dararat
ดร. ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์

การเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย


กิจกรรมการเล่านิทาน

 

 

กิจกรรมการเล่านิทานประกอบการฝึกปฏิบัติจริง

 

 

มีผู้ใช้กิจกรรมการเล่านิทานเพื่อพัฒนาความพร้อมให้เด็กปฐมวัยด้านต่าง ๆ ไม่ว่าด้านอารมณ์จิตใจ สังคมหรือด้านสติปัญญา การนำกิจกรรมเล่านิทานสู่เด็กปฐมวัยนั้น ครูปฐมวัยนอกจากควรตระหนักถึงความสำคัญแล้ว จำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เพราะมีปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่จะทำให้เด็กปฐมวัยเกิดความพร้อมตามจุดมุ่งหมายที่ครูต้องการ ปัจจัยที่กล่าวอย่างเช่น สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ สถานที่ ระยะเวลา เทคนิค วิธีการ กระบวนการต่าง ๆ ฯลฯ

 

 

ผู้เขียนขอย้ำว่า การจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย ครูจะต้องเป็นผู้มีบทบาทที่สำคัญ คือ ครูต้องเข้าใจในวิธีการสอนและต้องอาศัยทฤษฎีจิตวิทยาการสอน ตลอดจนสื่อที่เหมาะสมกับบทเรียน วัยและความสนใจของเด็ก เด็กอายุ 2-7 ปี ตามทฤษฎีทางสติปัญญาของเพียเจท์ จัดอยู่ในช่วงคิดก่อนปฏิบัติงาน (Preoperation stage) เด็กเรียนรู้จากการกระทำโดยอาศัยสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ เพราะเด็กวัยนี้ไม่สามารถเรียนรู้จากสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ สำหรับการพัฒนาเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมการเล่านิทาน ครูต้องเข้าใจการจัดกิจกรรมอย่างลึกซึ้ง มีงานวิจัยของนิสิตปริญญาโท สาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปี 2551 ได้ศึกษาพฤติกรรมการแสดงมารยาทไทยที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัย โดยการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบการฝึกปฏิบัติจริง ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาการเล่านิทานประกอบการฝึกปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กได้ปฏิบัติตามตัวละครตามเนื้อเรื่องในนิทาน เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการแสดงมารยาทไทยที่พึงประสงค์ ซึ่งจะส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีความสามารถในการแสดงมารยาทไทย ในเรื่องการทำความเคารพ มารยาทด้านวาจาและมารยาทด้านการแสดงอิริยาบถ ได้อย่างมีประสิทธิภาพในชีวิตจริงของเด็ก จุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการแสดงมารยาทไทยที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและรายด้านที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบการฝึกปฏิบัติจริง ผลการวิจัยพบว่า เมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการแสดงมารยาทไทยที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัยก่อนการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบการฝึกปฏิบัติจริง และหลังการจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบการฝึกปฏิบัติจริงในสัปดาห์ที่ 1 หลังจัดประสบการณ์การจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบการฝึกปฏิบัติจริงในสัปดาห์ที่ 1 เด็กปฐมวัยมีพฤติกรรมการแสดงมารยาทไทย ที่พึงประสงค์เพิ่มขึ้นก่อนจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบการฝึกปฏิบัติจริง เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ผลการเปรียบเทียบก่อนจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบการฝึกปฏิบัติจริง มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีการเปลี่ยนแปลงที่สูงขึ้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะระยะเวลาในการฝึกกิจกรรมการเล่านิทานประกอบการฝึกปฏิบัติจริงมากขึ้น ทำให้เด็กซึมซับและเกิดจินตนาการโดยกระบวนการเรียนรู้จากการดำเนินกิจกรรมที่ครูเล่าเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมการแสดงมารยาทไทยที่พึงประสงค์ผ่านกิจกรรมการเล่านิทานประกอบการฝึกปฏิบัติจริง ซึ่งมีครูเป็นผู้ชี้แนะแนวทาง ส่งเสริม กระตุ้นให้เด็กคิดและมีจินตนาการจากการแสดงเป็นตัวละครนั้น ๆ การสื่อความหมายและแสดงพฤติกรรมของตัวละครจะทำให้เด็กเข้าใจความรู้สึกที่เกิดจากจิตใจ และเรียนรู้ได้ดีกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเอง การกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ของเด็กที่เกิดจากการกระตุ้นให้เด็กกล้าคิด กล้าแสดงออก เป็นการสะท้อนความคิดเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตที่เกิดจากการปฏิสัมพันธ์ ทำให้เกิดพัฒนาการพฤติกรรมการแสดงมารยาทไทยที่พึงประสงค์ออกมา และในขณะวิจัยได้มีการกำหนดบทบาทครู ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมกระตุ้น และชักนำให้เด็กเสนอความคิด การให้อิสระเด็กในการเลือกใช้อุปกรณ์ การใช้คำถามพูดคุยสนทนากับเด็กในขั้นสรุปนั้นเป็นการพูดคุยถึงตัวละครนั้น ๆ ร่วมกัน ซึ่งเป็นปัญหาที่เด็กพบและประสบการณ์จากการได้ฟังเรื่องที่จินตนาการโดยตรงกับตนเอง ครูให้อิสระทั้งความคิดและการกระทำ เด็กได้รับรู้และเรียนรู้ความคิดของบุคคลอื่นที่มีพฤติกรรมที่ตนได้ปฏิบัติ ทำให้เด็กเรียนรู้และเข้าใจความต้องการของผู้อื่น ปรับพฤติกรรมของตนเองให้เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น เมื่อครูใช้คำถามกระตุ้นเพียงเล็กน้อย เด็กสามารถช่วยกันเสนอความคิดเห็นในการแก้ปัญหา และตกลงหาข้อสรุป วิธีแก้ปัญหากันเองได้ คือเด็กลดการยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง รู้จักปรับตัวยินยอมทำตามเพื่อนและครูบอก

 

 

ฉะนั้นกิจกรรมการเล่านิทานนั้น ไม่ใช่เป็นกิจกรรมที่เล่านิทานให้เด็กฟังอย่างเดียวแล้วทำให้เด็กมีพฤติกรรมตามต้องการหรือตามจุดประสงค์ที่กำหนด จากงานวิจัยที่กล่าวชี้ให้เห็นว่า ครูปฐมวัยจำเป็นต้องมีเทคนิค/วิธีการส่งเสริมและสนับสนุนต่อเนื่องจากกิจกรรมการเล่านิทานด้วยเวลาที่เหมาะสม ความต่อเนื่องของการจัดกิจกรรมยังเป็นสิ่งจำเป็นอีกด้วย ครูปฐมวัยจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้และพัฒนากิจกรรมการเล่านิทานให้มีประสิทธิภาพต่อไป

หมายเลขบันทึก: 225427เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2008 16:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

อ่านแล้วได้ความรู้มากค่ะ และจะนำไปใช้กับเด็กที่ห้องค่ะ

อยากให้ครูปฐมวัยคนอื่นๆ ได้นำไปใช้เพื่อพัฒนาเด็กไทยให้ก้าวหน้า

รบกวนส่งแผนการสอนของอนุบาล2มาให้ดู เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนกิจการกล่านิทานที่มีประโยชน์ต่อเด็ฏQ

มารยาทในการเป็นครูของครูทุกคนดีมาก เพราะว่าครูทุกคนเป็นคนที่มีความรักเด็กและมี

น้ำใจต่อเด็กทุกคน

รักคุณครู ประคองมากๆ และอยากครูกลับมาสอนที่โรงเรียนของเราอีก

กำลังหาบทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เรื่องการเล่านิทานเพื่อพัฒาพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบอยู่ครับ ส่งเค้าโครงครับ

สุชาดา ถิระศุภศรี

การจัดกิจกรรมการเ่ล่านิทานให้กับเด็กปฐมวัย ถือว่าเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก เพราะเด็กไม่สามารถที่จะเรียนรู้จากสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ การเล่านิทานต้องมีปัจจัยหลายๆอย่างมาประกอบกัน เช่น รูปภาพ น้ำเสียง ท่าทางประกอบการเล่านิทานฯ การเล่านิทานให้เด็กฟังต้องใช้เทคนิค วิธีการ หรือกรบวนการอย่างมาก เพื่อใ้ห้เด็กเิกิดการเรียนรู้สูงสุด เมื่อเด็กเกิดการเรียนรู้เค้าก็จะจำในตัวละครที่ครูเล่าให้ฟัง ดังนั้น นิทานที่ครูนำมาเล่าให้เด็กฟัง ควรจะเป็นนิทานที่ปลูกฝังพฤติกรรมที่ดีด้วย เพราะเด็กจะจำพฤติกรรมของตัวละครนั้นๆ การกระทำกิจกรรมต่างๆสามารถทำให้เด็กกล้าที่จะแสดงออก กล้าคิด กล้าำทำได้อีกด้วย

จุฑามาศ กวินธวัชชัย

การเล่านิทานประกอบกับการปฎิบัติจริงเป็นการทำให้นักเรียนมีความอยากรู้อยากเห็นและเด็กเกิดการเรียนรู้จริง เห็นภาพและที่สำคัญที่สุดเป็นการฝึกทักษะการคิด การตัดสินใจของเด็ก การแยกแยะ ดิฉันคิดว่าบทความนี้เป็นบทความที่มีประโยชน์มากๆๆเลยคร่า

กิจกรรมการเล่านิทานเป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง เป็นการสอนนักเรียนโดยการเล่านนิทานให้นักเรียนฟัง ทำให้นักเรียนได้เห็นภาพและเหตุการณ์ ต่างๆ นักเรียนจะเกิดการเรียนรู้จากนิทานที่ครูเล่าให้ฟัง ถ้านิทานเป็นการเล่าเรื่องที่เป็นการยกตัวอย่างเรื่องที่ดี นักเรียนก็จะจดจำและนำสิ่งที่ดีไปเป็นตัวอย่าง

นางสาวสตรี ปฏิการ

การเล่านิทานให้กับนักเรียนปฐมวัยจะทำให้เด็กเกิดความสนุกสนานและยังเป็นการสร้างจินตนาการ

ของเด็ก ให้เด็กได้ใช้ความคิดจากนิทานที่เป็นนามธรรม ให้เกิดเป็นภาพหรือรูปธรรมในความคิดของ

นักเรียนแต่ละคน และยังเป็นการฝึกทักษะการพังได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

ความเหมาะสมของนิทานสำหรับเด็กปฐมวัยจำเป็นต้องคำนึงถึงความสนใจ การรับรู้และความสามารถตามวัยของเด็ก เป็นสำคัญ จึงยังเกิดประโยชน์ที่แท้จริงต่อการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะเริ่มรับรู้นิทานจากภาพที่มองเห็นและเสียงที่ได้ยิน โดยรู้ความหมายไปทีละเล็กทีละน้อย จนสามารถเชื่อมโยงภาพ และคำบอกเล่าที่ได้ยิน ตลอดจนจดจำเนื้อหาและเรื่องราวต่างๆ ที่นำไปสู่การอ่านตัวหนังสือได้อย่างมีความหมายต่อไป

เห็นด้วยกับคุณ สุชาดาค่ะ ที่ว่า  การจัดกิจกรรมการเ่ล่านิทานให้กับเด็กปฐมวัย ถือว่าเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก เพราะเด็กไม่สามารถที่จะเรียนรู้จากสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ การเล่านิทานต้องมีปัจจัยหลายๆอย่างมาประกอบกัน เช่น รูปภาพ น้ำเสียง ท่าทางประกอบการเล่านิทานฯ การเล่านิทานให้เด็กฟังต้องใช้เทคนิค วิธีการ หรือกรบวนการอย่างมาก เพื่อใ้ห้เด็กเิกิดการเรียนรู้สูงสุด เมื่อเด็กเกิดการเรียนรู้เค้าก็จะจำในตัวละครที่ครูเล่าให้ฟัง ดังนั้น นิทานที่ครูนำมาเล่าให้เด็กฟัง ควรจะเป็นนิทานที่ปลูกฝังพฤติกรรมที่ดีด้วย เพราะเด็กจะจำพฤติกรรมของตัวละครนั้นๆ การกระทำกิจกรรมต่างๆสามารถทำให้เด็กกล้าที่จะแสดงออก กล้าคิด กล้าำทำได้อีกด้วย  ดังนั้นครูปฐมวัยจำเป็นต้องมีเทคนิค/วิธีการส่งเสริมและสนับสนุนต่อเนื่องจากกิจกรรมการเล่านิทานด้วยเวลาที่เหมาะสม ความต่อเนื่องของการจัดกิจกรรมยังเป็นสิ่งจำเป็นอีกด้วย ครูปฐมวัยจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้และพัฒนากิจกรรมการเล่านิทานให้มีประสิทธิภาพต่อไป

ชื่นชอบบทความนี้มาก เพราะครูที่สอนในระดับปฐมวัยสามารถนำไปบูรณาการใช้กับการเรียนการสอนได้ เนื่องจากการเล่านิทานให้กับเด็กปฐมวัยฟังนั้นนอกจากเป็นการพัฒนาทักษะในด้านการฟังแล้ว ยังทำให้เด็กเกิดการพัฒนาในด้านการคิดด้วย และทำให้เด็กมีสมาธิมากขึ้น

รพีพันธ์ อะพินรัมย์

ขอบคุณมากค่ะ จะนำไปใช้กับเด็กในห้องเรียน เพราะในช่วงปฐมวัยมีจินตนาการที่สูงมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท