ชีวิตพอเพียง


อ่านเศรษฐกิจพอเพียงคราวใดก็ให้นึกถึงชีวิตพอเพียงทุกคราวไป

- หญิง-ชาย ที่ยังแสวงหาความรักและที่พึ่งความไม่อิ่มเต็มให้ตนเอง แสวงหาเท่าไรก็ไม่รู้จักจบสิ้น : เมื่อไรจะพอ

- ผู้ใฝ่กับการก้าวไปอยู่แถวหน้าในสังคมโดยไม่สนใจใยดีกับสิ่งรอบข้าง : เมื่อไรจะพอ

- ผู้แสวงหาความยั่งยืนในฐานะ ตำแหน่ง : เมื่อไรจะพอ

- ผู้พยายามให้เก้าอี้ความเป็นผู้นำของประเทศมีความเป็นอมตะ : เมื่อไรจะพอ

คำตอบคือ ตราบเท่าที่คนยังมีความโลภ โกรธ หลง อย่าหาความพอเพียงจากคนเหล่านั้นเลย

เกี่ยวกับชีวิตพอเพียง ทำให้ผมนึกถึงหลักอาศรม ๔ ของศาสนาพราหมณ์ที่พยายามแบ่งหน้าที่ชีวิตของตนๆ เป็น ๔ ช่วงคือ

วัยที่หนึ่ง "พรหมจารีย์" เป็นวัยของชีวิตที่มุ่งมั่นในการศึกษาหาความรู้จวบจน ไม่ยุ่งเกี่ยวกับเพศตรงข้าม ปฏิบัติตามหลักฮินดูธรรม พร้อมกับการทำหน้าที่ของความเป็นบุคคลที่ดี เช่น ลูกที่ดี ประชากรโลกที่ดี ฯลฯ จวบจนอายุ ๒๕ ปี

วัยที่สอง "คฤหัสถ์" เป็นวัยของชีวิตจากอายุ ๒๕ ปี คลื่นตัวจากหลักการชีวิตเดิม พัฒนาเข้าสู่การประกอบอาชีพด้วยหลักวิชาที่ศึกษาเล่าเรียนมา พัฒนาการประพฤติตน ตั้งหน้าตั้งตาทำงาน บริหารกิจการครอบครัว องค์กร หน่วยงาน ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

วัยที่สาม "วานปรัสถ์" เป็นวัยของชีวิตจากอายุ ๕๐ ปี สละทรัพย์สิน กิจการ ตำแหน่งหน้าที่ โดยไม่ยึกติดกับความลวงเหล่านั้น จากนั้นจึงแสวงหาความสงบทางใจ เราอาจตีความไปถึงการอ่านหนังสือ การฝึกจิต การเรียนรู้เนื้อหาในการพัฒนาจิตและร่างกายกับผู้รู้ทั้งหลาย

วัยที่สี่ "สันยาสี" เป็นวัยสุดท้าย เริ่มจากอายุ ๗๕ ปี เป็นต้นไป เป็นวัยที่มีแต่ให้กับให้ ในที่นี้หมายถึงให้ความรู้ที่เป็นแสวงสว่างทางปัญญาให้กับผู้เข้ามาอบรมหรือแสวงหาความสงบทางจิต

ผมเห็นว่า ชีวิตดังกล่าวนี้เป็นชีวิตที่มีคุณค่ายิ่ง เป็น "ชีวิตที่พอเพียง"

"อย่ากลัวว่าสิ่งที่เราทำได้ คนอื่นจะทำไม่ได้ สิ่งที่น่ากลัวคือ เราทำไม่ได้อย่างที่คนอื่นต้องการต่างหากเล่า"

คำสำคัญ (Tags): #ศาสนาและปรัชญา
หมายเลขบันทึก: 22630เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2006 10:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2015 10:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท