วิทยาลัยการอาชีพเถิน


โครงการพัฒนาอาชีพแบบบูรณาการเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน
โครงการพัฒนาอาชีพแบบบูรณาการเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน
วิทยาลัยการอาชีพเถิน อาชีวศึกษาจังหวัดลำปาง
            จากการดำเนินโครงการพัฒนาอาชีพแบบบูรณาการเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน ซึ่งได้ดำเนินการกับคนยากจนในชุมชน บ้านแม่แก่ง  ตำบลแม่ถอด อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง  และชุมชนบ้าน ท่ามะเกว๋น ตำบลแม่ปะ อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ที่ได้ลงทะเบียนและไม่ได้ลงทะเบียนกับทางราชการ  ในการดำเนินการดังกล่าว วิทยาลัยการอาชีพเถิน ได้ใช้กระบวนการเรียนรู้อาชีพโดยกระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge   Management  :  KM) ซึ่งผลการดำเนินการพอสรุปได้ดังนี้
1. ด้านการศึกษาปัญหาของชุมชน / ปัญหาครัวเรือน / ปัญหาคนยากจน ก่อนเริ่มดำเนินโครงการ
· วิธีดำเนินการ
วิทยาลัยการอาชีพเถินได้ทำการประสานงานกับทางอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง เพื่อหาข้อมูลกลุ่มผู้ที่ลงทะเบียนคนยากจน ตามแบบ สย.1 ถึง สย.8 ของ ทางอำเภอเถิน และได้คัดเลือกหมู่บ้านเป้าหมายคือบ้านท่ามะเกว๋น ตำบลแม่ปะ อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง และบ้านแม่แก่ง ตำบลแม่ถอด อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง โดยการสำรวจข้อมูล ตลอดจนการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้, การจัดถนนอาชีพ, การสัมภาษณ์,การสร้างแบบสอบถาม
· ผลการดำเนินการ
จากการดำเนินการตามโครงการวิทยาลัยการอาชีพเถินได้คัดเลือกหมู่บ้านเป้าหมายจำนวน 2 หมู่บ้าน ทำการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของชุมชนโดยการสำรวจข้อมูลและการสอบถามจากผู้นำชุมชน และให้ผู้นำชุมชนคัดเลือกกลุ่มผู้ยากจนเข้าร่วมโครงการฯ ทั้งนี้ได้มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมร่วมโครงการจำนวน 54 คน และทำการจัดทำเวทีชาวบ้านขึ้นในวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2549 ได้พบปัญหาต่างๆของชุมชนดังนี้
1. ปัญหาด้านแรงงาน ประชาชนในพื้นที่ประกอบอาชีพทำนาเป็นส่วนใหญ่ หลังจากผ่านพ้นฤดูการเก็บเกี่ยวเรียบร้อย ประชาชนก็ว่างงาน แต่เรื่องการใช้จ่ายก็ยังมีคงเดิม เช่น ค่าเล่าเรียนของบุตร ค่าใช้จ่ายในการครองชีพ
2. ปัญหาด้านน้ำในการทำการเกษตร
3. ปัญหาด้านที่ดินทำกิน
4. ขาดความรู้ในการประกอบอาชีพ
5. ขาดแหล่งเงินทุน
6. ขาดการสนับสนุนด้านการตลาด
วิทยาลัยการอาชีพเถินจึงได้ดำเนินการจัดการโดยใช้ระบบการจัดการการเรียนรู้ KM กับชุมชนและได้กำหนดแนวทางซึ่งเป็นความต้องการของกลุ่มเป้าหมายดังนี้
1. กลุ่มเป้าหมายบ้านแม่แก่ง ต.แม่ถอด อ.เถิน จ.ลำปางได้กำหนดการพัฒนาอาชีพได้2 อาชีพ คือ
· พัฒนาอาชีพการเจียระไนแก้วโป่งข่าม
· อาชีพการทำแหวน
2. กลุ่มเป้าหมายบ้านท่ามะเกว๋น ต.แม่ปะ อ.เถิน จ.ลำปาง ได้กำหนดการพัฒนาอาชีพ 2 อาชีพคือ
· อาชีพการเพาะเห็ดนางฟ้า และเห็ดขอนขาว
· อาชีพการประดิษฐ์ดอกไม้แห้ง
ทั้งนี้วิทยาลัยการอาชีพเถินได้ทำโครงการ เพื่อพัฒนาอาชีพเดิมและเสริมอาชีพใหม่ รวมถึงการจัดการระบบของกลุ่มเป้าหมาย ให้สามารถแก้ไขปัญหาความยากจน ทั้งหมด 10 โครงการ 1 กิจกรรม ดังนี้
1. โครงการพัฒนาอาชีพการเจียระไน
2. โครงการพัฒนาอาชีพการทำแหวน
3. โครงการอบรมการเพาะเห็ดนางฟ้า และเห็ดขอนขาว
4. โครงการอบรมการประดิษฐ์ดอกไม้แห้ง
5. โครงการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต
6. โครงการพัฒนาและส่งเสริมการขาย
7. โครงการทัศนศึกษาดูงาน
8. โครงการถนนอาชีพ
9. โครงการการติดตามและประเมินผลโครงการพัฒนาอาชีพแบบบูรณาการฯ
10. กิจกรรมเวทีชาวบ้าน และอบรมสัมมนา
11. โครงการจัดทำวัสดุเผยแพร่โฆษณา
2. ด้านการใช้ความรู้
· วิธีดำเนินการ
วิทยาลัยการอาชีพเถินได้ประสานงานกับผู้ที่ชำนาญการในแต่ละเรื่องที่กลุ่มชาวบ้านต้องการพัฒนา และดำเนินการ ตามแผนการพัฒนาอาชีพ ทั้ง 4 อาชีพ ดังนี้
1. อาชีพการเจียระไนแก้วโป่งข่าม มีกลุ่มเป้าหมายจำนวน 13 คน เข้ารับการอบรมเทคนิคการเจียระไน ณ อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย โดยมีวิทยากรในการอบรมเป็นช่างเจียระไนพลอยที่ชำนาญ ซึ่งการอบรมกลุ่มชาวบ้านได้รับการอบรมวิธีการเจียระไน และได้รับเทคนิคใหม่ๆ ในการเจียระไน และนำมาประยุกต์ใช้ในการเจียระไนแก้วโป่งข่ามซึ่งเป็นของประดับที่ขึ้นชื่อในอำเภอเถิน
2. อาชีพการทำแหวน มีการอบรมกลุ่มชาวบ้านจำนวน 9 คน เข้ารับการฝึกการทำแหวนโดยใช้วิทยากรท้องถิ่น ซึ่งมาให้ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งใช้ทองเหลืองเป็นวัตถุดิบในการผลิตแหวน ใช้เงินเป็นตัวประสานให้ทองเหลืองเชื่อมติดกันและได้นำกลุ่มเป้าหมายศึกษาดูงานที่ ศูนย์อัญมณีจังหวัดพะเยา
3. อาชีพการเพาะเห็ดนางฟ้าและเห็ดขอนขาว มีการอบรมกลุ่มชาวบ้านจำนวน 11 คน กระบวนการเพาะเห็ดของกลุ่มบ้านท่ามะเกว๋น เป็นอาชีพใหม่ที่ชาวบ้านต้องการ วิทยาลัยฯ จึงจัดการอบรมกรรมวิธีการเพาะเห็ดดังกล่าวโดยเชิญวิทยากรในท้องถิ่น ที่ทำอาชีพการเพาะเห็ดขาย มาอบรมกับกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดที่มาตรฐาน และใช้วัตถุดิบท้องถิ่นเป็นหลัก
4. อาชีพการประดิษฐ์ดอกไม้ มีการอบรมกลุ่มชาวบ้านจำนวน 18 คน จากเดิมกลุ่มแม่บ้านบ้านท่ามะเกว๋น ได้เคยมีการรวมกลุ่มกันเพื่อประดิษฐ์ หรือสานตะกร้าจากเครือเถาวัลย์ ซึ่งก็ผลิตขึ้นมาเป็นจำนวนมากแต่กลับขายไม่ได้ จึงได้มีการคิดที่จะหา แนวทางในการจำหน่ายผลผลิต วิทยาลัยฯ จึงได้ทำการจัดหาวิทยากรในการแนะนำและให้ความรู้เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้ดีขึ้น ตลอดจนการอบรมการประดิษฐ์ดอกไม้แห้ง ชนิดต่างๆ เช่นการประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้าใยบัว การประดิษฐ์ดอกกล้วยไม้จากดิน เป็นต้น
· ผลการดำเนินการ
จากการดำเนินโครงการมีการให้ และใช้ความรู้ในเรื่องกระบวนการพัฒนาอาชีพของกลุ่มเป้าหมาย และการทำบัญชีครัวเรือน โดยการใช้รูปแบบเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในชุมชน และการศึกษาแหล่งเรียนรู้จากการศึกษาดูงานในสถานที่ประสบความสำเร็จ เช่นกลุ่มเพาะเห็ดบ้านท่ามะเกว๋น ไปทัศน-ศึกษาดูงาน กลุ่มเพาะเห็ดและจำหน่ายเชื้อเห็ด บ้านหม้อ ตำบลพิชัย อ.เมือง จังหวัดลำปาง และกลุ่มการเจียระไนพลอยไปทัศนศึกษาดูงาน และเข้ารับการอบรมจากกลุ่มการเจียระไนพลอย บ้านใหม่สามหลัง อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย และ ศูนย์อัญมณีภาคเหนือ จังหวัดพะเยา ประชาชนกลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจเป็นอย่างดี จึงส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากชุมชนเริ่มมีการพัฒนา และเปลี่ยนรูปแบบการผลิต เพื่อความต้องการของตลาด อาทิเช่น กลุ่มการเจียระไนแก้วโป่งข่าม ได้มีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จากรูปทรงกลม ให้เป็นการพัฒนาในรูปแบบทรงเหลี่ยม คล้ายกับการเจียระไนพลอย เพื่อนำไปประกอบเป็นหัวแหวน ซึ่งกระบวนการจึงเชื่อมโยงกันภายในหมู่บ้าน อยู่ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเจียระไน กับกลุ่มทำแหวน กลุ่มการเจียระไนจะทำการส่งสินค้าให้กับกลุ่มทำแหวนเพื่อนำแก้วโป่งข่ามไปประกอบเป็นแหวน การดำเนินการเป็นระบบกลุ่มชุมชน มีการจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานภายในกลุ่ม รวมถึงการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย และการจ่ายผลตอบแทนให้กับสมาชิกของกลุ่ม

3. ด้านการใช้กระบวนการจัดการความรู้ (KM)
· วิธีดำเนินการ
มีการฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้ให้กับชุมชนเป้าหมายตามแนวทางของการจัดการความรู้ มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อค้นหาสาเหตุของปัญหา มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ในอาชีพต่างๆ โดยชุมชน การค้นหาอาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ทั้งเป็นรายบุคคล และกลุ่มประชาคม ตามศักยภาพของชุมชน บุคคล ทั้งนี้มุ่งให้ชุมชนเกิดรายได้ และพึ่งตนเองได้ การจัดถนนอาชีพเพื่อให้คนจนกลุ่มเป้าหมายได้ศึกษาหาความรู้ตามอาชีพที่ตนเองต้องการ
· ผลการดำเนินการ
ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องวิธีการคิดแก้ปัญหาให้กับตนเอง ชุมชน สอดคล้องกับศักยภาพของชุมชนอย่างแท้จริง เกิดการเรียนรู้อาชีพต่างๆ เช่นอาชีพการเจียระไนแก้วโป่งข่าม อาชีพการทำแหวน อาชีพการเพาะเห็ด และอาชีพการประดิษฐ์ดอกไม้ ตามที่ต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง ซึ่งจะส่งผลในด้านเพิ่มรายได้ ลดค่าใช้จ่ายในชุมชน บุคคลในที่สุด นอกจากนี้ทำให้เกิดโครงการต่างๆ เช่น โครงการพัฒนาอาชีพการเจียระไน โครงการพัฒนาอาชีพการเพาะเห็ด โครงการพัฒนาอาชีพการทำแหวน โครงการพัฒนาอาชีพประดิษฐ์ดอกไม้แห้ง โครงการพัฒนาและส่งเสริมการขาย โครงการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต ที่จะสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นโครงการโดยชุมชน เพื่อชุมชน และเป็นของชุมชน นอกจากนี้ยังเกิดการสร้าง web.blog ที่มีการแลกเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง
4. ด้านการสร้างภาคีพันธมิตรให้แข็งแกร่ง
· วิธีดำเนินการ
มีการแต่งตั้งคณะกรรมการที่รับผิดชอบที่เป็นเจ้าภาพหลัก เจ้าภาพรอง และเจ้าภาพร่วม รวมทั้งได้เชิญองค์กรต่างๆ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เทศบาลตำบลล้อมแรด ศูนย์อุตสาหกรรมอัญมณี รวมถึงหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนเป้าหมายทั้งสองชุมชน
· ผลการดำเนินการ
ได้มีการจัดตั้งเครือข่ายภาคีพันธมิตรจำนวน 7 กลุ่ม ได้แก่
1. กลุ่มการเจียระไนแก้วโป่งข่ามบ้านนาบ้านไร่ ต.แม่ถอด อ.เถิน จ.ลำปาง
2. กลุ่มเจียระไนพลอย อำเภอทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย
3. กลุ่มการเพาะเห็ดบ้านดอนไชย อ.เถิน จ.ลำปาง
4. กลุ่มการประดิษฐ์ดอกไม้เทศบาลตำบลแม่ปุ อ.แม่พริก จ.ลำปาง
5. กลุ่มการทำข้าวแต๋น บ้านเกาะหัวช้าง อ.แม่พริก จ.ลำปาง
6. กลุ่มการเพาะเห็ดบ้านหม้อ อ.เมือง จ.ลำปาง
7. กลุ่มทอผ้าบ้านท่าช้าง หมู่ 2 ต.แม่วะ อ.เถิน จ.ลำปาง
ทั้ง 7 กลุ่มได้มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของกลุ่มภาคีพันธมิตรอย่างชัดเจน ทั้งนี้ให้การดำเนินกิจกรรมมีประสิทธิภาพ ได้กำหนดผู้รับผิดชอบชัดเจน กำหนดวัน เวลา สถานที่ในการร่วมกิจกรรมอย่างชัดเจน
5. ด้านการคัดเลือกผลงานดีเลิศ (The Best Practice)
· วิธีดำเนินการ
ดำเนินการจัดทำเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อค้นหาผลงานที่ดีเลิศ (The Best Practice) ทั้งนี้โดยความร่วมมือของชุมชนเป้าหมาย ภาคีพันธมิตรให้การสนับสนุน การสนับสนุนระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถคัดเลือกผลงานได้ตรงกับความสามารถ และเป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วน
· ผลการดำเนินการ
ผลงานที่ดีเลิศ (The Best Practice) ที่ได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วน ที่เกิดจากชุมชนอย่างแท้จริง ดังนี้ แหวนแก้วโป่งข่าม ของดีเมืองเถิน ดังคำขวัญที่ว่า
“ ส้มเกลี้ยงฉ่ำ น้ำตกงาม โป่งข่ามขลัง วังหินอ่อน ”
6. ด้านการเปลี่ยนแปลงของคนจน ชุมชนกลุ่มเป้าหมาย
· วิธีดำเนินการ
ได้ดำเนินการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลง และปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนจนในชุมชนให้ดีขึ้นตามศักยภาพของตนเอง
· ผลการดำเนินการ
คนยากจนในกลุ่มเป้าหมายในชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดเพื่อการแก้ปัญหาความยากจนให้กับตนเองตามศักยภาพของตนเองเป็นที่น่าพอใจ สังเกตได้จากการที่คนยากจนในชุมชนมีอาชีพการเพาะเห็ด อาชีพการประดิษฐ์ดอกไม้ อาชีพการทำแหวน และอาชีพการเจียระไนแก้วโป่งข่าม ซึ่งเกิดจากการได้รับความรู้ หรือจากการศึกษาดูงาน หรือเกิดจากการแลกเปลี่ยนในกลุ่มของปราชญ์ชาวบ้าน หรือจากผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพมาให้ความรู้ ประสบการณ์ และในที่สุดเกิดโครงการ ทั้ง 4 อาชีพ ซึ่งเป็นอาชีพที่เกิดจากการคิดของชุมชน เพื่อชุมชน และเป็นของชุมชน ที่จะต้องร่วมกันดำเนินกิจกรรมให้บรรลุเป้าหมายต่อไปอย่างต่อเนื่อง
7. ด้านการบริหารโครงการ
· วิธีดำเนินการ
มีการประชุมชี้แจงเกี่ยวกับการบริหารโครงการ การพัฒนาอาชีพแบบบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน วิทยาลัยการอาชีพเถิน ได้จัดผู้รับผิดชอบ ตามโครงการที่ได้รับมอบหมายโดยออกคำสั่งของวิทยาลัยฯ รวม 11 โครงการดังนี้
1. โครงการพัฒนาอาชีพเพาะเห็ดนางฟ้า บ้านท่ามะเกว๋น ผู้รับผิดชอบโครงการ นายยุทธศักดิ์ อุทธจักร
2. โครงการพัฒนาอาชีพประดิษฐ์ดอกไม้แห้ง บ้านท่ามะเกว๋น ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.นุชทิชา ฉิมอ้อย
3. โครงการพัฒนาอาชีพการเจียระไนแก้วโป่งข่าม บ้านแม่แก่ง ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอดิศร จินดารัตน์
4. โครงการพัฒนาอาชีพการทำแหวน บ้านแม่แก่ง ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.กฤษณา สถิตเกิด
5. โครงการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต ผู้รับผิดชอบโครงการ ว่าที่ ร.ต.วิเชียร มุงเมือง
6. โครงการจัดถนนอาชีพ ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.ปวีณา แสนบัวบาน
7. โครงการทัศนศึกษาดูงาน ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมานะ ไชยากุล
8. โครงการจัดทำวัสดุเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจีรวัฒน์ กาชัย
9. โครงการติดตามและประเมินผลโครงการฯผู้รับผิดชอบโครงการ นายชูเกียรติ อุ่นปัญญา,นายมานะ ไชยากุล
10. โครงการพัฒนาและส่งเสริมการขาย ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส.ปวีณา แสนบัวบาน
11. กิจกรรมเวทีชาวบ้าน ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชูเกียรติ อุ่นปัญญา
· ผลการดำเนินการ
การบริหารโครงการ โดยได้แบ่งการบริหารจัดการดังนี้
1) ด้านงบประมาณ มีคณะผู้รับผิดชอบจำนวน 3 คน ประกอบด้วย
1.1 นายธีรเกียรติ กรณ์ทอง ผู้อำนวยการสถานศึกษาวิทยาลัยการอาชีพเถิน
1.2 นายประสิทธิ์ สุโข รองผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการศึกษา
1.3 นายชูเกียรติ อุ่นปัญญา หัวหน้างานหลักสูตรพิเศษ
โดยบริหารงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรจากอาชีวศึกษาจังหวัดลำปาง ตามโครงการพัฒนาอาชีพแบบบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน จำนวน 360,000 บาท และมีแผนการดำเนินการตามโครงการดังนี้
ลำดับที่
โครงการ
งบประมาณ (บาท)
ระยะเวลาดำเนินการ
1
โครงการพัฒนาอาชีพเพาะเห็ดนางฟ้า
30,920
20 ก.พ.- 31 มี.ค. 49
2
โครงการพัฒนาอาชีพประดิษฐ์ดอกไม้แห้ง
29,100
20 ก.พ.- 31 มี.ค. 49
3
โครงการพัฒนาอาชีพการเจียระไนแก้วโป่งข่าม
52,600
20 ก.พ.- 31 มี.ค. 49
4
โครงการพัฒนาอาชีพการทำแหวน
36,840
20 ก.พ.- 31 มี.ค. 49
5
โครงการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต
43,200
20 ก.พ.- 31 มี.ค. 49
6
โครงการจัดถนนอาชีพ
20,160
25-26 มี.ค. 49
7
โครงการทัศนศึกษาดูงาน
5,820
7 มี.ค. 49
8
โครงการจัดทำวัสดุเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์
20,000
20 ก.พ.- 31 มี.ค. 49
9
โครงการติดตามและประเมินผลโครงการฯ
5,200
20 ก.พ.- 31 มี.ค. 49
10
โครงการพัฒนาและส่งเสริมการขาย
73,997
20-31 มี.ค. 49
11
กิจกรรมเวทีชาวบ้าน + อบรมสัมมนา
42,163
1 ต.ค. 48 – 31 ต.ค.49
 
รวม
360,000
 
2) การบริหารงานด้านบุคลากร มีคณะผู้รับผิดชอบจำนวน 5 คน  ประกอบด้วย
2.1 นายธีรเกียรติ กรณ์ทอง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
2.2 นายประสิทธิ สุโข รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
2.3 นายชูเกียรติ อุ่นปัญญา หัวหน้างานหลักสูตรพิเศษ
2.4 นายมานะ ไชยากุล หัวหน้างานโครงการพิเศษ
2.5 นายชัชวาล วงศ์ใหม่ หัวหน้างานบุคลากร
3) การบริหารงานด้านวัสดุ ครุภัณฑ์ มีคณะผู้รับผิดชอบจำนวน 6 คน ทำหน้าที่ในการจัดซื้อวัสดุในการดำเนินโครงการฯ และเป็นคณะกรรมการตรวจรับวัสดุ ให้ถูกต้องตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างของทาง ราชการประกอบด้วย
3.1 นายประสิทธิ์ สุโข ประธานกรรมการ
3.2 นายเก่ง ปัญญาวงศ์ กรรมการ
3.3 น.ส.จีราพร เถินบุรี กรรมการ
3.4 นายชูเกียรติ อุ่นปัญญา กรรมการ
3.5 นายมานะ ไชยากุล กรรมการ
3.6 นายกันชะดาร วงค์แก้ว กรรมการและเลขานุการ
8. ด้านผลสัมฤทธิ์ (เชิงปริมาณ) ของการดำเนินโครงการ
จากการดำเนินโครงการพัฒนาอาชีพแบบบูรณาการเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ โดยภาพรวมเกิดผลสัมฤทธิ์เชิงปริมาณ พอสรุปได้ดังนี้
· จำนวนคนยากจนที่ได้รับการเรียนรู้อาชีพ จำนวน 54 คน ซึ่งกระจายในหมู่บ้านต่างๆ จำนวน 2 หมู่บ้าน คือ บ้านท่ามะเกว๋น จำนวน 27 คน และบ้านแม่แก่งจำนวน 27 คน
· จำนวนรายได้เฉลี่ยต่อคนเพิ่มขึ้นจากเดิม ตามโครงการดังนี้
o การทำแหวน 150 บาท รายได้เฉลี่ยต่อคนก่อนเข้าร่วมโครงการ 100 บาท
o การเจียระไนแก้วโป่งข่าม 200 บาท รายได้เฉลี่ยต่อคนก่อนเข้าร่วมโครงการ 120 บาท
o การประดิษฐ์ดอกไม้แห้ง 120 บาท รายได้เฉลี่ยต่อคนก่อนเข้าร่วมโครงการ 80 บาท
o การเพาะเห็ดนางฟ้า 150 บาท รายได้เฉลี่ยต่อคนก่อนเข้าร่วมโครงการ 100 บาท
· จำนวนคนที่หลุดพ้นจากความยากจน สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีจำนวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 76 ของจำนวนคนจนที่เข้าร่วมโครงการ (จำนวนคนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 54 คน)
9. ข้อเสนอแนะ ในการแก้ปัญหาความยากจน
· การแก้ปัญหาความยากจนของชาวบ้านความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้จะต้องมีความร่วมมือของชาวบ้าน และเป็นความต้องการของชาวบ้าน โดยวิทยาลัยฯ ทำหน้าที่คอยกระตุ้นเพื่อให้เกิดแรงใจ เกิดพลังความคิด และความร่วมมือกันภายในหมู่บ้าน เพื่อนำไปสู่จุดหมายของทางชุมชนที่ได้ตั้งไว้
· กลุ่มชาวบ้านมีอาชีพทำนา และพอผ่านพ้นจากการทำนาก็ว่างงานชาวบ้านส่วนใหญ่จึงเข้าไปขายแรงงานในเมืองหลวง เพื่อหาเงินเลี้ยงชีพ และค้ำจุนครอบครัว บางคนที่มีบุตร อยู่ระหว่างศึกษามีภาระที่จะต้องใช้เงินอยู่ทุกวัน จึงไม่สามารถที่จะเข้าร่วมโครงการได้ เพราะการเข้าร่วมโครงการไม่มีเงินที่จะนำมาใช้จ่ายเป็นรายวัน และกว่าจะขายผลผลิตที่ผลิตได้จากชุมชนใช้เวลานาน บางที่ก็ขายสินค้าไม่ได้ สินค้าก็คงค้างอยู่ภายในกลุ่ม
· การเข้าร่วมโครงการของชาวบ้านเพียงแค่เป็นการหาอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้เท่านั้น ไม่สามารถที่จะนำมาประกอบเป็นอาชีพหลัก
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 22715เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2006 16:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 15:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท