ค็อกเทล (Cocktails)


ค็อกเทล ,Cocktails

 ค็อกเทล (Cocktails) คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึง  เหล้าค็อกเทล ที่ผสมกับเครื่องดื่มที่มี แอลกอฮอล์     ซึ่งตามความเป็นจริง ค็อกเทลมีได้ทั้งประเภท มีแอลกอฮอล์และปราศจากแอลกอฮอล์  ดังนั้น  เครื่องดื่มประเภทค็อกเทล จึงหมายถึงที่ผสมระหว่าง

             -  เหล้า +  เหล้า

             -  เหล้า +  น้ำผลไม้

             -  น้ำผลไม้  +  น้ำผลไม้ ก็เป็นเครื่องดื่มที่เรียกว่า Non Alcoholic Cocktails  ได้เหมือนกัน     ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ไม่ดื่มเหล้า และ เด็ก

การนำเหล้ามาผสมกันเอง หรือนำมาผสมกับน้ำผลไม้ คาดกันว่ามีมานานมากแล้วในยุโรป แต่คำว่า   ค็อกเทล (Cocktails ) ไม่มีใครทราบหลักฐานที่แน่ชัด ค็อกเทล  หมายถึง  เครื่องดื่มที่ใช้เหล้าชนิดใดชนิดหนึ่ง เป็นเครื่องปรุงหลัก  แล้วปรุงแต่งกลิ่นและรสให้ชวนดื่มยิ่งขึ้นด้วยการผสมเครื่องดื่มอื่น ๆ ที่มีกลิ่นและรสที่ต่าง ๆ กัน ตามปกติแล้วค็อกเทลทุกตำรับจะมีเหล้าอยู่ประมาณ 60 % หรือน้อยที่สุด จะต้องไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของเครื่องปรุงทั้งหมด เหล้าที่นิยมใช้ผสมค็อกเทลอาจจะใช้ ยิน  วิสกี้   รัม   วอดก้า   บรั่นดี และอื่น ๆ เมื่อผสมเครื่องปรุงเข้าด้วยกันแล้ว บางตำรับก็เพียงคนพอเข้ากัน บางตำรับก็ต้องเขย่าอย่างแรงกับน้ำแข็ง ค็อกเทลที่ผสมแล้วนิยมเสิร์ฟเย็นจัดในแก้วค็อกเทล การนำเหล้าต่างชนิดมาผสมกันนี้ คาดว่ามีมาแต่โบราณ แต่คำว่า  ค็อกเทล (Cocktails) ไม่มีใครทราบหลักฐานที่มาที่แน่ชัด  มีแต่เพียงคาดว่าน่าจะเกิดขึ้นเนื่องด้วยเหตุต่าง ๆ นา ๆ ดังเช่น John Doxat เล่าไว้ใน The Book of Drinking ถึง 3 เรื่อง แต่ที่น่าสนใจมากที่สุดมีว่าในราวศตวรรษที่ 18  ประชาชนนิยมการตีไก่ (Cock Fighting) กันมาก และมีประเพณีการดื่มอวยชัยให้พรแก่ไก่ตัวที่เป็นผู้ชนะด้วย  เครื่องดื่มที่ใช้ดื่มอวยพรให้ไก่นั้นเป็นเครื่องดื่มผสมที่ประกอบด้วยเหล้าหลายชนิดด้วยกัน จะใช้กี่ชนิดนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนขนหางที่เหลือของไก่ตัวนั้นนอกจากปรุงขึ้นให้มัน หรือ Alec Waugh เล่าไว้ใน Wines and Spirits ซึ่งเป็นหนังสือในชุด Foods of the World ของ Time Life International (Nederland) B.V. ว่าไม่ มีใครรู้แหล่งกำเนิดที่แท้จริงของค็อกเทลเลย แต่มีเรื่องเล่าสนุก ๆ เกี่ยวกับต้นกำเนิดของค็อกเทลว่า  ในระหว่างสงครามเพื่อเรียกร้องอิสรภาพของชาวอเมริกันนั้น  ที่ร้านเหล้าในนิวอิงแลนด์ ซึ่งมิสเบทซี่ เฟลนาแกน เป็นผู้ดำเนินกิจการ บรรดานายทหารต่างพากันมาอุดหนุนอยู่เป็นนิจ  และก็มีอยู่บ่อย ๆ ที่นายทหารเหล่านั้นต่อว่าต่อขานมิสเบทซี่ถึงเรื่องของโทรี  ที่ชอบเข้าไปกรีดกรายเกะกะอย่างไม่กลัวใครเลยขณะที่เขากำลังดื่มกันอย่างกระหาย  คืนวันหนึ่ง เบทซี่เสริฟเหล้าผสมพิเศษให้เหล่านายทหารเหล่านั้นเหล้าที่เสริฟปรุงด้วยรัมผสมกับน้ำผลไม้ แต่ละแก้วตกแต่งด้วยขนหางของได้โต้งโทรี่  ผู้ดื่มส่งเสียงชื่นชมกับเครื่องดื่มชนิดใหม่นั้นเกรียวกราว  บรรดาสมาชิกวงเหล้าได้ยินเสียงอุทานของนายทหารหนุ่มชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งว่า  “Vive Le Coq’s Tail” นักนิรุกติศาสตร์คงไม่เห็นด้วยกับที่มาของคำ แต่ผู้เขียน (Alec Waugh) มีความเป็นว่า คนส่วนมากในซีกโลกตะวันตกยอมรับนิยายเรื่องนี้

        แต่คำว่า ค็อกเทล (Cocktails) มีหลักฐานที่แน่นอนว่าสิ่งตีพิมพ์อเมริกันได้กล่าวถึงค็อกเทลตั้งแต่ต้นปี 1806 และหลังจากนี้อีก 50 ปี ได้มีผู้พิมพ์หนังสือเกี่ยวกับค็อกเทลขึ้นเป็นครั้งแรกในอเมริกา  ผู้คิดค้นตำรับนั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญทางนี้หลายคน เช่น Crusta, Fix, Daisy, Cobbler, Smash และคนอื่นๆ ในปี 1919 นั้น ชาวลอนดอนยังไม่รู้จักวิธีการเสิร์ฟค็อกเทลก่อนอาหารค่ำ แต่หลังจากนี้ก็รับวิธีการเสิร์ฟค็อกเทลไปจากอเมริกา ซึ่งนิยมเสิร์ฟก่อนอาหารมื้อค่ำประมาณครึ่งชั่วโมง  และถือว่าค็อกเทลนี้มีความสำคัญพอ ๆ กับอาหารมื้อค่ำด้วย

           คำว่า Cocktails นั้นมาจากภาษาฝรั่งเศสว่า Coquetel ซึ่งหมายถึงเหล้าผสม  ส่วนค็อกเทลพาร์ตี้กำเนิดขึ้นเมื่อกลางศตวรรษที่ 20 นี้เอง จัดเป็นการเชิญไปเลี้ยงเหล้า ซึ่งอาจจะเลี้ยงกลุ่มใหญ่หรือกลุ่มเล็ก ๆ ก็ได้ เดิมทีเดียวมีการเสิร์ฟชนิดที่เรียกว่า สเตรด (Straight) คือเสิร์ฟเหล้าล้วน ๆ ซึ่งนิยม สก็อต ไอรีส บูบัน หรือ ไวน์ วิสกี้ โดยรินลงบนก้อนน้ำแข็งในแก้วที่เรียกว่า ออนเดอะร็อค” (On the Rock) หรือ เสิร์ฟกับน้ำแข็งบด (crushed Ice) ก็เรียกว่า อินเดอะมิสท์ (In the Mist) เหล้าในแก้วนั้นอาจจะเติมน้ำหรือโซดาก็ได้ แก้วที่ใช้ เดิมที่เดียวก็ใช้แก้วทรงเตี้ย (Short Glass)   กับแก้วทรงสูง   (Highball)   นอกจากเหล้าแล้ว ก็จะมีกับแกล้มประเภทจัดทำเป็นคำ ๆ    เรียกว่า ออร์เดิฟ (Horsd’ oeuvres)  ซึ่งส่วนใหญ่ใช้มือหยิบกินได้ (Finger Food) ซึ่งสะดวกในขณะดื่มเหล้าเป็นอันมากบรรดาออร์เดิฟที่ใช้นั้นสามารถใช้ได้ตั้งแต่ของง่าย ๆ ไปจนของพิถีพิถันปราณีตมากก็ได้ ค็อกเทลนั้นมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปตามความนิยมอยู่เสมอ ๆ ดังตำรับจากโรงแรมต่าง ๆ ในหนังสือเล่มที่ท่านถืออยู่นี้ ก็นับว่าเป็นค็อกเทลที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน และจากหนังสือ ตำนานค็อกเทล (โดย สุรพล โทณะวณิก) กล่าวไว้ว่า  ค็อกเทลเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ใครเป็นผู้ประดิษฐ์สูตรผสมเหล้าประเภทนี้ขึ้น ปัญหานี้ยังมีอาจมีใครระบุได้ชัดแจ้งนัก     เท่าที่มีการสืบประวัติกันมาพอจะกล่าวได้ว่า ชาวยุโรปเป็นชาติแรกที่รู้จักผสมเหล้าเข้ากับน้ำตาล น้ำเย็น กับน้ำผลไม้บางชนิดดื่มกันมาก่อน โดยเฉพาะชาว บอร์โดซ์ (Bordeaux) ของฝรั่งเศส นิยมดื่มเหล้าที่เรียกว่า Coquetel อันเป็นเหล้าผสมชนิดหนึ่งมานานแล้ว      ต่อมาบรรดานายทหารฝรั่งเศสที่ถูกส่งไปประจำกองทัพผสม       ช่วย ยอร์จ วอชิงตัน ทำสงครามประกาศอิสรภาพในสหรัฐอเมริกา ได้นำเหล้าผสมชนิดนี้ไปเผยแพร่ให้ชาวอเมริกันยุคนั้นรู้จักด้วย คำว่า ค็อคแตล์ (Coquetel)    จึงรู้จักกันแพร่หลายนับแต่ยุคนั้นเป็นต้นมา

                ประวัติค็อกเทลบางกระแสก็เล่าสืบ ๆ กันมาว่า มีนักเคมีนายหนึ่งแห่งเมืองนิวออร์ลีนส์ มักจะผสมเหล้าในภาชนะคล้ายถ้วยใส่ใข่ (egg cup) เลี้ยงดูเพื่อนฝูงเสมอ นิตยสาร Balance เล่าไว้ว่า เหล้าผสมในถ้วยใส่ไข่ที่ชาวฝรั่งเศสเรียกว่า ค็อคแตร์ (Coquetiers) ของนักเคมีผู้นี้มีผู้ติดใจกันมาก จนต่อมาชาวอเมริกันก็ได้จำสูตรของพี่แกไปผสมดื่มในถ้วยค็อคแตร์กันมากขึ้น ๆ   จนในที่สุดเหล้าผสมค็อคแตร์   ก็เลยถูกเรียกเพี้ยนไปตามสำเนียงชาวอเมริกันเป็น ค็อกเตอร์ (Cockters) บ้าง จนกลายเป็น ค็อกเทล (Cocktails) ที่เรียกกันติดปากจนทุกวันนี้

                ในสมัยที่อเมริกาเกิดสงครามประกาศอิสรภาพปี ค.ศ. 1779 (ราว พ.ศ. 2322) นั้น มีหญิงม่ายเมียทหารปฏิวัติคนหนึ่งชื่อ เบตซี แฟลนาแกน ตั้งโรงเตี๊ยมขึ้นเพื่อต้อนรับลูกค้าที่เป็นทหารฝรั่งเศสจากกองทัพผสม ซึ่งไปทำการรบช่วยรัฐบาลชุด ยอร์จ วอชิงตัน ใกล้ ๆ กับโรงเตี๊ยมของเบตซี  ก็มีโรงขายเหล้าอีกร้านหนึ่งชื่อ โลแยลลิสต์ ซึ่งเลี้ยงไก่ไว้ทำอาหารด้วย วันหนึ่งเบตซีจัดงานเลี้ยงฉลองเป็นเกียรติแก่เพื่อนชาวต่างประเทศของนางโดยจับไก่จากร้านโลแยลิสท์มาเลี้ยงแขก นางผสมเหล้ารสแปลก ๆ ไว้เสิร์ฟก่อนเวลาอาหาร โดยนำขนหางไก่มาประดับประดาที่ขวดเหล้าสำหรับใช้ดื่มอวยพรอย่างสวยงาม  บรรดาทหารที่ไปงานเลี้ยงนี้ต่างก็ดื่มเป็นเกียรติแก่เจ้าภาพและอวยพรเป็นภาษาฝรั่งเศสขึ้นว่า “Vive le cock tail” นับแต่นั้นมาเหล้าผสมที่นิยมดื่มก่อนงานเลี้ยงอาหารหรือดื่มฉลองจึงเรียก ค็อกเทล  (หางไก่) เป็นต้นมา 

                  มีเรื่องเล่าอีกกระแสหนึ่งว่า      ในยุคเดียวกับเบตซี มีเจ้าของโรงเตี๊ยมชาวอเมริกันคนหนึ่ง กีดกันมิให้ลูกสาวชื่อเบตซีแต่งงานกับนายทหารอเมริกัน วันหนึ่งไก่ชนแชมเปี้ยนสังเวียนที่แกรักนักหนาชื่อวอชิงตันหายไปอีตาเจ้าของโรงเตี๊ยมผู้นี้เสียใจหนัก   ถึงกับออกประกาศว่าผู้ใดจับไก่ตัวนี้มาคืนให้แกได้  ยินดีจะยกลูกสาวให้เป็นสิ่งตอบแทนเลยทีเดียว และก็เป็นเรื่องที่น่าประหลาดที่ต่อมาไม่นาน นายทหารอเมริกันคู่รักของลูกสาวแกนั่นเองที่เป็นผู้พบไก่ตัวนั้น และนำมาคืนให้ว่าที่พ่อตาของเขา ในที่สุดตาพ่อก็เลยต้องจำใจยกลูกสาวให้ไปตามสัญญา เบตซีแสนจะปลื้มปิติจึงผสมเหล้าในร้านพ่อสำหรับเลี้ยงแขกเหรื่อที่มาร่วมงานฉลองการแต่งงานของหล่อน บรรดาแขกพากันติดใจรสเหล้าผสมนี้มาก ถึงกับเรียกเหล้านี้ว่า ค็อกเทล

                ยังมีเรื่องเล่าสืบกันมาอีกสายหนึ่งว่า ในโบราณสมัยนานเนมาแล้วที่เมืองท่า แคมปีเช (Campeche) ของอ่าวเม็กซิโก กลาสีอังกฤษซึ่งแล่นเรือไปแวะที่เมืองนี้ ได้พบเหล้าผสมรสแปลก ๆ ซึ่งต้องคนด้วยช้อนไม้ที่ทำขึ้นเป็นพิเศษโดยเฉพาะจึงจะได้เหล้าผสมรสดี มีนักผสมเหล้าที่ร้านขายเหล้าแห่งหนึ่งใช้รากไม้ชนิดหนึ่ง เรียกชื่อตามลักษณะรูปร่างของมันว่า โคลา เดอ แกลโล (cola de gallo) คนเหล้านั้น ลูกค้าต่างเมืองไปเห็นเข้าก็แปลกใจจึงออกปากถาม นักผสมเหล้าผู้นั้นก็อธิบายความหมายของช้อนคนเหล้าที่ทำด้วยรากไม้นี้ แปลได้ความว่า ค็อกเทล (หางไก่) ในที่สุดคำ ๆ นี้ก็กลายเป็นชื่อเหล้าผสมประเภทนี้ไป 

               มีนิทานปรัมปราเล่าสืบกันมาอีกเรื่องหนึ่งว่า     มีราชธิดาสาวของกษัตริย์เม็กซิโกองค์หนึ่ง    ชื่อ    ช็อกเติ้ล(Xoctl)    ได้รับมอบหมายหน้าที่เป็นผู้เสิร์ฟเหล้าผสมรสแรงจัดชนิดหนึ่ง   เลี้ยงนายทหารอเมริกันที่เดินทางไปยึดเม็กซิโก จนแม่ทัพอเมริกันออกปากชมความงาม ความอารีของนางไม่ขาดปาก ในที่สุดเหล้าผสมของกษัตริย์ เม็กซิโกก็เลยได้ชื่อตามชื่อราชธิดาองค์นั้น แต่เพี้ยนไปเป็นสำเนียงอเมริกันว่า ค็อกเทล นับแต่นั้นเป็นต้นมา           

                เรื่องสุดท้ายเกี่ยวกับต้นกำเนิดค็อกเทลที่เล่าสืบ ๆ กันมา   ก็เห็นจะได้แก่เรื่องที่เล่ากันว่า   ในสมัยที่อเมริกายังมีการใช้เรือกลไปแล่นไปมาค้าขายตามลำน้ำมิสซิสซิปปีอยู่นั้น มีบรรดาเศรษฐีที่เดินทางไปกับเรือสั่งให้นำเหล้าทุก ๆ ชนิดทั่วทุกขวดเท่าทีมีอยู่ในเรือมารวมกัน   แล้วเทลงผสมในภาชนะขนาดเขื่อง     รินแจกจ่ายคนโดยสารในเรือดื่มฟรีกันเป็นที่สนุกสนานจนเหล้าหมดเกลี้ยง แก้วที่ใช้บรรจุเหล้าชนิดนี้    มีรูปร่างคล้ายอกไก่    และช้อนคนเหล้าก็มีรูปร่างลักษณะงอนช้อยเหมือนหางไก่ แก้วเหล้าผสมในเรือชนิดนี้     จึง มีผู้เรียกว่า ค็อกเทล (หางไก่)

                ที่เสนอมานี้เป็นเพียงเรื่องปรัมปราเล่าสืบกันมาเท่านั้น   เท่าที่มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานเอกสารนั้น   น่าจะกล่าวได้ว่าชาวโลกเริ่มรู้จักค็อกเทล     จากหนังสือพิมพ์เป็นครั้งแรก ในปี   ค.ศ. 1806 (พ.ศ.2349)     โดยหนังสือพิมพ์อเมริกันชื่อ เดอะ บาลานซ์ (The Balance) ซึ่งเผยแพร่ไว้ว่า ค็อกเทล คือเหล้าผสม ที่ใช้เหล้ากับน้ำตาล และน้ำเย็น  ต่อมาก็มีหนังสือเกี่ยวกับค็อกเทลโดยเฉพาะตีพิมพ์จำหน่ายออกมาเป็นเล่มแรกน่าจะได้แก่หนังสือ ชื่อ เดอะ บอนด์ วิวังต์ส ไกด์ (The Bond Vivant’s Guide)   หรือ   เฮาว์ ทู มิกซ์ ดริงค์   (How to Mix Drinks) ในปี ค.ศ. 1860 (พ.ศ.2403) โดยบาร์เทนเดอร์ชาวอเมริกันชื่อ เจอรี โธมัส ผู้กำหนดให้ใช้วิธีเขย่าค็อกเทลและใช้แก้วผสมที่เรียกว่าแก้ว บาร์กลาสส์   ต่อมาปี ค.ศ. 1882 (พ.ศ.2425)   นายฮารี จอห์นสัน ก็ได้รวบรวมตำราผสมค็อกเทลออกตีพิมพ์จำหน่ายอีกเล่มหนึ่ง   ชื่อ บาร์เทนเดอร์ ส แมนนวล (Bartender’s Manual) หรือ เฮาว์ ทู มิกซ์ ดริงค์ ออฟ เดอะ เพรสเซนต์ สตายล์   (How to Mix Drinks of the Present Style)

            ก่อนสมัยที่จะมีการตีพิมพ์ตำราค็อกเทลออกเผยแพร่นี้ ในยุโรปก็ได้มีเหล้าผสมชนิดหนึ่งบรรจุขวด ดื่มกันตอนเช้าหรือเวลาเล่นกีฬา เรียกกันว่าเหล้า อัล เฟรสโก (al fresco) ในสมัยศตวรรษที่ 18 ชาวยุโรปนิยมดื่มเหล้าผสมที่เรียกกันว่า ค็อก-เอล  (Cock-ale) ที่ใช้เลี้ยงไก่ที่จับมาฝึกเป็นไก่ชน เพื่อบำรุงไก่ให้มีขนหางสวยงาม

                 ยุคแห่งการดื่มค็อกเทลกันอย่างแพร่หลายในหมู่ชาติตะวันตกนั้น น่าจะนับย้อนหลังไป เริ่มกันอย่างจริงจังในระหว่างปี   ค.ศ.1920-37 (พ.ศ.2463-80)  ซึ่งมีผู้คิดประดิษฐ์สูตรค็อกเทลขึ้นมากมายหลายรส ไม่ต่ำกว่า 7,000 รส ชาวอเมริกันดูเหมือนจะเป็นชาติแรกที่ริเริ่มการดื่มค็อกเทลนำสมัยขึ้นมาก่อน ในยุคที่อารยประเทศตะวันตกเริ่มการดื่มค็อกเทลนำสมัยขึ้นมาก่อน ในยุคที่อารยประเทศตะวันตกเริ่มตรากฎหมายคุมสุราขึ้นใช้นั่นเอง จนในที่สุดการเลี้ยงค็อกเทลก็กลายเป็นแฟชั่นนำสมัยในหมู่ชนชั้นสูง ต่อมาปี ค.ศ. 1930 (พ.ศ. 2473) ก็มีผู้จัดพิมพ์ตำรา ค็อกเทลขึ้นเล่มหนึ่งชื่อ ซาวอย ค็อกเทล บุ๊ค (Savoy Cocktail Book) และ แอนโธโลยี ออฟ ค็อกเทลส์ (Anthology of Cocktails) โดยสำนักพิมพ์บูธของอังกฤษ ออกจำหน่ายอย่างแพร่หลายในเวลาไล่ ๆ กัน

                เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง     ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปและอเมริกา     ก็ได้พัฒนาการด้านครองชีพก้าวรุดหน้าอย่างรวดเร็ว  ทำให้ธรรมเนียมการเลี้ยงค็อกเทลกลายเป็นธรรมเนียมทางสังคม   ในงานพิธีการทางราชการงานเมืองที่ก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ    ตามสภาพการครองชีพอยู่ดีกินดีของประชากร    จึงได้มีเหล้าผสมรสแปลกๆ วิธีผสมใหม่ ๆ เกิดขึ้นอีกเรื่อย ๆ     เป็นที่นิยมกันไปทั่วโลกทุกชาติทุกภาษา     โดยเฉพาะชาวอเมริกัน       ได้ชื่อว่าเป็นชาติที่นิยมดื่มค็อกเทล และรู้จักผสมค็อกเทลได้รสเยี่ยม ยิ่งกว่าชาติอังกฤษซึ่งรู้จักดื่มเหล้าผสมชนิดนี้มาก่อนด้วย
หมายเลขบันทึก: 225381เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2008 13:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท