ครูนอกระบบ
นาง ณัฐนิธิ อารีย์ อักษรวิทย์

เอกสารประกอบการเรียนรู้เรื่องเห็ด


ใบความรู้

ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านหนองแวง ต.หนองแวง

                    
  
เห็ดฟาง

ความสำคัญของเห็ดฟาง

          เห็ดฟางเป็นเห็ดที่นิยมรับประทานกันมากในทวีปเอเซีย สามารถเพาะได้ดีในประเทศไทย เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตต่ำ โดยเกิดจากการนำวัสดุทางการเกษตรที่เหลือใช้หรือวัสดุธรรมชาติราคาถูกมาเพาะ โดยใช้ระยะเวลาในการเพาะน้อยเพียง ๑๒ - ๑๕ วันเท่านั้นสามารถเพาะเพื่อเป็นอาชีพเสริมรายได้ให้แก่ครอบครัวได้เป็นอย่างดี เห็ดฟางเป็นพืชที่มีคุณค่าทางอาหารสูงเมื่อเปรียบเทียบกับพืชอื่นโดยเฉพาะโปรตีน (มีโปรตีนอยู่ระหว่าง ๓-๓.๕ เปอร์เซ็นต์) เกลือแร่ วิตามิน ให้พลังงานและไขมันต่ำ ทำให้ลดไขมันในเส้นเลือด เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับไขมันเส้นโลหิตสูงและโรคหัวใจให้ทุเลาหายไปได้ นอกจากนี้เห็ดฟางยังมีโปรตีนจำพวกคาร์ดิโอท๊อกซิค (cardiotoxic protein) ซึ่งมีคุณสมบัติในการป้องกันการเติบโตและการหายใจของเซลล์มะเร็ง และยังมีคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคไข้หวัดใหญ่อีกด้วย

วัฎจักรชีวิตของเห็ดฟาง

            ดอกเห็ดมีระยะทางการเจริญเติบโต ๖ ระยะด้วยกัน คือ

            ๑)ระยะหัวเข็มหมุด ระยะนี้เส้นใยจะรวมตัวกันเห็นเป็นจุดสีขาวเล็ก ๆ บนวัสดุที่เห็ดฟางใช้ในการเจริบเติบโต

            ๒.)ระยะกระดุมเล็ก เป็นระยะที่ดอกเห็ดโตขึ้นมีขนาดเท่ากับเม็ดกระดุมขนาดเล็ก

            ๓.)ระยะกระดุม เป็นระยะที่เส้นใยของเห็ดมีการเปลี่ยนแปลงและขยายตัวในความกว้างของดอกเต็มที่ ส่วนของหมวกและก้านดอกยังเล็กอยู่ เหมาะที่จะเก็บขยายในระยะนี้

            ๔.)ระยะรูปไข่ ในระยะนี้ดอกเห็ดจะมีการเจริญด้านความยาวของก้านดอกและความกว้างของหมวกดอก เหมาะที่จะเก็บไปประกอบอาหาร

            ๕.)ระยะยืดตัว หลังจากเปลือกที่หุ้มปริออก ก้านดอกเห็ดเริ่มจะชูดอกโต ในระยะแรกหมวกดอกจะยังไม่บาน ในระยะนี้สามารถมองเห็นหมวกดอก ครีบดอก ก้านดอก เนื้อเยื่อหุ้มโคนดอกได้ชัดเจน

            ๖.)ระยะดอกบานเต็มที่ ดอกเห็ดที่บานเต็มที่ครีบดอกจะมีสปอร์อยู่ภายในครีบเป็นจำนวนมาก

  

 

 

 

 

 สภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการเจริญและออกดอกของเห็ดฟาง

           ๑)อุณหภูมิ การเจริญทางด้านเส้นใยต้องการอุณหภูมิประมาณ ๓๕ - ๓๘ องศาเซลเซียส และจะออกดอกที่อุณหภูมิ ๓๐ - ๓๕ องศาเซลเซียส แต่ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า ๒๐ องศาเซลเซียสจะไม่มีดอกเกิดขึ้น

           ๒)ความชื้น ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมต่อการเจริญของเส้นใยอยู่ระหว่าง ๘๐ - ๙๐ เปอร์เซ็นต์ แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับอุณหภูมิด้วย ในสภาพการเพาะขณะที่อุณหภูมิสูงก็ต้องให้ความชื้นสูงด้วย แต่เมื่อลดอุณหภูมิลงไประยะการเกิดดอกก็จำเป็นต้องลดความชื้นลงด้วย

           ๓)แสง พบว่าถ้าไม่ให้แสงตลอดการเพาะจะไม่มีดอกเกิดขึ้นเลย แต่การเกิดของดอกไม่ได้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการให้แสง (photo period) แต่ขึ้นอยู่กับปริมาณแสง (light intersity) ที่มีความเข้มของแสงเหมาะสมในการกระตุ้นให้ออกดอกอยู่ที่ ๕๐ ft - czndles

           ๔)ความเป็นกรด - ด่าง (pH) สปอร์ของเห็ดฟางงอกได้ดีขึ้น pH ๗.๕ สำหรับการเจริญและออกดอกของเห็ดฟางต้องการ pH ค่อนข้างเป็นกลาง ซึ่งพบว่าเห็ดฟางเจริญและให้ผลผลิตดีในช่วง pH 7.2 - 8.0

           ๕)ความต้องการธาตุอาหาร จากการวิเคราะห์ฟางข้าวที่มีเห็ดฟางเจริญอยู่พบว่าน้ำหนักของฟางข้างที่ลดลงเป็นส่วนของเซลลูโลสและเฮมิเซลลูโลส โดยลดลงประมาณ ๑๒ เปอร์เซ็นต์ เห็ดฟางไม่สามารถใช้ลิกนินได้ สำหรับสารประกอบคาร์บอนอื่นๆ ที่เห็ดฟางสามารถใช้ได้ดี ได้แก่ แป้ง กลูโคส น้ำตาล ซูโครส เป็นต้น เปปโตนเป็นแหล่งไนโตรเจนที่ดีของเห็ดฟาง สำหรับไทอามีนนั้นช่วยเร่งการเจริญเติบโตของเห็ดฟาง

การผลิตเชื้อเห็ดฟาง

          การผลิตเชื้อเห็ดฟางเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากขั้นตอนหนึ่ง เกษตรกรที่มีการฝึกปฏิบัติจนชำนาญ สามารถนำไปทำเป็นอาชีพได้โดยเกษตรจำเป็นต้องรู้จักการคัดเลือกดอกเห็ดและเส้นใยที่จะนำไปทำหัวเชื้อให้ถูกต้อง ไม่ควรต่อเชื้อบ่อยนัก ซึ่งการผลิตเชื้อเห็ดฟางมีขั้นตอนและข้อความพิจารณาดังนี้

          ๑.การคัดเลือกดอกเห็ดไว้ทำพันธุ์

          ๒.การทดสอบเชื้อเห็ดฟาง

          ๓.สูตรอาหารที่ใช้เลี้ยงเชื้อเห็ดฟาง

          ๔.การแยกเชื้อเห็ดฟาง

          ๕.การผลิตเชื้อเห็ดฟาง

          ๖.ลักษณะของเชื้อเห็ดฟางที่ดี

การคัดเลือกดอกเห็ดไว้ทำพันธุ์

          ในการคัดเลือกดอกเห็ดฟางที่จะใช้ทำหัวเชื้อ ถ้าได้ดอกเห็ดที่ขึ้นเองตามธรรมชาติจะดีมาก เพราะเส้นใยที่ดีได้จะแข็งแรง ให้ผลผลิตค่อนข้างสูง สามารถต่อเชื้อได้หลายครั้งแต่ควรทำการทดสอบดูให้ได้ผลเสียก่อน และหากไม่สามารถหาดอกเห็ดตามธรรมชาติได้ให้เลือกดอกเห็ดจากแปลงเพาะ ไม่ควรซื้อดอกเห็ดที่จำหน่ายกันในท้องตลาดมาทำพันธุ์ โดยดอกเห็ดที่จะใช้ทำพันธุ์ควรมีลักษณะดังนี้

          ๑)ควรเลือกดอกเห็ดจากแปลงที่ให้ผลผลิตสูงที่สุด

          ๒)ดอกเห็ดที่เลือกควรเป็นดอกตูม ซึ่งอาจจะเป็นรูปทรงกลมหรือทรงรีก็ได้

          ๓)เลือกดอกเห็ดที่มีปลอกหุ้มดอกเห็ดหนา เพราะเห็ดพวกนี้จะได้น้ำหนักดี บานช้าและแข็งแรง ซึ่งอาจจะทดสอบโดยการใช้มือบีบข้างดอกเห็ด จะพบว่าปลอกที่หุ้มด้านข้างยังแข็งอยู่

          ๔)การเลือกขนาดของดอกเห็ด ไม่ควรให้ใหญ่หรือเล็กเกินไป ควรเลือกเห็ดที่มีขนาดเหมาะสมกับความต้องการของตลาด น้ำหนักดี

          ๕)สีของดอกเห็ด อาจจะเลือกสีเทาหรือสีขาวก็ได้ แล้วแต่ความต้องการของตลาดโดยเห็ดฟางดอกสีเทาจะให้ผลผลิตสูงกว่าดอกเห็ดสีขาว

การทดสอบเชื้อเห็ดฟาง

          วิธีการทดสอบเชื้อเห็ดฟางที่ผู้ผลิตหัวเชื้อควรมีการทดสอบก่อนนำเชื้อเห็ดฟางไปขยายพันธุ์ มีวิธีการปฏิบัติดังนี้

          ๑)ให้แยกเนื้อเยื่อจากดอกเห็ดไปเลี้ยงบนอาหารวุ้น ถ้าเส้นใยมีการเจริญเติบโตดีจะมีลักษณะค่อนข้างฟู สีขาว แต่ถ้าหากเส้นใยเป็นหมัน จะมีการสร้างดอกน้อย ให้ผลผลิตต่ำไม่ควรที่จะนำมาขยายพันธุ์

          ๒)เส้นใยที่ดีและเหมาะสมที่จะนำไปทำหัวเชื้อ ควรเป็นเส้นใยที่เจริญเติบโตเร็วแต่การเจริญของเส้นใยจะเจริญแนวราบติดกับอาหารวุ้น และมีลักษณะหยาบอย่างเห็นได้ชัด

          ๓)เส้นใยที่เหมาะต่อการทำหัวเชื้อนั้น ลักษณะของเส้นใยหลังจากเดินเต็มผิวอาหารวุ้นแล้วและทิ้งไว้ประมาณ ๕-๗ วัน เส้นใยจะเปลี่ยนสีจากสีขาวเป็นสีน้ำตาลอ่อน และมีการสร้างคลามัยโดสปอร์ โดยเส้นใยจะรวมตัวกันเป็นจุดเล็ก ๆ เห็นได้ชัด แสดงว่าเชื้อเห็ดฟางเป็นเชื้อที่ดีแข็งแรง ถ้านำไปเพาะที่แปลงเกิดดอกแน่นอน แต่ถ้าเส้นใยไม่เปลี่ยนสีไม่มีการสร้างคลามัยโดสปอร์ไม่ควรนำไปใช้ทำพันธุ์ เพราะเป็นเส้นใยที่อ่อนแอ

 

 

สูตรอาหารที่ใช้เลี้ยงเห็ดฟาง

          สูตรอาหารที่ใช้เลี้ยงเชื้อเห็ดฟางมีอยู่ด้วยกันหลายสูตร แต่สูตรที่นิยมใช้กันมากที่สุด คือ P.D.A. (Potato Dextrose Agar) เพราะสูตรนี้ทำง่าน วัสดุสามารถหาได้ทั่วไปในท้องถิ่นและสามารถใช้เลี้ยงเชื้อเห็ดได้เกือบทุกชนิด เห็ดฟางนี้จะเจริญเติบโตได้ดีในอาหารที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ประมาณ ๖.๘ - ๗.๘ ซึ่งอาหารวุ้น P.D.A ที่ใช้เลี้ยงเชื้อเห็ดฟางจะมีส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้

          -มันฝรั่ง ๒๐๐ - ๓๐๐ กรัม

          -น้ำตาลเดร็กโตส ๒๐ กรัม

          -วุ้นทำขนม ๒๐ กรัม

          -

คำสำคัญ (Tags): #รายได้
หมายเลขบันทึก: 224707เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2008 15:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • เป็นกิจกรรมที่ดี
  • ยินดีที่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครับ

เป็นสิ่งที่ดีมากครับ ขออนุญาตเอาไปทดลองทำและเผยแพร่ต่อไปครับ ^__^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท