ตามดู "คลินิก เบาหวาน" ที่ รพ. พยุหคีรี


พลังเครือข่ายการเรียนรู้

           วันนี้ขอเล่าเรื่อง "คลินิกเบาหวาน" ของ รพ. พยุหคีรี  จ. นครสวรรค์ ซึ่งเราได้ไปเห็นของจริงมาเมื่อวันที่ 4 ส.ค. 48 ที่ผ่านมา

          ปกติแล้ว รพ. พยุหคีรี  จะเปิด "คลินิกเบาหวาน"  ทุกวันพฤหัส กับ ศุกร์  นัดคนไข้เบาหวาน เป็นประจำ   วันที่เราไปดูเป็นวันพฤหัส   ตอนเช้าประมาณ 7-8 โมง  จะเห็นคนไข้เบาหวานนั่งรอเป็นแถวๆ ตรวจเลือด ความดัน เต็มไปหมด เยอะมากค่ะ วันนั้นประมาณได้เกือบ 100 คน(มีการทำทะเบียนติดตามผู้ป่วยที่ไม่มาตามนัด ด้วย)   กิจกรรมทาง รพ. จะจัดให้มีการออกกายบริหาร  รำไม้กระบอง ตอนเช้า (แล้วแต่คนไข้สมัครใจ) พร้อมจัดข้าวต้มและน้ำสมุนไพรให้ทานตอนเช้า   เสร็จแล้วระหว่างนั่งรอคิดตรวจเช็คน้ำตาล  ทางพยาบาล ก็จะเลือกให้คนไข้ที่ผลตรวจน้ำตาลลดลง หรือมีสุขภาพดีขึ้น มาเล่าให้เพื่อนๆ คนไข้คนอื่นๆ ที่นั่งรออยู่ว่ามีการปฏิบัติบัติตัวอย่างไร  เป็นเหมือนเพื่อนมาเล่าเรื่องกิจกรรมหน้าชั้นเรียน (ขอโทษที่ไม่ได้ถ่ายภาพมานะคะ)  จากนั้นคุณพยาบาล ก็จะคอยสรุปความรู้หรือตีความว่า  ที่ป้าหรือลุงคนนี้เล่ามา แสดงว่าเขากินของหวานน้อยลงใช่ไหม  กินเป็นเวลาใช่ไหม ออกกำลังกายยังไง หรือ ฯลฯ.  บรรยากาศเป็นกันเอง เฮฮามากค่ะ มีการลุ้นผลตรวจตอนประกาศด้วยว่าใครน้ำตาลลดมากกว่ากัน (คนไข้เป็นคนพื้นที่เดียวกัน รู้จักกันด้วยค่ะ)     จากนั้นก็จะมีบางส่วนที่ตรวจแล้วพบว่ามีระดับน้ำตาลสูงขึ้นมาก หรือคนไข้ไหม่  กับ คนที่ระดับน้ำตาลลดลงมาก หรือ สุขภาพดีขึ้น  ทาง รพ. จะขานชื่อว่าให้มาทำกลุ่มย่อย  (Group therapy)  คนที่ถูกคัดเลือกแล้วจะออกไปรวมกลุ่มนั่งล้อมวงเล็กๆ ที่ลานออกกำลังกายอีกที   มีพยาบาลทำกลุ่มเบาหวาน (พี่ส้มเสี้ยว   อิ่มเนย) มาเป็น "คุณอำนวย" กลุ่ม คอยกระตุ้นให้คนที่มีสุขภาพดีขึ้นเล่าว่าทำอย่างไร แล้วสรุปให้กลุ่มฟังอีกที  นอกจากนี้ยังคอยถามคนไข้ด้วยว่ามีปัญหาอะไรไหมในปัจจุบัน (ทั้งทางกายและใจ) เป็นเหมือนทำ "จิตบำบัด" ด้วย  วันนั้นที่ไปดู กลุ่มย่อยมีไม่มากนัก ไม่ถึง 10 คน เล่ากันไป เล่ากันมา มีการลุกขึ้นมาออกท่าบริหารร่างกายให้กลุ่มดูด้วยค่ะ   บางคนพอถูกถาม ก็บอกว่าไม่ได้ทำอะไร   เอ ! ทำไมน้ำตาลขึ้น  พอคุยกันมากขึ้น ก็ยอมบอกว่า "อยู่บ้านมันหิว  เลยขอกินข้าวหน่อย นับย่อยๆ แล้วเกิน 5 มื้ออีก"  ดูแล้วคุณพยาบาลที่เป็น "คุณอำนวย" ต้องมีเทคนิคจิตวิทยาเยอะเหมือนกัน 

       เสร็จจากกลุ่มแล้วก็ไปคุยต่อที่ ทีมคัดกรองผู้ป่วย ทีมมีประมาณ 5 คน รับผิดชอบ 8 หมู่บ้าน  ลงไปคัดกรองผู้ป่วยในพื้นที่โดยมีอาสาสมัครหมู่บ้านช่วยด้วย  จะแบ่งทีมไปทีละ 2-3 คน เพื่อคัดกรองผู้ป่วย/เสี่ยง เบาหวาน, ความดัน, มะเร็งเต้านม ตามหมู่บ้านก่อนแล้วค่อยคัดผู้ป่วย หรือเสี่ยงมาตรวจอีกทีที่ รพ.    โดยจะใช้วิธีให้ อบต. หรือ ผู้ใหญ่บ้าน ประกาศว่าจะมีคนมาตรวจสุขภาพให้ แล้วนัดเวลา  พอไปถึงก็จะถามชาวบ้านด้วยปากเปล่าก่อนถึงปัจจัยเสี่ยง  แล้วจึงมีการเจาะเลือดตรวจ  ทีมคัดกรองทั้งหมดเมื่อลงไปทำงาน ก็จะกลับมาเล่าเหตุการณ์ต่างๆ ปัญหา และเทคนิคการแก้ให้คนอื่นๆ ที่ไม่ได้ไปด้วยฟัง เป็นการถ่ายทอดความรู้ไปด้วย  นอกจากนี้ยังจัดให้มีการประชุมสัญจร กับ อสม. ทุกวันที่ 20 ของเดือน (ให้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การแก้ปัญหากัน) ความสำเร็จที่ทีมได้ คือ รพ. สามารถคัดกรองผู้ป่วย ได้เปอร์เซ็นตสูงเกิน 90 % ในหลายๆ โรคเลยทีเดียว  ซึ่งถือว่าเป็น Best Practice ให้ รพ. อื่นได้ดี

        จากนั้นเราก็ไปคุยต่อที่ "ห้องยา"  ว่าเขาจัดการอย่างไรกับเรื่อง "ความคลาดเคลื่อนทางยา" หรือ การให้คำแนะนำในการใช้ยากับผู้ป่วย   เภสัชกรให้ห้องได้เล่าให้ฟังว่า ทางห้องยาจะมี แบบฟอร์มรายงานความคลาดเคลื่อนทางยา เพื่อเก็บข้อมูลนำมาวิเคราะห์และหาทางแก้ปัญหาอยู่แล้ว  โดยฟอร์มนี้เดิมมาจากส่วนกลาง  แล้วเราก็มาช่วยกันปรับเติมในส่วนที่เราเห็นว่าทางเรามี และควรเพิ่ม  ส่วนเรื่องการให้คำแนะนำการใช้ยากับผู้ป่วย  ถ้าผู้ป่วยทานยาผิดบ่อยก็ต้องเอาญาติผู้ป่วยเข้ามาร่วมคุยทำความเข้าใจด้วย แล้วพยาบาล หรือเจ้าหน้าที่ที่จ่ายยา ก็ต้องประสานงานกันช่วยบอกข้อมูลปัญหา และช่วยทำความเข้าใจกับคนไข้   ส่วนเรื่องเบาหวาน  หลังจากที่ได้เข้าร่วมเวทีเครือข่ายการเรียนรู้ ของ สสจ. เขาก็ได้มาปรับเปลี่ยนการใช้เข็มฉีดยาอินซูลิน ของคนไข้ มาเป็นให้ใช้ "ปากกาฉีด" แทน เพราะเห็นว่าวิธีใช้ง่ายกว่า และราคาไม่แพงนัก  ผลก็คือ ทำให้คนไข้เบาหวานที่ต้องฉีดยา ยอมฉีดยามากขึ้น (ฉีดด้วยตัวเองได้ ง่ายๆ)

         รวมแล้วเราใช้เวลาดูที่นี่ครึ่งวัน จากตอนแรกที่คิดว่าน่าจะดูเสร็จประมาณ 9 โมงเช้า เนื่องจากความน่าสนใจของกิจกรรมต่างๆ  แต่ก็คุ้มค่ะ ที่ได้เห็นกิจกรรมที่สอดแทรก KM อยู่ในงานประจำเต็มไปหมด และสามารถทำให้งานของ รพ. มีคุณภาพมากขึ้น เห็นผลสำเร็จของงาน  ที่น่าดีใจมากอีกอย่างก็คือ  เขาได้นำความรู้จาก เวทีสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ ที่ สสจ. จัดขึ้นโดยใช้ KM  มาปรับใช้ปรับปรุงงานให้ดีขึ้นด้วย  ได้พลังเครือข่ายการเรียนรู้ จริงๆ ค่ะ 

   

      

               

         

         

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 2251เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2005 11:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 19:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ตั้งแต่นี้ไม่มีเบาหวานอีกแล้ว
                ป้าละมัย โปธิปัน  แกอยู่บ้านสันจำปา ต.แม่พริก อ.แม่สรวย จ.เชียงราย   เป็นสตรีสูงอายุ  วัย 60 กว่า  แต่ก็ดูแก่เกินวัยเพราะโรครุมเร้า   โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ซึ่งเล่นงานแกมาถึง 8 ปี  จนอาการหนักหนาสาหัสถึงขั้นเดินไม่ได้ เพราะแข้งบวม ข้อเท้าบวมจนออกสีคล้ำ  เนื่องเพราะน้ำตาลในเลือดสูง  ทำให้เลือดข้น  การไหลเวียนของเลือดจึงติดขัด    แกก็ทนทรมานเหมือนคนป่วยเบาหวานอื่น ๆ   เมื่อแข้งบวมจนออกสีคล้ำแกก็ยิ่งเป็นทุกข์กังวลมากขึ้น  นั่นหมายถึงแข้งต้องเน่าจนตัดทิ้งในอนาคตอันใกล้ คิดทีไรน้ำตาก็ไหลลงอาบหน้า
                ดูรูปร่างหน้าตาแล้ว ป้าละมัยตอนนั้นอ้วนฉุ  เป็นอาการอ้วนแบบบวมน้ำ  สีผิวซีด หน้าตาโรยราหาความแช่มชื่นมิได้  
ต่อมา ญาติคนหนึ่งซึ่งรู้จักสรรพคุณของน้ำว่านหางจรเข้ จึงเอาไปให้แกดื่ม 1 ขวด  แกดื่มครั้งละ 30 ซีซี ทุก เช้า-เย็น  อาการแกก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ  หายจากเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลีย  รับประทานอาหารก็อร่อยดี  นอนหลับสบาย  รู้สึกแข็งแรงขึ้น  อาการหนักเท้าก็หาย  อาการเท้าและแข้งบวมก็ลดลง  แกรู้ว่าเกิดจากกินน้ำว่านหางจระเข้แน่นอน  จึงส่งข่าวถึงญาติคนนั้น  เขาก็เอามาให้แกอีก  
                เวลาผ่านไป 1 เดือน  ทีมงานว่านหางจระเข้ได้รับการบอกข่าวจึงไปเยี่ยม   แกตะโกนว่า  ตั้งแต่นี้ไม่มีโรคเบาหวานอีกแล้ว พร้อมกับเต้นรำให้ดูอย่างคล่องแคล่ว    ดูหน้าตาแกเบิกบานแช่มชื่น  ไม่เหลือร่องรอยของคนป่วยไว้ให้เห็นแม้แต่นิดเดียว
          เรื่องราวของป้าละมัยหายจากโรคเบาหวานลือระบาดค่อนข้างเร็ว   เนื่องเพราะแกหายเร็วเกินไป  เมื่อแกพบใครในหมู่บ้าน หรือตามร้านตลาด จึงมีแต่คนถาม   ทำไมเดินได้   ทำไมหน้าตาผุดผ่อง  ทำไมดูแข็งแรงดี  ทำไม ๆ ๆ เป็นเรื่องที่แกต้องอธิบายบอกข่าวถึงสรรพคุณของน้ำว่านหางจรเข้แก่ทุก ๆ คน   และแล้วข่าวของแกก็ถึงหูของผู้ป่วยอีกท่านหนึ่งที่เป็นโรคเดียวกัน  แต่อาการค่อนข้างหนักกว่า  คือป้าเรือน อยู่บ้านโฮ่ง ต.แม่พริก  ความจริงป้าเรือนอายุเพียง 50 กว่า ๆ  แต่แกเดิน 3 ขา  ผมก็ร่วง ตาก็มองไม่ค่อยเห็นเพราะเบาหวานขึ้นตา  เข่าก็บวมจนเดินแทบไม่ได้  ทั้งเป็นโรคเส้นหัวใจตีบ ดูท่าทางแกอายุแก่กว่าป้าละมัยไม่น้อยกว่า 10 ปี   แกไปพบหมอแต่ละครั้งต้องขายวัว 1 ตัว  จนวัวฝูงใหญ่ก็กลายเป็นฝูงเล็ก  ถ้าเป็นนานกว่านี้ก็คงหมดวัวทั้งฝูง เมื่อทีมงานของเราไปเยี่ยมป้าละมัย ๆ ก็พาไปหาป้าเรือน  บ้านของแกยกพื้นสูง  เราพบแกค่อย ๆ นั่งเขยิบลงจากบันได  หน้าตาไม่ได้แตกต่างจากผู้ป่วยหนักที่ใส่ชุดโรงพยาบาลนอนอยู่บนเตียงพยาบาล  ป้าเรือนมีน้ำตาลในเลือด 300 กว่า  พวกเราเอาน้ำหางจระเข้ให้แกกินตั้งแต่ต้นเดือน ตุลาคม   เวลาผ่านไปได้ 1 อาทิตย์  เราได้รับโทรศัพท์จากทีมงานซึ่งอยู่ในละแวกนั้นแจ้งว่าป้าเรือนเดินโดยไม่ต้องใช้ไม้เท้าอีกแล้ว   โรคปวดเข่าของแกดีขึ้นมาก  แต่ทางเราก็ยังไม่มีเวลาไปเยี่ยมเยือน  จนกระทั่งถึงวันที่ 11   พฤศจิกายน  ที่ผ่านมา  พวกเราจึงมีโอกาสกลับไปแม่สรวย   เราพบป้าเรือนอีกมาดหนึ่ง  แกใส่ชุดกางเกงและเสื้อวอร์ม ที่นักกีฬาเขาใส่วิ่ง นั่งไขว่ห้างอยู่บนเก้าอี้หน้าบ้าน  หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส สดใสเหมือนคนปกติ   แกว่าอาการดีขึ้นมากแล้ว  เดินได้ปกติ  ทั้งยังวิ่งจ๊อกกิ้งได้ตามปกติด้วย  นี่เพิ่งกลับจากวิ่งออกกำลังกาย  ส่วนน้ำตาลในเลือดก็ลดลงปกติ จากเดิม 300 กว่า คงเหลือราว 110 เท่านั้น    เป็นเรื่องเหลือเชื่อจริง ๆ  ว่าเป็นไปได้อย่างไร    ตัวผมเองถึงแม้จะรู้คุณค่าของว่านหางจรเข้  แต่ก็นึกไม่ถึงว่าเขาจะมีสรรพคุณมากมายถึงปานนี้  แบบนี้ต้องเรียกว่าน่าอัศจรรย์   ผมปรุงยาเบาหวานขนานหนึ่ง ใช้สมุนไพรพื้นบ้านที่เกิดในท้องไร่ท้องนาชนิดหนึ่ง  ก็ยกย่องสรรพคุณสมุนไพรชนิดนั้นว่าดีเยี่ยมแล้ว  แต่เมื่อเจอฤทธิ์ของว่านหางจรเข้ นับว่ายังห่างชั้นกันอยู่   จึงอยากแนะนำให้คนป่วยโรคเบาหวานทุกท่านหาว่านหางจระเข้รับประทานกันเถิด   แต่ต้องเป็นสายพันธุ์บาร์บาเดนสิสนะครับ  เป็นชนิดต้นใหญ่กาบใหญ่  สมัยก่อนปลูกกันมาที่ปราณบุรี  แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว  กลับมาปลูกกันมากที่ราชบุรี เพื่อส่งขายให้ญี่ปุ่น  จากนั้นก็ย้อนกลับมาเป็นสินค้าราคาแพงให้คนไทยใช้กันอีกครั้งในคราบของเครื่องสำอาง และและเครื่องดื่มเสริมสุขภาพ ที่ราคาหลักพันขึ้นไป   แต่ผมก็เห็นมีปลูกเป็นไม้ประดับกันบ้างตามหน้าของผู้รากมากดี  ก็คงซื้อพันธ์มาจากที่ใดที่หนึ่ง    ถ้าใครมีก็อย่าลืมปลอกเอาเปลือกออก แล้วรับประทานแต่วุ้นของมัน ก่อนอาหารทุกเช้า-เย็น
                ผมบอกข่าวดีนี้แก่พี่ที่ผมรักคนหนึ่งซึ่งป่วยเป็นโรคเบาหวานมาหลายปี  แต่อยู่จังหวัดทางภาคใต้ของไทย  พี่แกก็กลับเป็นคนคิดมาก  มีข้อโต้แย้งเพิ่มขึ้นว่า การที่น้ำตาลในเลือดลดลงจนต่ำกว่าปกติอาจเป็นอันตรายเพราะร่างกายขาดน้ำตาลจนทำให้ช็อคได้   และการหายจากเบาหวานก็เป็นเพียงการบอกเล่าซึ่งขาดข้อมูลทางการแพทย์รับรอง    ยังไม่มีนายแพทย์หรือนักวิทยาศาสตร์คนใดรับรองหรืออธิบายได้ว่าว่านหางจระเข้รักษาโรคเบาหวานได้อย่างไร    การตั้งข้อสงสัยนี้ทำให้ผมเข้าไปหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตว่า หางจระเข้มีคุณสมบัติอย่างไร  นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของโลกได้ทำการวิจัยบ้างหรือยัง  ผลการวิจัยมีอย่างไรบ้าง  
                เป็นเรื่องน่าทึ่งครับ   ผมพบงานวิจัยมากมายเกี่ยวกับหางจระเข้พันธุ์บาร์บาเดนสิส ในอินเตอร์เน็ต  แต่ข้อมูลค่อนข้างมากเกินกว่าจะนำมาลงในหน้ากระดาษอันจำกัดนี้ได้    แต่สามารถตอบคำถามได้ว่า ว่านหางจระเข้สามารถช่วยให้เส้นเลือดอ่อนนุ่ม ยืดหยุ่น  ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต  ทำให้กระบวนการเผาผลาญอาหารในร่างกายดำเนินไปด้วยดี  ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง  ช่วยปรับการทำงานของกระเพาะและลำไส้     ช่วยสลายพิษในร่างกาย  ในตับ  ทำให้ตับทำงานได้ตามปกติ    เมื่อตับใหญ่และตับอ่อนได้รับการฟื้นฟูบำรุงให้แข็งแรงขึ้น  จึงเป็นสาเหตุสำคัญในการที่ทำไมผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงมีอาการดีวันดีคืนอย่างผิดหูผิดตา    ก็ในเมื่อตับอ่อนของเขาแข็งแรงดีแล้ว  การผลิตอินซูลินก็ดำเนินการไปตามปกติ  การลดลงของน้ำตาลในเลือดของผุ้ป่วยโรคเบาหวานจึงเป็นการทำงานของตับอ่อน   หาใช่เพราะสารใด ๆ ในว่านหางจระเข้ไปลดน้ำตาลในเลือดแต่ประการใด
                ว่านหางจระเข้จึงน่าจะเป็นว่านที่เรียกได้อย่างเต็มเต็มภาคภูมิว่า  ว่านมหัศจรรย์ของโลก  
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่  หมอเมือง  01-1795197,  09-9552716, 04-1775539
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท