ความเป็นไปได้ในการจัดการความรู้ของผู้ป่วย


ผู้ป่วยเรื้อรังมีชีวิตอยู่กับความเจ็บป่วยยาวนาน มีประสบการณ์ในการดูแลตนเองและจัดการปัญหาจากความเจ็บป่วย จึงมีความรู้ฝังลึกในเรื่องนี้

ดิฉันเคยเสนอความคิดไปครั้งหนึ่งว่าน่าจะลองริเริ่มให้มีการจัดการความรู้ของผู้ป่วยเรื้อรังดูบ้าง (เก็บตกจากงานสอน) เพราะผู้ป่วยเรื้อรังมีชีวิตอยู่กับความเจ็บป่วยยาวนาน มีประสบการณ์ในการดูแลตนเองและจัดการปัญหาจากความเจ็บป่วย จึงมีความรู้ฝังลึกในเรื่องนี้ โดยที่หัวปลาอาจเป็น "การดูแลตนเอง"

เมื่อได้ศึกษากิจกรรมที่โรงพยาบาลต่างๆ จัดขึ้นสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ยิ่งมองเห็นความเป็นไปได้ของกิจกรรมนี้มากขึ้น เพราะขณะนี้โรงพยาบาลหลายแห่งมี "ชมรมผู้ป่วยเบาหวาน" "กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน" อยู่แล้ว บางแห่งก็ได้จัดกิจกรรมกลุ่มในลักษณะที่ให้ผู้ป่วยเบาหวานมาพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน อาทิ โรงพยาบาลชุมพวง (ให้ความรู้แบบกลุ่มย่อย ที่ชุมพวง) จังหวัดนครราชสีมา ศูนย์สุขภาพชุมชนอรพิมพ์ (สถานีอนามัยนาราก) จังหวัดนครราชสีมา โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส (เปลี่ยน Sugar Clinic เป็นการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน) โรงพยาบาลคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา เป็นต้น

ล่าสุดคือโรงพยาบาลบ้านตาก คุณเกศราภรณ์ ภักดีวงศ์ ได้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เล่าให้ศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ทราบว่าโรงพยาบาลบ้านตาก จะนำแนวทาง KM มาใช้ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน ดิฉันได้ขออนุญาตคุณเกศราภรณ์แล้วว่าขอนำข้อความในจดหมายของเธอมาลงใน Weblog เพื่อให้สมาชิกได้ทราบแนวคิดและแนวทางการดำเนินงานด้วย ดังนี้ 

"ตอนนี้ปัญหาเรื่องโรคของ ร.พ.บ้านตาก เปลี่ยนจากโรคถุงลมโป่งพองมาเป็นเบาหวาน เกศได้เชิญผู้เกี่ยวข้องมาร่วมปรึกษา ทุกคนเห็นด้วยจะให้นำแนวทาง KM มาใช้ ขณะนี้เลยเกิดชุมชนนักปฏิบัติในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานทั้งในโรงพยาบาลและ PCU ซึ่งใน ร.พ.ได้จัดกิจกรรมไป 1 รอบ โดยนำผู้ป่วยที่ดูแลตัวเองดีควบคุมน้ำตาลได้มาเล่าให้ผู้ป่วยที่มีน้ำตาลเกิน 180 mg% ฟัง โดยมีพยาบาลเป็นผู้ควบคุมกลุ่ม คิดไว้ว่าทำไปสักระยะคงให้ผู้ป่วยควบคุมกลุ่มกันเอง โดยมีพยาบาลคอยจัดเวทีให้เท่านั้น ส่วนที่ PCU ก็ทำในลักษณะเดียวกัน แต่อนาคตวางแผนจะแลกเปลี่ยนในหมู่บ้าน ข้ามหมู่บ้าน แล้วผลักดันให้ผู้ป่วยไปดูแลกลุ่มในหมู่บ้านกันเอง ........เหตุที่ทำกับผู้ป่วย เพราะคิดว่าในองค์กรเราพอจะอยู่ตัวแล้ว เพราะทุกงานลื่นไหลไปได้เอง"

ดิฉันคิดว่ากิจกรรมกลุ่มสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่เราดำเนินการอยู่นั้น ถ้าต่อยอดโดยนำกระบวนการจัดการความรู้มาใช้ มีการบันทึก "ขุมความรู้" และหา "แก่นความรู้" ก็น่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และยังเป็นแนวทางสำหรับผู้ป่วยเรื้อรังกลุ่มอื่นๆ อีกด้วย

วัลลา ตันตโยทัย วันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๘

 

หมายเลขบันทึก: 2269เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2005 16:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2012 23:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ผมขอเสนอเทคนิค 2  อย่าง เพื่อช่วยให้ KM เป็นจริง โดยที่ท่าน ศ.นพ.วิจารณ์ ไม่รู้ ดังนี้ครับ

 1. การบันทึกขุมความรู้ แบบ Knowledge Warehouse สามารถใช้ IT ทำเป็น Expert System หรือ Case-based Reasoning ได้ครับ

 

2. การหาแก่นความรู้ หรือ Knowledge Discovery ผมแนะนำให้ใช้ Artificial Neural Networks เพื่อช่วยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรค หรือปัจจัยที่ช่วยบรรเทาความเจ็บปวด จาก Knowledge Discovery ได้  เป็นกฎที่น่าจะนำไปเผยแพร่ต่อไป หรือที่เรียกว่า Best Practise ได้ครับ

http://www.jojohosting.com 

จ่าเอกชาญยุทธ ศรีนวลจันทร์

อยากได้ข้อมูลความรู้เรื่องการจัดการความรู้เรื่องโรคเบาหวานสู่การปฏิบัติเพื่อนำมาประกอบการทำวิจัย

สุนันทา สวรรค์ปัญญาเลิศ

ขอคำแนะนำ ตัวอย่าง หรือ S/W ที่จะทำมาทำระบบ expert system คะ

เคยเห็นตัวอย่างที่ต่างประเทศใช้ทำ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นค่ะ แต่จำชื่อ S/W ไม่ได้

ขอพระคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท