หลักสูตรปริญญาเอก ๒ แบบ


เวลานี้ในประเทศไทยมีหลักสูตรปริญญาเอก ๒ แบบ  

1.     หลักสูตร PhD เน้นวิจัย    อาจารย์ที่ปรึกษาต้องเป็นผู้ทำวิจัยเชี่ยวชาญ ในสาขานั้นๆ   และนักศึกษาเข้าไปร่วมทำวิจัย ฝังตัวทำงานวิชาการ ร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างเข้ข้น   ตัวอย่างของการจัดการเรียนการสอน และการฝึก นศ. ป. เอกอย่างจริงจังเข้มข้นอ่านได้ที่ http://gotoknow.org/blog/sirisuhk    เป็นตัวอย่างจาก Michigan State University

2.     หลักสูตร PhD เน้นเพื่อไปทำงาน   อาจารย์ที่ปรึกษาของมหาวิทยาลัยไม่มีความรู้ ไม่มีประสบการณ์ ไม่มีผลงานวิจัย ในหัวข้อที่ นศ. ป. เอกทำวิทยานิพนธ์    นศ. ต้องขวนขวายหาอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมจากภายนอกเอาเอง   ไม่มีกิจกรรมฝึกทักษะวิชาการให้แก่ นศ. อย่างที่ อ. ศิริสุข รักถิ่น เขียนเล่าไว้ใน บล็อก ข้างบน

 

ผมเข้าใจว่า มีหลักสูตรปริญญาเอกแบบที่ ๓ อยู่ในหลายประเทศ   รวมทั้งในสหรัฐอเมริกา   ที่น่าจะเรียกได้ว่าเป็นการขายปริญญา   ไม่ได้เอาใจใส่คุณภาพของการศึกษาเลย   ตัวนักศึกษาก็ไม่ได้ต้องการฝึกฝนตนเองด้านวิชาการอย่างเข้มข้น   สิ่งที่ต้องการจริงๆ คือใบปริญญา และคำนำหน้าที่ผู้คนเรียกว่า ด็อกเตอร์  

 

มหาวิทยาลัยควรรับบุคคลที่ได้รับปริญญาเอกตามแบบที่ ๑ เท่านั้นเข้ามาเป็นอาจารย์ประจำ    แต่ควรรับบุคคลทุกแบบที่มีความรู้จริงในเรื่องนั้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ปฏิบัติ มาร่วมเป็น อาจารย์ เฉพาะกิจ 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๖ พ.ย. ๕๑

 

หมายเลขบันทึก: 224427เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2008 07:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เห็นเป็นเช่นอาจารย์หมอได้เขียนไว้ในบันทึกนี้ ครับ

ปริญญาเอก แบบที่ 3 ... กำลังขยายตัวมากขึ้น มีผลผลิตของบัณฑิตประเภทนี้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเพิ่มศักยภาพของใบปริญญาที่มีอยู่ของตัวเองให้สูงขึ้น แค่ "ใบปริญญา" เพื่อกระโดดข้ามแท่งเงินเดือนไปกินตำแหน่งอาจารย์ปริญญาเอก แต่ ... ไม่มีความรู้ถึงขั้นนั้นจริง ๆ ... อีกทั้ง บัณฑิตเหล่านี้กำลังสร้างปัญหาใหม่ ๆ และใหญ่ ๆ ให้กับระบบการบริหารมหาวิทยาลัยมากขึ้นเรื่อย ๆ ... คุณภาพการเรียนการสอนต่ำลงกว่าปกติ ซึ่งปกติก็ต่ำอยู่แล้ว ... เป็น "ด๊อกเตอร์กล้วย" อย่างที่หนังสือพิมพ์มติชนเคยลงไว้มั้งครับ :)

ขอบคุณอาจารย์หมอ ครับ

ผมขออนุญาตแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับท่านอาจารย์ดังนี้ครับ ผิดถูกประการใดขอท่านอาจารย์ช่วยชี้แนะด้วยนะครับ ผมเห็นว่าโลกเราก้าวสู่ยุคไร้พรมแดนด้านความรู้ การวิจัยในบางสาขา โดยเฉพาะสาขาที่ไม่ต้องพึ่งพิงเทคโนโลยีที่ทันสมัยจากภายนอก ผู้วิจัยไม่จำเป็นต้องมีที่ปรึกษาเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นก็ย่อมได้ เพราะกระบวนการตีพิมพ์ในวารสารที่มีชื่อเสียงจะเป็นหลักประกันคุณภาพของ "ผลการวิจัย" ส่วนประเภทของหลักสูตรเป็นเพียง "กระบวนการ"

ในทางปฏิบัติ ผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา มักมีช่องทางในการตีพิมพ์ ทำให้โอกาสได้รับการยอมรับลงตีพิมพ์และสำเร็จการศึกษามีสูง ส่วนนักศึกษาที่ดิ้นรนด้วยตนเอง มีที่ปรึกษาไร้ชื่อเสียง ไร้ผลงานในสาขา จะค่อยไม่มีช่องทางตีพิมพ์ (เช่น ที่ปรึกษาไม่ได้เป็น บก. ในวารสารนานาชาติ) ดังนั้นการได้ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติที่มีชื่อเสียงจึงแสดงถึงความสามารถในการวิจัย

ผมคิดว่ามหาวิทยาลัยควรรับบุคคลที่จบปริญญาเอกในหลักสูตรใดก็ตามที่ มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ โดยตนเป็น Corresponding and first author  ไม่เช่นนั้นคนที่จบปริญญาเอกในประเทศในสถาบันส่วนภูมิภาค โดยที่ที่ปรึกษาไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญจะไม่มีโอกาสได้เป็นอาจารย์ ครั้นสมัครเข้ารับราชการ (โดยมากรับ วุฒิโท) ก็จะได้รับการปฏิเสธ ด้วยเหตุผลว่า "เสียดายความรู้ที่เรียนมา น่าจะไปทำงานเป็นอาจารย์"

ควรดูที่ผลงานครับ: "Made in Thailand but International"

ผมเห็นด้วยกับท่าน ดร.มนตรี เพราะปัจจุบันนี้หาอาจารย์ดีๆอย่างที่คาดหวังได้ยาก และบางที่ภูมิปัญญาชางบ้านท้องถิ่นเองยังมีความรู้ความชำนาญในบางอย่างมากกว่า และทำกันมานานแล้วด้วยแต่กลับไม่ได้รับการยอมรับจากนักวิชาการที่ชอบถือยศถืออย่าง บางคนมีความรู้แต่ไม่มีโอกาศได้เรียนต่อในสถาบัน แต่มีความพยายามศึกษาด้วนตนเองจนรู้และชำนาญ นักวิชาการบางคนจบด็อกเตอร์มาแต่เบื้องหลังไม่เคยทำเอง เล่นขโมยงานของคนอื่นเขาแล้วเอาไปอ้างแถมยังกลับมาดูถูกภูมิปัญญาท้องถิ่นอีก แต่ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ตัวผมเองก็อยากได้คำนำหน้าว่าด็อกเตอร์เหมือนกันครับแต่ก็ยังหาสถานที่เรียนอยู่และอีกอย่างคือภาษาอังกฤษผมเองไม่ค่อยดี ไม่อยากโทษการศึกษาของไทยเราหลอกนะครับที่สอนมาผิดๆ เพราะสอนให้แต่งหนังสือมากกว่าสอนให้ใช้ในการติดต่อสนธนา พอมีโอกาศได้พูดกับฝรั่งมังค่าบ้างก็เล่นเอาไบ้รับประทานกันไปเลย เพราะมัวแต่นึกว่า จะตรงไวยากรณ์ไหมหนอ จะสุภาพไหมหนอ แล้วพูดไปเขาจะหาว่าดูถูกไหมหนอ ก็อาจารย์เล่นขู่ไว้ตลอดสมัยเรียนว่าจะต้องพูดไห้ถูก แต่ก็ แล้วทำไมต้องเรียนด็อกเตอร์เมืองขึ้นฝรั่งด้วยครับ ด็อกเตร์แบบที่เรียนแบบไทยๆเราไม่มีหรือครับท่านนักวิชาการทั้งหลาย ผมก็เห็นฝรั่งมันมาเมืองไทย มันขโมยเอาขโมยเอา ของดีภูมิปัญญาไทยๆของเราไปตั้งเยอะ แล้วพวกท่านนักวิชาการทั้งหลายก็ไปยกยอฝรั่ง ทั้งๆที่ของของเราดีกว่าตั้งเยอะ "ผมอยากเรียนในไทย อยากเรียนและอยากเห็นด็อกเตอร์แบบไทยๆ หลักสูตรแบบไทยๆ ถ้าเป็นเรื่องรัฐศาสตร์หรือการเมืองก็เป็นการเมืองแบบไทยๆ เพราะผมเชื่อว่าคนไทยเราเก่งที่สุดในโลกนี้โดยเฉพาะถ้าได้รับการสนับสนุนสักหน่อยแล้วละก็ เก่งกว่าฝรั่งเยอะ ขอบคุณครับ......ที่กรุณาอดทนอ่านจนจบ

ท่านใดสนใจเรียนปริญญาเอกมหาวิทยาลัยของรัฐบาล ประเทศอินเดีย กพ.รับรอง เน้นการทำวิจัยResearch อย่างเดียว ไม่มีการเรียน Course Work เพราะเรียน Ph.D. ระบบอังกฤษ ค่าใช้จ่ายไม่แพง ถูกกว่าเมืองไทย 3-4 เท่าตัว กล่าวคือตลอดหลักสูตรรวมค่าธรรมเนียมทุกประเภทแล้ว เพียง 250,000 บาท เท่านั้น สนใจติดต่อ 086-799-9642

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท