AAR (ส่วนตัว) หลังจากไปฟังระบาดวิทยาพันธุศาสตร์


“หน้าที่ ความรับผิดชอบ ทำให้เราทำสิ่งต่างๆ ได้สำเร็จ แต่ความรักต่างหาก ที่ทำให้เราทำสิ่งๆ นั้นได้อย่างสมบูรณ์แบบ”
ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมามีโอกาสฟังการสัมนาร่วมระหว่างหน่วยระบาดวิทยากับหน่วยมนุษยพันธุศาสตร์ของภาคเรา อันเนื่องมาจาก ตัวเองเข้าไปมีเอี่ยวกับทั้งสองหน่วยนี้ ก็คือเพิ่งเรียนระบาดมาสดๆ ร้อนๆ และเพราะว่างานวิจัยที่กำลังจะเริ่มมี ส่วน ของพันธุศาสตร์อยู่ด้วย เลยอยากลองทำ AAR (ส่วนตัว) ดูบ้าง ไว้วันหลังวันหน้าจะได้ย้อนกลับมาดูว่า ตัวฉันเองได้เอา AAR ในครั้งนี้ ไปปรับใช้ในการ ดูงาน ครั้งต่อๆ ไปบ้างหรือเปล่า
อะไรที่ได้เกินคาด
1.    ไม่คิดว่า การบรรยายที่ได้ฟัง มันจะช่วยให้เรามองเห็นภาพของสิ่งที่ตัวเองจะทำชัดขึ้น หลังจากงงๆ อยู่นาน รวมทั้งได้ความมั่นใจเพิ่มขึ้นด้วยว่า สิ่งที่เรากำลังจะเดินไปนั้น เราไม่ได้เดินมาผิดทาง เพราะก่อนหน้านี้ โดนอาจารย์ถามตลอดว่า ปฏิสัมพันธ์ (interaction) ที่กำลังจะศึกษานั้นคืออะไร เพราะถ้าลองไปดูความหมายของคำเองนั้น มีหลากหลายมากๆ แล้วก็ ตีความ แตกต่างกันด้วยระหว่างนักสถิติ นักระบาดวิทยา และนักวิทยาศาสตร์ อาจารย์ระบาดก็เข้าใจไปอย่างหนึ่ง อาจารย์ที่เป็นนักสถิติก็อีกอย่างหนึ่ง ฉันเองที่ไม่ได้เป็นทั้งนักระบาดและนักสถิติยิ่งงงใหญ่ ประชุมคราวนี้ มีโอกาสได้ฟังอีกรอบจากวิทยากรเป็นเหมือนการ จูน ความเข้าใจระหว่างตัวฉันเองกับอาจารย์ นอกจากนั้นยิ่งมั่นใจว่า ปฏิสัมพันธ์เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก แม้กระทั่งท่าน CKO ของเราท่านก็ศึกษาเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน
2.    แรงกระตุ้น และแรงผลักดันให้ไปศึกษาเพิ่มเติม เพราะว่าฟังหลายเรื่องมันช่าง ยาก จริงๆ แต่เผอิญเป็นเรื่องที่เราสนใจใคร่รู้ ประกอบกับเป็นพวก ชอบเอาชนะ เลยตัดสินใจว่า ไปเรียนให้รู้เรื่อง (ให้รู้แล้วรู้รอด แต่ไม่รู้ว่าจะเอาตัวรอดหรือเปล่า) เลยดีกว่า
อะไรที่ได้น้อยกว่าคาด
1.    สืบเนื่องมาจากข้อที่สองในหัวข้อข้างบน ทำให้ไม่ค่อย เก็ต ทั้งทฤษฎีทางพันธุศาสตร์ รวมทั้งสถิติตัวใหม่ๆ จากข้อนี้ เลยนำไปสู่ข้อเสนอแนะ (เพื่อปรับปรุงตนเอง) ข้อที่สอง
2.    ผู้เข้าร่วมจากทางระบาดวิทยาน้อยเกินไป จริงๆ แล้วคิดว่าน่าจะมีมากกว่านี้ เพราะวัตถุประสงค์ของการจัดก็คือ ต้องการสร้างความร่วมมือร่วมระหว่างหน่วยงานในการทำงานวิจัยร่วมกัน ถ้ามีผู้เข้าร่วมจากทั้งสองหน่วยงานมากขึ้น ก็เป็นเวทีที่ดีที่สมาชิกจากทั้งสองหน่วยจะได้มาพบปะกัน หรือไม่ก็ได้ทราบว่า ถ้านักมนุษยพันธุศาสตร์อยากทำงานวิจัยด้านระบาดแต่ยังไม่ค่อยเข้าใจในเนื้อหา เราก็ยังมีนักระบาดวิทยาในคณะของเราที่คอยช่วยเหลือให้งานวิจัยไม่ สะดุด  หรือนักระบาดวิทยาคนไหนที่อยากทำวิจัยที่เกี่ยวกับพันธุศาสตร์ แต่ยังไม่ค่อยเข้าใจด้านเนื้อหา หรือทำแลปไม่เป็น ก็จะได้รู้ว่าเรามีบุคลากรอีกจำนวนมากที่มีความรู้ด้านนี้ที่จะให้ความช่วยเหลือ สาเหตุที่มีผู้เข้าร่วมจากระบาดน้อยคิดว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะทางระบาดวิทยามีนักศึกษาชาวต่างชาติเยอะพอสมควร คงลำบากที่จะมาฟังภาษาไทย นอกจากจะจัดให้บรรยายเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งคิดว่าจะมีนักศึกษามาเข้าฟังมากขึ้น อีกส่วนหนึ่งคือเนื้อหาบางส่วนค่อนข้างลึก
ข้อเสนอแนะและสิ่งที่จะปรับปรุงในคราวต่อไป
1.    น่าจะจัดให้มีส่วนที่อาจารย์หรือใครก็ตามจากระบาดวิทยาบรรยายหรืออภิปรายบ้าง ในส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างเช่น ระเบียบวิธีวิจัย สถิติที่สอดคล้องกับงานวิจัยที่มีการนำเสนอในคราวนี้ สลับกันไป เหมือนการ ยำ งานวิจัยหลายๆ ส่วนรวมๆ กันจะได้มองเห็นภาพได้กว้างขึ้น แล้วก็เข้าใจในรายละเอียดมากขึ้น นอกเหนือจากเนื้อหาทางทฤษฎี โดยส่วนตัวของฉันเอง ฉันชอบการ comment ในการนำเสนอทั้ง thesis และ proposal examination ของระบาดวิทยามาก นักศึกษาจะนำเสนองานวิจัยของตนเองให้เพื่อนๆ และอาจารย์ฟัง ซึ่งมันหลากหลายมากๆ ทั้งโรคและไม่ใช่โรค ขึ้นอยู่กับความสนใจของนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษา ฉะนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่ฉันเองจะเข้าใจมันไปทุกเรื่อง แต่เวลาที่มีคนนำเสนอ แล้วอาจารย์ comment นั้น ฉันมักจะมองเห็นภาพได้ชัดกว่าตอนที่ฟังการนำเสนออย่างเดียว
2.    อันนี้สำหรับตัวเองโดยแท้ คือคราวหน้าจะอ่านเตรียมตัวไปมากกว่านี้ เผื่อจะได้มีคำถามไปถามวิทยากรให้เยอะๆ  เหมือนกับที่อ. วิจารณ์เคยพูดไว้ว่า เวลาไปดูงาน (ฟังบรรยาย) ที่ไหน อย่าคิดจะไปเอาแต่ความรู้เขาอย่างเดียว ให้เอาคำถามไปฝากเขาด้วย

       ตอนท้ายของการปรึกษาหารือ ท่าน CKO ของเราได้ถามวิทยากรท่านหนึ่งซึ่งน่าจะเรียกว่า พหูสูตร ได้ เพราะเขามีความรู้และเข้าใจรอบด้านเกี่ยวกับงานที่เขาทำอยู่ จริงๆ และเกิดขึ้นจากการเรียนรู้ด้วยตัวเองแท้ๆ ว่า มีวิธีการอย่างไรในการเรียนรู้ น้องเขาตอบว่าอย่างไรรู้ไหมคะ ตอนแรกๆ เขาก็ไม่เข้าใจหรอก แต่เนื่องจากเป็นสิ่งที่เขาสนใจอยู่แล้ว ดังนั้นมันจึงไม่ใช่เรื่องยากที่จะเรียนรู้ 
      ทำให้ฉันนึกถึงคำๆ หนึ่งที่เคยได้ยินมาว่า
หน้าที่ ความรับผิดชอบ ทำให้เราทำสิ่งต่างๆ ได้สำเร็จ
แต่ความรักต่างหาก ที่ทำให้เราทำสิ่งๆ นั้นได้อย่างสมบูรณ์แบบ


เฮ้อ แต่บางเรื่องความรัก (จากฉัน) อย่างเดียว ก็ไม่สามารถทำให้สิ่งๆ นั้นสำเร็จและสมบูรณ์แบบได้

คำสำคัญ (Tags): #aar
หมายเลขบันทึก: 22429เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2006 22:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 14:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

In the beginning I was looking forward to join this seminar. Unfortunately a days before the event I had to go to BKK to take care of an urgent matter that just happened. However now I know who is the resource person to catch up with this subject. :-)

Below are series of seven articles that provide an overview of central concepts and topical issues in modern genetic epidemiology. (Started in the Lancet Volume 366, Issue 9489 , 10 September 2005-16 September 2005, Pages 941-951) I may forward them to you already before the seminar, but just in case other fans of your blog may be interested in.

By the way, ...Life is indeed darkness save when there is urge, and all urge is blind save when there is knowledge, and all knowledge is vain save when there is work, and all work is empty save when there is love....  -The Prophet by Kahlil Gibran

Genetic Epidemiology 1 Key concepts in genetic epidemiology

http://www.sciencedirect.com/science?_ob=MImg&_imagekey=B6T1B-4H2KVVS-13-1&_cdi=4886&_user=267327&_orig=search&_coverDate=09%2F16%2F2005&_sk=996330510&view=c&wchp=dGLbVlb-zSkzk&md5=d5c1c61182f316e0f208b6486febd093&ie=/sdarticle.pdf

Genetic Epidemiology 2 Genetic linkage studies

http://www.sciencedirect.com/science?_ob=MImg&_imagekey=B6T1B-4H40RPY-1B-7&_cdi=4886&_user=267327&_orig=browse&_coverDate=09%2F23%2F2005&_sk=996330509&view=c&wchp=dGLzVzz-zSkzk&md5=bdfa59ac260bc42f7819181d3e501d79&ie=/sdarticle.pdf

Genetic Epidemiology 3 Genetic association studies

http://www.sciencedirect.com/science?_ob=MImg&_imagekey=B6T1B-4H5GDN3-10-3&_cdi=4886&_user=267327&_orig=browse&_coverDate=09%2F30%2F2005&_sk=996330508&view=c&wchp=dGLbVtb-zSkWA&md5=b848fe613320444eda365b1d78c22c7f&ie=/sdarticle.pdf

Genetic Epidemiology 4 Shaking the tree: mapping complex disease genes with linkage disequilibrium

http://www.sciencedirect.com/science?_ob=MImg&_imagekey=B6T1B-4H7052J-13-1&_cdi=4886&_user=267327&_orig=browse&_coverDate=10%2F07%2F2005&_sk=996330507&view=c&wchp=dGLbVlz-zSkzk&md5=8bfccedf90797768105d660e262e7d07&ie=/sdarticle.pdf

Genetic Epidemiology 5 What makes a good genetic association study?

http://www.sciencedirect.com/science?_ob=MImg&_imagekey=B6T1B-4H8G0MB-13-1&_cdi=4886&_user=267327&_orig=browse&_coverDate=10%2F14%2F2005&_sk=996330506&view=c&wchp=dGLzVzz-zSkzk&md5=5a7c79a43bf2416aefccbef07c960391&ie=/sdarticle.pdf

Genetic Epidemiology 6 Population-based family studies in genetic epidemiology

http://www.sciencedirect.com/science?_ob=MImg&_imagekey=B6T1B-4H9YYF0-14-1&_cdi=4886&_user=267327&_orig=search&_coverDate=10%2F21%2F2005&_sk=996330505&view=c&wchp=dGLbVlb-zSkzk&md5=26202bf6a53989bf91a75982d2482a6e&ie=/sdarticle.pdf

Genetic Epidemiology 7 Genetic epidemiology and public health: hope, hype, and future prospects

http://www.sciencedirect.com/science?_ob=MImg&_imagekey=B6T1B-4HCFKF9-X-1&_cdi=4886&_user=267327&_orig=search&_coverDate=10%2F28%2F2005&_sk=996330504&view=c&wchp=dGLbVlb-zSkzk&md5=50e77d6f11de7a88a781421a2f7d0a63&ie=/sdarticle.pdf

Genetic epidemiology: strengths, weaknesses, and opportunities

http://www.sciencedirect.com/science?_ob=MImg&_imagekey=B6T1B-4H2KVVS-8-1&_cdi=4886&_user=267327&_orig=search&_coverDate=09%2F16%2F2005&_sk=996330510&view=c&wchp=dGLbVzb-zSkWA&md5=9c8c71e9697ebb0e41b2cfb18363f059&ie=/sdarticle.pdf

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท