คำถามเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม


การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม

วันนี้ขอเสนอบทความจากสถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ

คำถามเกี่ยวโรคสมองเสื่อม

เมื่ออายุมากต้องเป็นสมองเสื่อมไหม

ไม่เป็น เมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น การทำงานของสมองจะลดหย่อนไปจากเดิมบ้าง ความคิดอาจจะช้าลงการเรียนรู้สิ่งใหม่จะช้าลง เหล่านี้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่พบได้ในคนสูงอายุทั่วๆ ไป แต่คนสูงอายุนี้ยังคงสามารถตัดสินใจ มีความคิดริเริ่ม มีจินตนาการ มีเหตุผลเป็นของตนเอง จึงถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงตามอายุที่มากขึ้นเท่านั้น ส่วนสมองเสื่อมถือว่าเป็นโรค เป็นความผิดปกติที่เกิดในคนบางคนเท่านั้น แต่จะพบสมองเสื่อมบ่อยขึ้นในผู้สูงอายุ จึงทำให้คิดว่าพออายุมากขึ้นจะต้องเป็นสมองเสื่อม ซึ่งไม่เป็นความจริง จึงไม่ต้องกลัวว่าพออายุมากแล้วจะต้องสมองเสื่อม

คนสูงอายุที่เปลี่ยนเป็นคนขี้ลืมกว่าตอนหนุ่มสาว ต่อไปจะเป็นสมองเสื่อมหรือไม่

จะมีบางส่วนกลายเป็นสมองเสื่อม แต่ไม่ใช่ทุกคน บางคนจะขี้ลืมอย่างเดียวและรื้อฟื้นได้ สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ และบุคลิกภาพความประพฤติเหมือนเดิม พวกนี้ไม่เป็นสมองเสื่อม ถือเป็นพวกขี้ลืมกว่าปกติเท่านั้น

ส่วนกลุ่มที่กลายเป็นสมองเสื่อมจะค่อยๆ มีความผิดปกติอย่างอื่นๆ เพิ่มเข้ามา เช่น พูดสื่อความหมายลำบาก ทำสิ่งที่เคยทำประจำวันช้าลง และสับสน ไม่ค่อยดูแลตนเอง อาจมีอารมณ์เปลี่ยนแปลง ฉุนเฉียวง่าย หรือขี้โมโห กราดเกรี้ยวได้ แล้วในที่สุดอาการก็จะเด่นชัดขึ้นทุกทีจนเข้าข่ายสมองเสื่อม

จะทำอย่างไรจึงจะรู้ว่าคนสูงอายุขี้ลืมคนไหนจะเป็นสมองเสื่อม และคนไหนจะไม่เป็น

ส่วนใหญ่แพทย์จะติดตามอาการของผู้ป่วยระยะหนึ่ง อาจจะเป็นเวลา 6-12 เดือน โดยการดูอาการทั่วไปและทำแบบทดสอบความสามารถของสมองที่ค่อนข้างสลับซับซ้อนเป็นระยะ ให้ตอบคำถามที่ยาก และเอาผลที่ได้มาเปรียบเทียบกันว่า บกพร่องกว่าเดิมมากน้อยเพียงใด ถ้าหากบกพร่องลงกว่าเดิมอย่างมากก็พอชี้ได้ว่ารายนี้น่าจะกลายไปเป็นสมองเสื่อม นอกจากการทำแบบทดสอบติดตามอาการของผู้ป่วยแล้ว การตรวจเอกซเรย์พิเศษที่ดูการใช้ออกซิเจนและการใช้พลังงานของสมอง (เพทสแกน และสเปก) ถ้าพบว่าผิดปกติในตำแหน่งที่ตรงกับที่ผู้ป่วยสมองเสื่อมก็จะสรุปได้ว่าคนนี้จะเป็นสมองเสื่อม แต่ถ้าตรวจแล้วยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ ก็ไม่อาจจะบอกได้ว่าคนนี้ไม่เป็น เพราะอาจจะตรวจเร็วเกินไปจึงยังไม่เห็นความผิดปกติ อาจจะต้องรอเวลาแล้วตรวจซ้ำอีกครั้งพร้อมกับดูอาการอื่นๆ ไปด้วย

เจาะเลือดจะช่วยได้ไหม

ยังไม่ได้ ถ้าเราจะพบความผิดทางพันธุกรรมที่ถือว่าเป็น “พันธุกรรมเสี่ยง” สำหรับสมองเสื่อม (โดยเฉพาะกลุ่มอัลไซเมอร์) ก็ยังไม่อาจจะสรุปได้ว่าคนนี้เป็นอัลไซเมอร์แน่ๆ ดังนั้น สิ่งที่จะเป็นตัวบอกที่แน่นอนที่สุด คือ อาการของคนไข้นั่นเอง

ถ้าสงสัยว่าเป็นสมองเสื่อมจะทราบได้อย่างไร

ถ้าสงสัยจะเป็นสมองเสื่อมจะต้องพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ แพทย์ที่จะให้การวินิจฉัยสมองเสื่อม ได้แก่ อายุรแพทย์ทั่วไป หรืออายุรแพทย์โรคระบบประสาท แพทย์ที่ดูแลเกี่ยวกับโรคทางจิต หรือที่เรียกว่าจิตแพทย์ และแพทย์ที่ดูแลผู้สูงอายุ ในความเป็นจริงแล้วแพทย์ทั่วๆ ไป ก็อาจจะให้การวินิจฉัยเบื้องต้นได้ว่าผู้ป่วยน่าจะใช่สมองเสื่อมหรือไม่ใช่ แต่ถ้าจะให้ชัดเจนแน่นอนคงจะต้องหาแพทย์เฉพาะทาง ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เมื่อมาพบแพทย์ แพทย์จะดำเนินการซักประวัติว่าความลืมหรือสิ่งที่ผิดปกตินั้นมีลักษณะอย่างไร ลืมของใกล้ หรือไกลตัว มีอาการอื่นๆ เกิดขึ้นด้วยหรือไม่ เช่น แขนขาอ่อนแรง กลั้นปัสสาวะไม่ได้ การลืมหรือความผิดปกตินั้นเกิดขึ้นเร็วหรือช้ามากน้อยแค่ไหนเพราะลักษณะของการดำเนินโรคจะช่วยบอกสาเหตุของโรคได้ เช่น ในคนไข้สมองเสื่อมที่เกิดจากการเสื่อมสลายของเซลล์สมอง เช่น โรคอัลไซเมอร์นั้น ลักษณะอาการจะค่อยเป็นค่อยไป ผู้ป่วยมักจะมีอาการผิดปกติมาแล้วราวๆ 4-6 ปี ก่อนจะมาพบแพทย์ ซึ่งจะเริ่มผิดปกติเพียงเล็กน้อยและส่วนใหญ่จะคิดว่าเป็นเพราะสูงอายุมากขึ้น จึงมักจะเลอะๆ ลืมๆ แต่ต่อมาอาการชัดเจนขึ้นจึงได้มาพบแพทย์ สมองเสื่อมจากสาเหตุบางอย่างจะมีอาการให้เห็นค่อนข้างเร็ว เช่น สมองเสื่อมที่เกิดจากหลอดเลือดสมองตัน ผู้ป่วยเหมือนคนปกติเมื่อ 2 สัปดาห์ที่แล้ว ต่อมาต้องเข้าโรงพยาบาลเพราะหลอดเลือดสมองตันมีอาการแขนขาไม่มีแรง บางรายอาจจะมีสติสัมปชัญญะเปลี่ยนแปลง หลังจากนั้นผู้ป่วยอาจจะจำคนที่เคยรู้จักไม่ได้ ไม่ทราบว่าของสิ่งนั้นเรียกว่าอะไร ไม่สามารถบอกความต้องการของตนเองได้อย่างถูกต้อง เป็นลักษณะอาการสมองเสื่อมซึ่งเกิดขึ้นอย่างกระทันหัน ดังนั้นลักษณะของความลืมและพฤติกรรมที่ผิดปกติ รวมทั้งการดำเนินโรคเร็วช้าต่างกันแค่ไหนจะช่วยให้แพทย์พอจะสันนิษฐานได้ว่าผู้ป่วยเป็นสมองเสื่อมหรือไม่ แล้วถ้าเป็นสมองเสื่อมจริงน่าจะมีสาเหตุมาจากอะไร หลังจากนั้นแพทย์จะดำเนินการตรวจร่างกายเพื่อดูว่ามีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมด้วยหรือไม่ เช่น แขนขาอ่อนแรง หน้าเบี้ยว มีระบบการตอบรับของระบบประสาทอัตโนมัติ ผิดปกติหรือไม่ต่อมาแพทย์จะทำการทดสอบสมรรถภาพของสมอง แพทย์จะให้ผู้ป่วยตอบคำถามหลายๆ อย่าง เพื่อที่จะดูว่าสิ่งที่ผู้ป่วยบ่นว่าลืมนั้นเป็นอาการลืมที่พบได้ในคนทั่วๆ ไป หรือมีลักษณะแนวโน้มว่าจะเป็นสมองเสื่อม ผู้ป่วยจะต้องตอบคำถามเกี่ยวกับเวลา สถานที่ที่อยู่ สิ่งแวดล้อมต่างๆ อาจจะให้มีการจำของบางอย่างแล้วถามซ้ำทีหลัง อาจจะให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมบางอย่างให้ผู้ทดสอบดู เช่น ให้วาดรูป ให้เขียนนาฬิกา หรือให้บวกเลข ลบเลข เพื่อดูว่าสมองยังทำงานได้ตามปกติหรือไม่ สุดท้ายแพทย์จะส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ (ตรวจเลือด) และเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง เนื่องจากสาเหตุสมองเสื่อมเป็นได้ จากหลายประการ อาจจะเกิดจากความผิดปกติ แปรปรวนของระบบเมตาบอลิกของร่างกายเรา จึงต้องเจาะเลือดเพื่อดูว่าผู้ป่วยมีปัญหาต่างๆ เหล่านั้นหรือไม่และทำการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อที่จะดูว่าผู้ป่วยนี้มีเนื้องอกหรือความผิดปกติอื่นๆ อยู่หรือไม่ หรือมีลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยเคยมีปัญหาหลอดเลือดในสมองตีบ หรืออุดตันมาก่อน จึงทำให้เกิดเนื้อสมองตายเป็นหย่อมๆ ซึ่งทั้งหมดนี้มาประมวลรวมกันแล้วแพทย์ก็สามารถจะให้คำตอบได้ว่าผู้ป่วยเป็นสมองเสื่อมหรือไม่ ถ้าเป็นน่าจะมีสาเหตุจากอะไร

มีญาติเป็นอัลไซเมอร์ลูกหลานจะเป็นด้วยไหม เจาะเลือดจะทราบไหม

อัลไซเมอร์เป็นกรรมพันธ์ที่มีการถ่ายทอดสู่รุ่นลูกหลาน อัลไซเมอร์แบ่งได้คร่าวๆ เป็น 1 ชนิด ชนิดแรกคือกลุ่มที่มีอาการตั้งแต่ก่อนอายุ 65 ปี ส่วนอีกชนิดหนึ่ง มีอาการหลังอายุ 65 ปี กลุ่มที่มีอาการก่อนอายุ 65 ปี มักจะพบความผิดปกติทางพันธุกรรมที่อาจจะถ่ายทอดแบบตรงจาก พ่อ แม่ ไปสู่รุ่นลูก เราพบการถ่ายทอดลักษณะนี้ไม่บ่อยนัก ประมาณ 120 ครอบครัวทั่วโลก (มีคนเป็นอัลไซเมอร์หลายล้านคน) ส่วนชนิดที่พบได้บ่อยกว่าคือ กลุ่มที่มีอาการหลังอายุ 65 ปี ซึ่งจะพบลักษณะสายพันธุกรรม = ยีน (gene) บางอย่างได้บ่อยขึ้น เราเรียกว่า เป็น “ยีนเสี่ยง” ที่จะพบในอัลไซเมอร์ได้บ่อยกว่าในคนที่ไม่มียีนนี้ การที่เรียกว่ายีนเสี่ยง เพราะพบยีนนี้ในผู้ป่วยอัลไซเมอร์มากกว่าในคนปกติ แต่คนที่มียีนอาจจะเป็นโรคก็ได้หรือไม่เป็นก็ได้ และคนที่ไม่มียีนนี้ก็อาจจะเป็นโรคก็ได้เช่นกัน

การเจาะเลือดจะบอกได้เพียงว่ามียีนอะไรอยู่ในตัวบ้าง แต่ไม่อาจจะชี้ชัดว่าจะต้องเป็นโรคอัลไซเมอร์ ในขณะนี้เชื่อกันว่า จะต้องมี “อะไร” มากระตุ้นยีนจึงเกิดโรคได้ ส่วนสิ่งที่มากระตุ้นนั้นยังไม่ทราบว่าเป็นอะไรแน่ จึงไม่แนะนำให้ลูกหลานผู้ป่วยอัลไซเมอร์เจาะเลือด เพราะไม่อาจให้การวินิจฉัยเฉพาะเจาะจงได้ คนที่มีญาติเป็นอัลไซเมอร์ ขอให้ทำใจให้สบายฝึกจิตคิดแต่สิ่งที่ดีงามรุ้จักการให้แล้วก็คิดว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับมนุษย์นี้ล้วนมีลิขิตมาแล้ว ศาสนาพุทธก็เชื่อว่าเป็นผลแห่งกรรม ถ้าทำใจได้อย่างนี้วันหนึ่งถ้าจะต้องเป็น คงต้องเป็น ถ้าไม่เป็นก็ไม่เป็น อย่าได้มีความทุกข์ติดตัวเลย การเจาะเลือดนั้นจะบอกได้ว่าคุณมีพันธุกรรมที่ผิดปกติอยู่หรือไม่ บอกได้เพียงแต่ว่ามีหรือไม่มี แต่บอกไม่ได้ว่าคุณจะเป็นหรือไม่เป็นทั้งนี้ต้องดูอาการต่อไปข้างหน้า

ผู้ป่วยสมองเสื่อมเมื่อป่วยแล้วจะมีชีวิตอายุได้อีกนานเท่าไร

แล้วแต่สาเหตุของสมองเสื่อมและความรุนแรงของปัจจัยนั้นๆ เป็นการยากที่จะพบว่าผู้ป่วยจะมีชีวิตได้อีกนานเท่าไหร่ ส่วนใหญ่แล้วขึ้นอยู่กับโรคที่เป็นสาเหตุของสมองเสื่อมของผู้ป่วย และสุขภาพของผู้ป่วยถ้าพูดถึงโรคอัลไซเมอร์แล้วโดยเฉลี่ย ผู้ป่วยมักจะมีชีวิตได้ราว 10 (2-20 ปี) บางรายอาจจะมีชีวิตอยู่ได้ถึง 20 ปี แต่ในบางรายผู้ป่วยจะทรุดลงเร็วมาก อาจจะเสียชีวิตภายใน 2 – 3 ปี ส่วนใหญ่อาการสมองเสื่อมจะดำเนินไปเรื่อยๆ แต่อาการจะทรุดเร็วเมื่อผู้ป่วยมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ เกิดขึ้นทับถมเข้ามา เช่น ท้องเสียต้องเข้าโรงพยาบาล หกล้มสะโพกหักต้องผ่าตัด เป็นหวัดปอดบวมหรือมีการติดเชื้ออื่นๆ กล้ามเนื้อหัวใจตายต้องนอนโรงพยาบาลนานๆ อาการสมองเสื่อมในผู้ป่วยเหล่านี้จะเลวลงอย่างมากในช่วงที่พักรักษาตัวด้วยปัญหาสุขภาพเหล่านี้ และถึงแม้จะรักษาโรคทางกายเหล่านี้หายเรียบร้อยแล้ว อาการทางสมองและความจำมักจะดีขึ้นอย่างช้าๆ แต่ไม่ดีเหมือนเก่า (ทรุดลง) ดังนั้นจึงอยากแนะนำผู้ที่ดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ว่าจะต้องดูแลผู้ป่วยมีสุขภาพส่วนตัวที่ดีที่สุด โดยให้รับอาหารอย่างเพียงพอ มีสารอาหารครบครบถ้วน หรือบริโภคอาหารครบ 5 หมู่ ให้มีการออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายสม่ำเสมอ เพื่อให้มีการทรงตัวที่ดี ลดโอกาสที่จะหกล้ม ระมัดระวังอย่าให้ไม่สบาย หลีกเลี่ยงคนเป็นหวัดระมัดระวังการใช้ยาต่างๆ โดยไม่จำเป็นเพราะยาบางชนิดทำให้อาการสมองเสื่อมเลวลง ซึ่งทั้งหมดนี้จะทำให้การดำเนินโรคสมองเสื่อมช้าลง

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 22498เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2006 11:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 19:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

    อ่านข้อเขียนข้างต้นแล้วอยากจะร่วมแลกเปลี่ยนครับ  สมัยที่เรียนผมเคยมีประสบการณ์ในการฝึกงานด้านกิจกรรมบำบัดในผู้สูงอายุสมองเสื่อม ที่ศูนย์ฟื้นฟูแมคเคน จ. เชียงใหม่ นับว่าเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะต้องยอมรับอย่างไม่มีเงื่อนไขสำหรับผู้ป่วยแต่สิ่งสำคัญคือมองว่าผู้ป่วยสมองเสื่อมถึงแม้จะไม่สามารถกลับมาเป็นเช่นปกติอาจจะด้วยพยาธิสภาพที่สมองก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดคือผู้ดูแลจะต้องให้ความรักความเข้าใจ รวมทั้งฝึกทักษะในการดูแลตนเอง การทำงาน หรือกิจกรรมยามว่างให้แก่ผู้สูงอายุเหล่านี้ และที่สำคัญคือผู้ใกล้ชิดจะต้องใจเย็น ให้ความรักความเข้าใจเอาใจใส่ และเสริมสร้างกำลังใจ กระตุ้นซ้ำ ๆ ในทักษะที่ต้องการฝึกฝน เพื่อพัฒนาความสามารถในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นอิสระโดยไม่เป็นภาระพึ่งพาแก่ผู้อื่นครับ

สุภัทร

ขอบคุณ คุณสุภัทร มากครับ ที่ช่วยแสดงความคิดเห็นครับ

คุณไม่ต้องมองหาสมุนไพร หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้าง บำรุงร่างกายให้ยุ่งยากอีกต่อไป asianlife พิสูตรให้เห็นแล้วว่า ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ ตอบสนองต่อผู้ที่มีปัญหาสุขภาพได้อย่างตรงจุด และราคาไม่แพง คุ้มค่า คุ้มเวลา (ของเค้าดีจริง ๆ)

กิงโกะ บิโลบา Ginkgo Biloba สารสกัดจากใบแปะก้วย มีคุณสมบัติเพิ่มการไหลเวียนของเลือดที่สมองและร่างกาย ลดการทำลายของเชลล์ประสาท ลดอาการเสื่อมของสมอง

คลิกที่นี่ http://www.asianlifeonline.net/product/VAMB001-ginkgo-biloba.asp?id=M27012

การ์ซีเนีย แคปซูล Garcinia Capsule ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ด้วยสารสกัด GM-1 จากมังคุด สำหรับผู้ที่ต้องการเสริมระดับ ภูมิคุ้มกันให้สมดุล หรือผู้ที่มีปัญหา ภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาทิเช่น มะเร็ง ภูมิแพ้ พาร์คินสัน ตับเสื่อม กระเพาะอาหาร-ลำไส้อักเสบ ฯลฯ

รายละเอียด

  • ปริมาณสุทธิ: 50 แคปซูล นน.30 กรัม/ขวด
  • เลขทะเบียน อย.: 51-1-00739-1-0091

การ์ซีเนีย แคปซูล Carcinia Capsule เป็นผลิตภัณฑ์ ที่เกิดจากการพัฒนาต่อยอดผลงานวิจัยของคณะนักวิจัย BIM Team นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา และ ศ. ดร. พิเชษฐ์ เป็นผู้ควบคุมการผลิตเองให้มีสรรพคุณและประสิทธิภาพสูงปลอดภัย และไร้ผลข้างเคียง

ติดต่อสอบถามได้ที่ 085-0385156 , 081-5355083 , 089-7244569

หรือกดลิงค์นี้

http://www.AsianLifeOnline.net/Product/VGM001-garcinia-capsule.asp?id=M27012&ad=Sanook.com

ชื่อผลิตภัณฑ์ : กิงโกะ บิโลบา 40 มก. (สารสกัดจากใบแปะก้วย)

รหัสสินค้า : VAMB001 ขนาด/บรรจุ : 90 แคปซูล / ขวด ราคาเต็ม 1340 บาท ราคาพิเศษ 990 บาท ผลิตภัณฑ์ ชนิดเดียวกันในเครื่องหมายการค้าอื่นจึงมีประสิทธิภาพสูงที่สุด บรรเทาอาการปวดศีรษะ วิงเวียน ไมเกรน ความผิดปกติในการได้ยิน เสียงหริ่งในหู ช่วยส่งเสริมการไหลเวียนของเลือดที่สมองและแขน ขา อาการชา ตามปลายมือ ปลายเท้า อาการจากอัมพาตและอัมพฤกษ์ ลดอาการเสื่อมของสมอง เสริมสร้างความจำระยะสั้น ระยะยาว และการขาดสมาธิ ป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดในสมอง หลอดเลือดเข้าสู่หัวใจ อาการแทรกซ้อนในโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ การเกิดต้อกระจกและจอตาเสื่อม เสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายในการต่อต้านอนุมูลอิสระ และฟื้นฟูสมรรถภาพทางเพศ กิงโกะ บิโลบา ประกอบด้วย ปริมาณ ไบโอฟลาโวนอยด์ กลัยโคไซด์ (Bioflavonoid glyosides) ปริมาณ 10.72 มก. (26.8%) กิงโกไลด์ (Ginkgolide) ปริมาณ 3.25 มก. (8.13%) ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้มีความเสียงเป็นโรคหัวใจ ความดันสูง ผู้มีสมรรถภาพทางเพศเสื่อม ผู้ป่วยไมเกรน ปวดศรีษะ วิงเวียงบ่อยๆ ผู้ที่มีภาวะเครียด ผู้สูงอายุ และผู้ที่ความจำเสื่อม ขี้หลงขี้ลืม ผู้ป่วยเป็นอัมพาตอัมพฤกษ์ ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ นอนดึกเป็นประจำ ผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวาน, ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ-ความดันโลหิตสูง, ผู้มีสมรรถภาพทางเพศเสื่อม, ผู้ป่วยเป็นโรคไมเกรน ปวดศรีษะ วิงเวียนบ่อยๆ, ผู้สูงอายุ ความจำเสื่อม ขี้หลงขี้ลืม, ผู้บริหารและนักศึกษาที่อยู่ในภาวะเครียด, ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ นอนดึกเป็นประจำ รับประทานครั้งละ 1 แคบซูล ก่อนอาหารเช้า และ ก่อนนอน ผู้ป่วยเป็นอัมพาต อัมพฤกษ์ รับประทานครั้งละ 2 แคบซูล ก่อนอาหารเช้า และ ก่อนนอน รายละเอียด ปริมาณสุทธิ: 90 แคปซูล/ขวด หมายเหตุ: แนะนำให้ใช้ในเด็กอายุ 18 ปีขึ้นไป และห้ามบุคคลต่อไปนี้รับประทาน: สตรีมีครรภ์, ผู้ที่มีประวัติความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด, ผู้ที่มีประวัติการชัก และผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจอุดตัน( ของเขาดีมากๆครับ) สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 085-0385156 , 081-5355083 , 089-7244569

  http://www.AsianLifeOnline.net/Product/VAMB001-ginkgo-biloba.asp?id=M27012&ad=Sanook.com

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท