หลักการคณิตศาสตร์


ธรรมชาติและโครงสร้างคณิตศาสตร์

 

ธรรมชาติและโครงสร้างคณิตศาสตร์

 

1. ทำไมต้องเรียนคณิตศาสตร์

คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์   คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วน รอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม  นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่น ๆ  คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข  ( หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 : 1 )

 

2. เรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์มุ่งให้เยาวชนทุกคนได้เรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างต่อเนื่อง        ตามศักยภาพ โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนทุกคนดังนี้

1. จำนวนและการดำเนินการ  ความคิดรวบยอดและความรู้สึกเชิงจำนวน ระบบจำนวนจริง สมบัติเกี่ยวกับจำนวนจริง การดำเนินการของจำนวน อัตราส่วน ร้อยละ การแก้ปัญหาเกี่ยวกับจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง

2. การวัด   ความยาว ระยะทาง น้ำหนัก พื้นที่ ปริมาตรและความจุ เงินและเวลา หน่วยวัดระบบต่าง ๆ การคาดคะเนเกี่ยวกับการวัด อัตราส่วนตรีโกณมิติ การแก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด และการนำความรู้เกี่ยวกับการวัดไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ

3. เรขาคณิต   รูปเรขาคณิตและสมบัติของรูปเรขาคณิตหนึ่งมิติ สองมิติ และสามมิติ การนึกภาพ แบบจำลองทางเรขาคณิต  ทฤษฎีบททางเรขาคณิต  การแปลงทางเรขาคณิต (geometric transformation)ในเรื่องการเลื่อนขนาน (translation) การสะท้อน (reflection) และการหมุน (rotation)

4. พีชคณิต   แบบรูป (pattern) ความสัมพันธ์ ฟังก์ชัน เซตและการดำเนินการของเซต การให้เหตุผล นิพจน์ สมการ ระบบสมการ อสมการ กราฟ ลำดับเลขคณิต ลำดับเรขาคณิต อนุกรมเลขคณิต และอนุกรมเรขาคณิต

5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น   การกำหนดประเด็น การเขียนข้อคำถาม การกำหนดวิธีการศึกษา การเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดระบบข้อมูล การนำเสนอข้อมูล  ค่ากลางและการกระจายของข้อมูล  การวิเคราะห์และการแปลความข้อมูล การสำรวจความคิดเห็น ความน่าจะเป็น   การใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นในการอธิบายเหตุการณ์ต่างๆ และช่วยในการตัดสินใจในการดำเนินชีวิตประจำวัน

6.ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์  การแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่หลากหลาย การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  ( หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 : 1 )

3.     ความหมายของคณิตศาสตร์

                        ราชบัณฑิตยสถาน  (2530 : 99)  ได้ให้ความหมายไว้ว่า คณิตศาสตร์เป็นวิชาว่าด้วยการคำนวณ  ซึ่งมีความหมายที่ทำให้เรามองเห็นคณิตศาสตร์อย่างแคบ  มิได้รวมถึงขอบข่ายของคณิตศาสตร์  ซึ่งเรายอมรับกันในปัจจุบัน

                        สมทรง  สุวพานิช  (2541 : 4-5)  ได้ให้ความหมายของคณิตศาสตร์ดังนี้

                        1.     คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับความคิดที่ใช้คณิตศาสตร์เป็นเครื่องพิสูจน์อย่างมีเหตุผลว่า  สิ่งที่เราคิดคำนึงเป็นจริงหรือไม่  สามารถนำไปแก้ปัญหาในทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมต่าง ๆ

                        2.     คณิตศาสตร์เป็นภาษาอย่างหนึ่ง  คณิตศาสตร์เป็นลักษณะภาษาสื่อความหมายได้ชัดเจน  เช่น  5 + 3  =  8  คณิตศาสตร์เป็นภาษาซึ่งผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสื่อสารซึ่งกันและกัน  ถ้าไม่มีคณิตศาสตร์จะไม่มีเครื่องจักรเครื่องยนต์และเครื่องไฟฟ้าแน่นอน

                        3.     คณิตศาสตร์มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์  โดยสร้างแบบจำลองและศึกษาความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ต่าง ๆ  ในธรรมชาติ  เช่น  เรขาคณิตแบบยูคลิค  ปรากฎการณ์ทางพันธุกรรม  สามารถอธิบายได้ในเชิงคณิตศาสตร์  โดยใช้เมตริกซ์  การเพิ่มของประชากรสามารถอธิบายในเชิงคณิตศาสตร์โดยใช้เลขยกกำลัง  เป็นต้น  ความมีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ของคณิตศาสตร์นั้นเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปดังเช่น  คณิตศาสตร์เป็นราชินีของวิทยาศาสตร์

                        4.     คณิตศาสตร์มีลักษณะเป็นวิชาตรรกวิทยา  เป็นวิชาที่ว่าด้วยเหตุผลและศึกษาระบบ  ซึ่งสร้างโดยอาศัยข้อตกลงใช้เหตุผลตามลำดับขั้น  คือทุกขั้นตอนเป็นเหตุเป็นผลต่อกันมีความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก  เราจะเห็นว่าคณิตศาสตร์นั้นเริ่มต้นด้วยเรื่องง่าย ๆ  และอธิบายข้อคิดต่าง ๆ  ที่สำคัญ  ซึ่งเริ่มต้นด้วยอธิบายจุด  เส้นตรง  ระนาบ  เรื่องอันเป็นพื้นฐานเหล่านี้นำไปสู่เรื่องต่อไป  การศึกษาเกี่ยวกับการใช้เหตุผลนั้นมีประโยชน์มหาศาล

                        5.     คณิตศาสตร์เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง  เช่นเดียวกับศิลปะอย่างอื่น  ความหมายของคณิตศาสตร์คือ  ความมีระเบียบและความกลมกลืนที่เกิดขึ้นภายใน  นักคณิตศาสตร์พยายามแสดงออกถึงค่าสูงสุดของชีวิตความสัมพันธ์และแสดงโครงสร้างใหม่ ๆ  ทางคณิตศาสตร์ส่งผลให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

                        มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช  (2537  :  5)  กล่าวว่าคณิตศาสตร์  เป็นคำแปลมาจาก  Mathematics   หมายถึง   สิ่งที่เรียนรู้หรือความรู้  เมื่อพูดถึงคำว่าคณิตศาสตร์คนทั่วไปมักเข้าใจ  ว่าเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเลข  เป็นศาสตร์ของการคำนวณและการวัด  การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เป็นภาษาสากลเพื่อความหมายและเข้าใจได้

                        จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า  คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ  เป็นวิชาที่เน้นในด้านความคิด  ความเข้าใจ  ในเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเลขและเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้เรียนคิดอย่างมีเหตุผลใช้ในการสื่อความหมาย  เป็นประโยชน์และเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน

4.     ลักษณะสำคัญของคณิตศาสตร์

                        ยุพิน  พิพิธกุล   (2524 : 1-2)   ได้สรุปลักษณะสำคัญของคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้

                        1.     คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการคิดและมีการพิสูจน์อย่างมีเหตุผลว่าสิ่งที่คิดเป็นจริงหรือไม่

                        2.     คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีโครงสร้างที่มีเหตุผล  ใช้อธิบายข้อคิดต่าง ๆ ที่สำคัญได้ เช่น  สัจพจน์  คุณสมบัติ  กฎ  ทำให้เกิดความคิดที่เป็นรากฐานในการพิสูจน์เรื่องอื่น ๆ ต่อไป

                        3.     คณิตศาสตร์เป็นภาษาอย่างหนึ่งที่ใช้สัญลักษณะที่รัดกุมและสื่อความหมายได้ถูกต้องโดยใช้ตัวอักษรแสดงความหมายแทนความคิด  เป็นเครื่องมือที่ใช้ฝึกทางสมอง  ซึ่งสามารถช่วยให้เกิดการกระทำในการคิดคำนวณ  การแก้ปัญหา

                        4.     คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีแบบแผน  ในการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์นั้นต้องคิดอยู่ในแบบแผน  และมีรูปแบบ  ไม่ว่าจะเป็นการคิดในเรื่องใดก็ตามทุกขั้นตอนจะตอบได้และจำแนกออกมาให้เห็นจริงได้

                        5.     คณิตศาสตร์เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง  ความงามของคณิตศาสตร์คือ  มีความเป็นระเบียบและกลมกลืน  นักคณิตศาสตร์ได้พยายามแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ    และแสดงโครงสร้างใหม่ทางคณิตศาสตร์ออกมา  ปัจจุบันคณิตศาสตร์มีบทบาทมากกว่าอดีต  และมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น  ทางด้านสังคมวิทยาก็ต้องอาศัยความรู้ทางสถิติ  นักธุรกิจก็ต้องใช้ความรู้และหลักการทางคณิตศาสตร์ช่วยคิดคำนวณผลผลิตต่าง ๆ

                        จะเห็นได้ว่า  คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง  เป็นเครื่องมือการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาต่าง ๆ ในอันที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข  ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการพัฒนาให้ถูกต้องตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                        พิศมัย  ศรีอำไพ  (2533  :  1-2)  ได้เพิ่มแนวคิดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  ดังนี้

                        1.     คณิตศาสตร์เป็นการศึกษาถึงกระบวนการความสัมพันธ์

                        2.     คณิตศาสตร์เป็นวิถีทางการคิด  ช่วยให้เรามีกลยุทธ์ในการจัดวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล

                        3.     คณิตศาสตร์เป็นศิลปะให้ความซาบซึ่ง  ความงดงามและความต่อเนื่องของคณิตศาสตร์

                        4.     คณิตศาสตร์เป็นภาษาสากล  เพราะคนทั่วไปสามารถเข้าใจประโยคคณิตศาสตร์ได้ตรงกัน

                        5.     คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือที่นักคณิตศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ใช้และเป็นสิ่งที่ทุกคนใช้ในชีวิตประจำวัน

5.     ความสำคัญของคณิตศาสตร์

                        คณิตศาสตร์มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวัน  ตั้งแต่ตื่นนอน  ต้องดูเวลา  คิดว่าเป็นวันที่เท่าใด  ต้องหยิบเงินที่จะต้องใช้จ่ายในวันหนึ่ง ๆ  เมื่อออกจากบ้านต้องดูเวลาเท่าใดในการเดินทางและต้องเดินทางไปถึงที่ทำงานภายในเวลาเท่าใด  ถ้าซื้อของชิ้นละ  5  บาท  ซื้อ  3  ชิ้นจะต้องจ่ายเงินเป็นเท่าไร  ต้องได้รับเงินทอนเท่าไร  จะเห็นว่าการนับเงิน  การซื้อขาย  แลกเปลี่ยน  ทอนเงิน  เวลา  เป็นเรื่องของคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราตั้งแต่ลืมตา  ออกจากบ้าน  อยู่ที่ทำงานระหว่างเดินทาง  มากกว่าเรื่องใด  (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.  2537 : 8)

                        สมทรง  สุวพานิช   (2541 : 14-15)   กล่าวถึงความสำคัญไว้ว่า  วิชาคณิตศาสตร์มีความสำคัญและมีบทบาทต่อบุคคลมาก  คณิตศาสตร์ช่วยฝึกให้คนมีความรอบคอบ  มีเหตุผลรู้จักหาเหตุผล  ความจริงการมีคุณธรรมเช่นนี้อยู่ในใจเป็นสิ่งสำคัญมากกว่าความเจริญทางด้านวิทยาการใด ๆ   นอกจากนั้น  เมื่อเด็กคิดและเคยชินต่อการแก้ปัญหาตามวัยไปทุกระยะแล้วเมื่อเป็นผู้ใหญ่ย่อมสามารถแก้ปัญหาชีวิตได้

6.     ธรรมชาติของวิชาคณิตศาสตร์

        กรมวิชาการ    (2539  :  4-5)   ได้กล่าวสรุปถึงธรรมชาติของวิชาคณิตศาสตร์ไว้  ดังนี้

                        คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีลักษณะเป็นนามธรรม  โครงสร้างของคณิตศาสตร์ประกอบด้วย  คำที่เป็นอนิยาม  บทนิยาม  และสัจพจน์   แล้วพัฒนาเป็นทฤษฎีบทต่าง ๆ  โดยอาศัยการใช้เหตุผลอย่างสมเหตุสมผลปราศจากข้อขัดแย้งใด ๆ   คณิตศาสตร์เป็นระบบที่มีความคงเส้นคงวา  มีความเป็นอิสระและมีความสมบูรณ์ในตัวเอง

                        ระบบจำนวนระบบแรกที่มนุษย์ใช้คือระบบจำนวนนับ  ระบบนี้ประกอบด้วยจำนวนนับ   1 , 2 , 3 , 4 , ....    กับการบวกและการคูณ  ระบบนี้ไม่เพียงพอ  เช่น  สมการ  (  )   + 3 = 2  ไม่มีคำตอบในระบบจำนวนนับ  จึงได้มีการขยายระบบจำนวนนับเป็นระบบจำนวนเต็ม  ...  , -3 , -2 , -1 , 0 , 1 , 2 , ...    กับการบวกและการคูณจะเห็นว่า  (  )  + 3 =  2  มีคำตอบในระบบจำนวนเต็ม  แต่สมการ  3x = 2  ไม่มีคำตอบในระบบจำนวนเต็ม  จึงได้ขยายความระบบจำนวนเต็มเป็นระบบาจำนวนตรรกยะ  ระบบนี้ประกอบด้วยจำนวนตรรกยะ  แต่  x2 = 2   ไม่มีคำตอบในระบบจำนวนตรรกยะจึงได้มีการขยายความจำนวนตรรกยะเป็นระบบจำนวนจริงและเรียกจำนวนจริงที่ไม่ใช้จำนวนตรรกยะว่าจำนวนอตรรกยะ

                        สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ  (2540  : 1)   กล่าวว่าคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีลักษณะเป็นนามธรรม  อาศัยการให้เหตุผลอย่างสมเหตุสมผลปราศจากข้อขัดแย้งใด ๆ  คณิตศาสตร์เป็นระบบที่มีความคงเส้นคงวา  มีความเป็นอิสระและมีความสมบูรณ์ในตัวเอง  ดังนั้น  จึงสามารถสรุปธรรมชาติของคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้

                        1.     คณิตศาสตร์เป็นวิชาเกี่ยวกับความคิดรวบยอด  (Concept)  ความคิดรวบยอดนี้เป็นการสรุปข้อคิดที่เหมือนกัน  อันเกิดจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้น  เช่น  ของสองหมู่  ถ้าจับหนึ่งต่อหนึ่งได้พอดีแสดงว่าจำนวนเท่ากัน

                        2.     คณิตศาสตร์เป็นนามธรรม  (Abstract)  เป็นเรื่องของความคิด  คำทุกคำ  ประโยคทุกประโยคในวิชาคณิตศาสตร์ว่าด้วยนามธรรมทั้งสิ้น  ทั้งนี้สือเนื่องมาจากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เริ่มต้นจากนิยามที่เป็นนามธรรม  เช่น 1 เป็นอนิยามซึ่งเป็นนามธรรม

                        3.     คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ใช้สัญลักษณ์   สัญลักษณ์ที่ใช้แทนความคิดเป็นเครื่องมือในการฝึกสมอง  ช่วยให้เกิดการกระทำในการคิดคำนวณ  การแก้ปัญหาการพิสูจน์  เช่น  +  -  x  ÷

                        4.     คณิตศาสตร์เป็นภาษาอย่างหนึ่งมีการกำหนดสัญลักษณ์ที่รัดกุมสื่อความหมายที่ถูกต้องเพื่อแสดงความหมายแทนความคิดเช่นเดียวกับภาษาอื่น ๆ  เช่น  5 2  =  3   ทุกคนต้องมีความเข้าใจว่าหมายถึงอะไร  จะได้คำตอบเป็นอย่างเดียวกัน

                        5.     คณิตศาสตร์มีลักษณะเป็นตรรกศาสตร์  มีการแสดงเป็นเหตุเป็นผลต่อกันทุกขั้นตอนของความคิดจะเป็นเหตุเป็นผลต่อกัน  มีความสัมพันธ์กัน  เช่น  2 x 3 = 3 x 2

                        6.     คณิตศาสตร์มีลักษณะเป็นปรนัยอยู่ในตัวเอง  มีความถูกต้องเที่ยงตรงสามารถพิสูจน์หรือทดสอบได้ด้วยเหตุผลและการใช้กฎเกณฑ์ที่แน่นอน  เช่น  4 + 1 =  ? 

                        7.     คณิตศาสตร์มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์  โดยสร้างแบบจำลองและศึกษาความสัมพันธ์ของปรากฏต่าง ๆ  มีการพิสูจน์  ทดลอง  หรือสรุปอย่างมีเหตุผลตามความจริง

                        8.     คณิ

หมายเลขบันทึก: 227450เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2008 07:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ป่วยอาการดีขึ้นหรือยัง ค่ะ ขอให้หายเร็ว นะค่ะ

                                คนเก่งขอให้หายป่วยไวๆๆนะ

                                 แล้วอย่าโหมงานนักรักษาสุขภาพด้วยนะ

                                 ทุกคนเป็นห่วง

 

ส่งแบบฝึกหัดคณิตทางอีเมลให้พี่ด้วยนะ

ส่งตัวอย่างการคิดเลขเร็วโดยสุ่มเลขโดดเป็นโจทย์ 3  ตัวเลขและ 4 ตัวเลข  โดยได้ผลลัพท์ 2 หลัก  และ 3 หลักตามลำดับให้ด้วยนะครับ  จากครูคณิตศาสตร์จำเป็น

ช่วยคิดที่มาและความสำคัญของโครงงานหน่อยค่ะ โครงงานที่ทำในตอนนี้ก็ประมาณว่าฟีโบนัชชีกับธรรมชาติหนะค่ะแต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มเขียนที่มาและความสำคัญอย่างไรดีชวยหน่อยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท