แนวโน้มการใช้อีเลิร์นนิงในประเทศไทยและต่างประเทศ


e-Learning

อีเลิร์นนิงสำหรับประเทศไทยได้รับความสนใจและนำไปใช้อย่างแพร่หลายแต่ถือว่าระดับการนำไปใช้ยังอยู่ในขั้นเสริมการเรียน (Supplement) และเติมเต็มการเรียน (Complement) เป็นส่วนใหญ่ มีสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่ใช้อีเลิร์นนิงในระดับที่เป็นการศึกษาทางไกลจำนวนไม่มาก แต่ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกภาคเรียน

การเปิดดำเนินการหลักสูตรในระดับปริญญานั้นกฏกระทรวงมีเกณฑ์และแนวปฏิบัติที่ชัดเจน (ดูรายละเอียดได้จากเอกสารอ้างอิง) ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทรัพยากรการศึกษา (ห้องสมุดออนไลน์ – e-Library) และบุคลากรในด้านการศึกษานอกระบบและการฝึกอบรม อีเลิร์นนิงได้รับการนำไปใช้อย่างแพร่หลายมากกว่าการศึกษาในระบบ ทั้งนี้อาจจะมีสาเหตุมาจากเป้าหมายการศึกษาที่แตกต่างกัน และระเบียบ-กฏหมายของการศึกษาในระบบที่เข้มงวดมากกว่า (เนื่องจากเป็นระดับปริญญา) องค์กรต่างๆในระดับใหญ่ทั้งภาครัฐและเอกชนล้วนมีการฝึกอบรมพนักงานบางส่วนในระบบอีเลิร์นนิงทั้งสิ้น

ในสหรัฐอเมริกาการจัดการศึกษาระดับปริญญาในระบบอีเลิร์นนิงเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง ดังที่ปรากฏในการสำรวจของสมาคมสโลน พบว่าในปี 2004 นั้นมากกว่าร้อยละ 60 ของหลักสูตรระดับปริญญาตรี และปริญญาโท ที่มีการเปิดสอนในระบบอีเลิร์นนิง (หน้า 1) และแนวโน้มจะขยายตัวมากขึ้นทั้งจำนวนหลักสูตร และจำนวนผู้เรียน อีเลิร์นนิงจะมีบทบาทอย่างมากในการศึกษาทั้งในระบบโรงเรียน (formal education) การศึกษานอกระบบโรงเรียน (non formal education) และการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต (informal education)

 รูปแบบของอีเลิร์นนิงอาจจะเปลี่ยนไป เทคโนโลยีที่ใช้อาจจะเปลี่ยนไป แต่สิ่งสำคัญที่จะคงอยู่เป็นหลัก เป็นแนวทางต่อไป คือการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีและระบบเครือข่ายสารสนเทศ

 

เอกสารอ้างอิง

1. Lisa Neal, Diane Miller et al. The Basics of E-learning: An Excerpt from Handbook of Human Factors in

Web Design

http://www.pharm.chula.ac.th/ftp/TheBasicsofELearning.pdf

2. Big Dog and Little Dog., Learning Domains or Bloom's Taxonomy.

http://www.nwlink.com/~donclark/hrd/bloom.html

3. ศรีศักดิ์ จามรมาน., อีเลิร์นนิงระดับปริญญาผุดขึ้นมากมาย

http://www.charm.au.edu/eBook/sloan/pdf/SLOAN2005.pdf

4. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องหลักเกณฑ์การขอเปิดและดำเนินการหลักสูตรในระดับปริญญาในระบบ

การศึกษาทางไกล พ.. 2548”

http://www.pharm.chula.ac.th/ftp/guideline_law.pdf

5. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องแนวปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การขอเปิดและดำเนินการหลักสูตรในระดับ

ปริญญาในระบบการศึกษาทางไกล พ.. 2548”

http://www.pharm.chula.ac.th/ftp/PracticeGuidelineLaw.pdf

6. อนุชัย ธีระเรืองไชยศรี บทเรียนวิชาพื้นฐานอีเลิร์นนิ่ง หลักสูตรผู้เชี่ยวชาญอีเลิร์นนิง โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย

 

 

คำสำคัญ (Tags): #e-learning
หมายเลขบันทึก: 225579เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2008 11:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 14:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แวะเข้ามาอ่าน ตอน 2 ค่ะ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท