒนาที่ดิน เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านน้ำ

 รูปแบบยังคงเป็นการประชุม มีระเบียบวาระ แล้วว่าไปตามวาระ ไม่ได้บอกว่า KM คืออะไร แต่พี่ประสงค์ พยายามแสดง นำเสนอให้เห็นว่าจากการทำงานของเรา ทั้งที่มีภารกิจนำไปสู่เกษตรกร เหมือนกัน แต่ต่างคนต่างหน่วยต่างทำ ต่อไปนี้ การทำงานจากของเราจะเปลี่ยนเป็นพวกเรา  แล้วพวกเรา "คุณอำนวย" พยายาม ในการให้หน่วยงานนำเสนอ เล่าเรื่องงานของหน่วยงานตัวเอง ว่าเกี่ยวข้องกับเป้าหมาย KM อย่างไร ผลที่ได้ ปรากฏว่า

1. การประชุม คงเป็นการประชุม

2. การเล่าเรื่องงาน เล่าบ้าง แต่เป็นการสรุปงาน โครงการเป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้แสดงถึงวิธีการปฎิบัติ ด้วยคิดว่า แต่ละอำเภอทำเหมือน ๆ กัน

3. ผู้เข้าประชุมล้า เนื่องจากช่วงเช้าประชุมติดตามงานของเกษตร

4. หรือว่า คุณอำนวย ยังอำนวยไม่เพียงพอ

นี่แหละค่ะที่เครียด จึงต้องการข้อเสนอแนะ แนะนำเป็นอย่างมาก ในการทำให้กลุ่มผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยน ได้มีความสุข พร้อมที่จะให้  หรืออาจมีข้อสังเกตุว่า ทุกคนคิดว่า ในเนื้องานรู้กันอยู่แล้ว จะมาเล่าอะไรกัน มีความเหมือนกันเกินไปในการแลกเปลี่ยน หรือเปล่าค่ะ

แต่สิ่งที่มีการนำเสนอ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุง การทำ KM อำเภอ (DW ของเกษตรเดิม) น่ารับฟังเป็นอย่างยิ่ง คือ

1. จากการทำ KM อำเภอ เป็นประจำทุกเดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม 2549  เหล่าชาวเกษตรทั้งหมด (คุณกิจ) จะมาพบปะ แล้วมีวิทยากรนำเสนอความรู้ที่ต้องการรู้  ฟังวิทยากร ดูงาน เสร็จแล้วกลับบ้าน  ยังไม่เข้ากระบวนการแลกเปลี่ยนถ่ายทอดการทำงานกัน

2. ความรู้จากวิทยากรยังไม่ได้นำมาแลกเปลี่ยน สื่อสารถึงกัน

3. ความรู้ที่นำเสนอ ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ของเกษตรกรภายใต้เป้าหมาย KM คือ เรื่องทุเรียน และมังคุด

Team  เลยได้เสนอแนวทางการปรับปรุง KM อำเภอ ใหม่ คือ การถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ ให้สอดคล้องกับการผลิตทุเรียนและมังคุด ตามระยะการปลูกของเกษตรกร เช่น ช่วงเดือนนี้ ทุเรียนมีดอก พวกเราจะแลกเปลี่ยนถ่ายทอดโดยเหล่าผู้รู้ ในเรื่องการจัดการทุเรียนช่วงมีดอก แล้วนำไปสู่แนวทางการปฏิบัติของเกษตรกร แล้วเดือนต่อ ๆ ไป ก็ว่าไปตามสถานการณ์

 Team ได้กำหนดกันว่า พวกเราจะมาพบปะแลกเปลี่ยนการทำงานกันทุก 2 เดือน เหตุที่ไม่ทุกเดือนเพราะว่า พวกเราเจอกันใน KM อำเภอกันอยู่แล้ว และในระดับอำเภอซึ่งมีเวทีถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกร ให้อำเภอกำหนดบุคคลที่จะทำหน้าที่ในการบันทึก การแลกเปลี่ยน องค์ความรู้เพื่อเผยแพร่ สื่อสาร ทั้งในบล็อกนี้ และวารสาร   เพราะขณะนี้การถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกร และการแลกเปลี่ยนของคุณกิจในอำเภอ ได้ดำเนินการไปบ้างแล้ว แต่ไม่มีการบันทึกความรู้นั้นไว้

และในปลายเดือนเมษายน 2549 จะจัดอบรมการใช้บล็อกนี้ด้วยคะ ตั้งใจไว้ว่าจะดำเนินการ 3 รุ่น รุ่นที่ 1 เหล่า KM Team รุ่นที่ 2 ส่วนราชที่บล็อกมีความเคลื่อนไหว รุ่นที่ 3 ส่วนราชการผู้สนใจ รวมทั้ง คุณอำนวย 2 คนนี้คงต้องเข้าอบรมด้วยเพราะบันทึกเป็นอย่างเดียว ไม่มีลูกเล่นอื่นเล้ย

บันทึก โดย ออย

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ผลการประชุม#km#team
หมายเลขบันทึก: 22792เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2006 12:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ในการประชุมนี้คุณกิจเป็นใครครับ   และ หัวปลา (เป้าหมาย) ของการประชุมคืออะไร    ถ้า ๒ ข้อนี้ชัดเจน  ก็พอจะให้คำแนะนำได้    หรือจะถามคุณวีรยุทธ ที่สนง. เกษตรจังหวัดกำแพงเพชรก็ได้

วิจารณ์ พานิช

เรียน อาจารย์ค่ะ

หัวปลา คือการจัดการความรู้ด้านการผลิตทุเรียน และมังคุด ตามแนวทางเกษตรดีที่เหมาะสม เพื่อนำไปสู่การผลิตที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย  ซึ่งผู้ที่เข้าแลกเปลี่ยน คือ ผู้เกี่ยวข้องด้านการผลิตเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์  คุณภาพและเทคโนโลยีการเกษตร การจัดการด้านน้ำ คุณกิจในการประชุม คือ เกษตรอำเภอ ซึ่งมีหน้าที่นำความรู้ไปสู่การปฏิบัติ แต่ขณะเดียวกันจะเป็นคุณอำนวยให้กลุ่มเกษตรกรด้วยค่ะ

เรียน อาจารย์ค่ะ

ได้อ่านบล็อกของคุณวีรยุทธ สนง.เกษตรจังหวัดกำแพงเพชร แล้ว ตรงใจเลยค่ะ ข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นหลาย ๆ อย่าง ซึ่งเป็นข้อสรุปบทเรียน วิธีการทำกระบวนการ ลปรร. การทำ AAR เป็นสิ่งที่พวกเราขาด และพยายามจะให้มีขึ้น ที่หนูเครียดนั่นแหละค่ะ ขอบพระคุณอาจารย์นี่แนะนำบล็อก จะติดตามอ่านต่อไป

    ยินดีที่บันทึกได้เกิดประโยชน์ต่อการนำไปปรับใช้   หากนำไปใช้แล้วเป็นอย่างไรกรุณาบันทึกมา ลปรร. ด้วย และขอเชิญเข้าร่วมชุมชนนักส่งเสริมการเกษตรด้วยนะครับ (เชิญมาแล้วนะครับ)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท