Kick-off meeting KPI 20


ตัวชี้วัดตัวนี้ จะทำให้องค์กรต้องมีการถ่ายทอดยุทธศาสตร์ของกรมฯ สู้ระดับกอง/สำนัก ฯ และ ระดับบุคคล เป็นตัวผลักดันให้มีการบริหารงานเชิงยุทธศาสตร์ทั่วทั้งองค์กร

             วันนี้ (4 เมษายน 2549) เวลา 13.30 น. ได้เข้าร่วมประชุมเพื่อเปิดตัว (Kick-off meeting) KPI 20  การถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมายระดับองค์กรสู่ระดับบุคคลของกรมส่งเสริมการเกษตร  ณ ห้องประชุมกรมส่งเสริมการเกษตร ชั้น 5  โดยการประชุมในวันนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานเรื่องการถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมายของระดับองค์กรสู่ระดับบุคคล ให้เป็นที่รับรู้ร่วมกันอย่างทั่วถึง มีความเข้าใจในหลักการ วิธีคิด และวิธีการที่จะนำไปปฏิบัติต่อในระดับกอง/สำนัก/เขต ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

               ดร.นันทา บูรณะธนัง ผู้อำนวยการกลุ่มติดตามและประเมินผล กองแผนงาน ได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ และให้ความรู้ความเข้าใจหลักการของตัวชี้วัดที่ 20   โดยมีสาระสำคัญ ดังนี

                วัตถุประสงค์ของการประชุม    เพื่อชี้แจง

                 1. หลักการแนวคิดของตัวชี้วัดที่ 20       

                 2. แนวทางการดำเนินงาน ปี 49

                 KPI ที่ 20 คืออะไร                              

                 - กรมส่งเสริมการเกษตรได้เลือกเป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งในคำรับรองการปฏิบัติราชการของกรมส่งเสริมการเกษตร 

                 - สืบเนื่องจากการบริหารราชการแนวใหม่ ที่เน้นการบริหารแบบมุงผลสัมฤทธิ์ ต้องมีตัวชี้วัดที่ชัดเจน  ต้องมีแผนยุทธศาสตร์  มีตัวชี้วัดองค์กรที่สะท้อนความสำเร็จตามยุทธศาสตร์ โดยปกติองค์กรจะมีการจัดทำยุทธศาสตร์อยู่แล้ว แต่มักไม่มีการถ่ายทอดให้แก่หน่วยงานระดับล่าง ตัวชี้วัดตัวนี้  จะทำให้องค์กรต้องมีการถ่ายทอดยุทธศาสตร์ของกรมฯ  สู้ระดับกอง/สำนัก ฯ และ ระดับบุคคล  เป็นตัวผลักดันให้มีการบริหารงานเชิงยุทธศาสตร์ทั่วทั้งองค์กร  กรมส่งเสริมการเกษตร มีความตั้งใจที่จะทำการถ่ายทอดยุทธศาสตร์ของกรมฯ สู่ ระดับกอง/สำนัก สู่ระดับบุคคล 

                 KPI ที่ 20 หมายถึง 

                 - การวัดความสำเร็จที่ส่วนราชการจัดให้มีระบบประเมินผลการดำเนินงานภายในส่วนราชการ (Internal Performance Agreement : IPA)  มี 5 ขั้นตอน

                 -โดยจะต้องจัดให้มีระบบในการถ่ายทอดเป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ตามพันธกิจ และยุทธศาสตร์ของส่วนราชการไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ

                 -กำหนดเป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงานและเป้าหมายในระดับหน่วยงานจนถึงระดับบุคคล และจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ รวมถึงจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามเป้าหมาย

                การแปลงระบบประเมินผลลงสู่ระดับสำนัก/กองและระดับบุคคล

                - การถ่ายทอดยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย กลยุทธ์ และการวัดผลสัมฤทธิ์ จาก แผนการบริหารราชการแผ่นดิน 4 ปี  สู่ แผนปฏิบัติราชการ (4 ปี) ของกระทรวงฯ/ กรมฯ กลุ่มจังหวัด /จังหวัด  สู่แผนปฏิบัติราชการ (รายปี) ของกระทรวงฯ กรม กลุ่มจังหวัด/จังหวัด 

                ภาพรวมการถ่ายทอดเป้าประสงค์องค์กรลงสู่ระดับสำนัก/กอง/เขต

                ระดับองค์กร           - เป้าประสงค์และตัวชี้วัดในระดับองค์กร

                ระดับสำนัก/กอง      - บทบาทหน้าที่และภารกิจของกอง/สำนักที่สนับสนุนต่อเป้า ประสงค์และตัวชี้วัดในระดับองค์กร  และ บทบาทหน้าที่และภารกิจในงานประจำของกอง/สำนัก

                                           -เป้าประสงค์ในระดับกอง/สำนัก

                                           -ตัวชี้วัดในระดับกอง/สำนัก

                                           (ต้องทำในปี 2549)

                 ระดับบุคคล          - บทบาทหน้าที่และภารกิจของบุคคลสนับสนุนต่อเป้า ประสงค์และตัวชี้วัดของผู้บังคับบัญชา   บทบาทหน้าที่ของบุคคล (Job Description)  และงานที่ได้รับมอบหมายพิเศษ

                                           -เป้าประสงค์ระดับบุคคล

                                           -ตัวชี้วัดระดับบุคคล   

                ตามคำรับรองฯ วัดผลสำเร็จของตัวชี้วัดนี้อย่างไร

                - วัดระดับความสำเร็จ    5  ขั้นตอน  คือ

                   ระดับ 1   - มีการจัดทำแผนงาน ตัวชี้วัด ของหน่วยงาน ในปี 2549

                   ระดับ 2   -  มีการยืนยันวิสัยทัศน์  ทำ Strategy Map และจัดทำคำรับรองฯ ระดับกอง/สำนัก

                   ระดับ 3   -  มีการติดตาม ผลงานตามคำรับรองฯ อย่างต่อเนื่อง

                   ระดับ 4   -  มีการประเมินผลตามคำรับรองฯ

                   ระดับ 5   -  มีการเชื่อมโยงแรงจูงใจ

                แนวทางการดำเนินงาน ปี 2549       มี  2  แนวทาง

                1. ทำเพื่อเรียนรู้ในการพัฒนาองค์กร

                    - มีที่ปรึกษาจากภายนอก  ดร.พะสุ เดชะรินทร์ จากจุฬาฯ

                    - วิธีการ คือ Workshop

                    - ขอบเขต  -จัดทำระดับหน่วยงานย่อย (ส่วนกลางและภูมิภาค)

                                   -ระดับบุคคล

                     ส่วนกลาง... กอง/สำนัก    

                     - ทบทวนยุทธศาสตร์  วัตถุประสงค์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด และ Strategy Map ของกรมฯ

                     - จัดทำ Strategy Map ตัวชี้วัด เป้หมาย ระดับกอง/สำนัก/เขต

                     - จัดทำตัวชี้วัด เป้าหมาย ระดับบุคคลพร้อมใช้

                      ส่วนภูมิภาค...จังหวัด

                       - รอผลการทบทวนยุทธศาสตร์ และ Strategy Map ของกรมฯ

                       - จัดทำ Strategy Map  ตัวชี้วัดและเป้าหมายระดับบุคคลพร้อมใช้

                       - ทำจังหวัดนำร่องก่อน..แล้วขยายต่อไป

                       - สนง.กษจ.ปทุทธานี เป็นหน่วยงานนำร่อง ระดับภูมิภาคของ กพร.

                 2. ทำเพื่อเอาคะแนน

                      - ทำเพื่อตอบคำรับรองฯ

                      - ยืนยันวิสัยทัศน์ แผนยุทธศาสตร์

                      - จัดทำแผนยุทธศาสตร์กอง/สำนัก/เขต

                      - จัดทำคำรับรองฯ

                      - ติดตามประเมินผล

                แผนการทำงาน KPI 20

                          กิจกรรม                    ระยะเวลา                  ผู้รับผิดชอบ 

                  1. กำหนดแนวทาง                  เมย.49                  คณะทำงาน RBM

                  2. ยืนยันยุทธศาสตร์                เมย.49                   กองแผนงาน (กผง.)

                  3. ให้ความรู้                          เมย.-ตค.49                RBM/กผง.

                  4. จัดทำแผนยุทธศาสตร์          เมย.49                     กอง/สำนัก/เขต

                  5. จัดทำคำรับรองฯ                 เมย.-พค.49                กพร.

                  6. ออกแบบประเมินผล              พค.49                      RBM

                  7. ออกแบบแรงจูงใจ                มิย.49                       RBM  

                  8. ติดตามประเมินผล                พค.-กย.49                 RBM

                  9. สรุปผลการดำเนินงาน            ตค.49                      RBM  

     

                ในการนี้...ทางคณะทำงานฯ RBM และ กพร. จะได้เปิดคลินิค KPI 20  เพื่อให้คำปรึกษาในการจัดให้แก่ กอง/สำนักต่างๆ  ในวันศุกร์ที่ 7 เมษายน 2549 ณ ห้องประชุมกองพัฒนาการเกษตรพื้นที่เฉพาะ  กรมส่งเสริมการเกษตร ตั้งแต่เวลา 09.30-16.30 น.  หน่วยงานใดมีความประสงค์ขอคำปรึกษา ลงชื่อระบุเวลาได้ที่เลขานุการคณะทำงานฯ ....... 

                                                         

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 22581เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2006 23:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 08:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ขอบคุณ  ที่ได้กรุณาสรุปผลการชี้แจงให้เพื่อนร่วมงานผู้ไม่ได้เข้าร่วมรับฟังในวันดังกล่าว ได้ทราบที่มา และทิศทางของเรื่องนี้ พอเกาะติดสถานการณ์กับเขาได้บ้าง
แวะมาดูแล้วครับ

ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูล ค้นหาข้อมูลเรื่องนี้จาก google ก็พบความรู้เรื่องนี้จาก ดร. ขอนำไปใช้ประโยชน์ด้วยคนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท