การออกแบบการเรียนรู้ แบบ Backward Design


การเรียนรู้แบบ Backward Design ในระยะแรกครูสามารถนำแผนการเรียนรู้ที่มีอยู่มาปรับใช้ได้

การออกแบบการเรียนรู้ แบบ Backward Design

ธนสาร  บัลลังก์ปัทมา เรียบเรียง   .

พิมพ์ครั้งแรก ThecityJournal ฉบับวันที่ 17-31 สิงหาคม 2550

 

                กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายกระจายอำนาจให้สถานศึกษา โดยมีการออกกฎกระทรวงว่าด้วยการกระจายอำนาจไปเมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ที่ผ่านมา  โดยมีการจัดอบรมครูจากโรงเรียนนำร่อง ๖๐๐ แห่งทั่วประเทศ เข้ารับการอบรมเข้มข้น ๙ วัน ๘ คืน อบรมตั้งแต่ ๐๘.๓๐ – ๒๑.๐๐ น. ตามหน่วยอบรมต่าง ๆ ทั่วประเทศ  เพื่อให้ครูที่เข้าอบรมเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีเรื่องที่อบรมครูจำนวน ๘ เรื่อง คือ หลักสูตรสถานศึกษา, การปฏิรูปการศึกษา การออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward Design,  การประกันคุณภาพ,  การพัฒนาสมรรถนะ,  การพัฒนากระบวนการคิด, การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้,  การนิเทศ ติดตามผล และหลักคุณธรรม หลักเศรษฐกิจพอเพียง 

                หัวข้อการอบรมที่นับว่าใหม่สำหรับครูที่เข้ารับการอบรม คือ การออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward Design  ซึ่งโรงเรียนนานาชาตินิยมใช้ในการออกแบบการเรียนรู้    มีขั้นตอน 3 ขั้นตอน เริ่มจากครูต้องวางแผนออกแบบการเรียนรู้ วางผังการประเมิน  และจัดผังการเรียนรู้เป็นรายวิชา  โดยมีแนวทางจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (หรือไม่บูรณาการก็ได้) จุดเด่นคือการนำแนวทางการวัดผลมาเป็นหลักในการออกแบบการเรียนรู้ หรือที่เรียกว่าแบบย้อนกลับ จากปกติที่ครูคุ้นเคยเริ่มการออกแบบการเรียนรู้ จากสาระสำคัญ กิจกรรมการเรียนรู้ แล้วจึงวางแผนการวัดผลประเมินผลส่วน Backward Design  คือเริ่มจากการกำหนดกรอบประเด็นการเรียนรู้และการวัดผล จากนั้นจึงกำหนดเนื้อหารายวิชา

                ขั้นตอนการออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward Design  มี ๓ ขั้นตอน ดังนี้

                ๑. ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ หรือประเด็นการเรียนรู้

                ๒. จัดทำผังการประเมินหรือวิเคราะห์ร่องรอยผลงานที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน

                ๓. การออกแบบการเรียนรู้ กำหนดเนื้อหาวิชาและจำนวนชั่วโมง

ในขั้นตอนที่ ๑ ครูต้องช่วยกันคิดออกแบบการเรียนรู้ ดังนี้

๑) หาหัวเรื่องที่จะออกแบบ(Theme)

๒) กำหนดแนวคิด (Concept) ในรูปแผนที่ความคิด (Mind Mapping)

๓) ความรู้ที่คงทน (Enduring Understanding) หรือความคิดรวบยอดที่เกิดขึ้นเมื่อเรียนจบหน่วยการเรียนรู้

๔) การวิเคราะห์เทียบมาตรฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่จะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

๕) การวิเคราะห์ความรู้หรือทักษะเฉพาะวิชาในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้

๖) ทักษะคร่อมวิชาหรือทักษะร่วม (ทักษะบูรณาการ) เป็นทักษะที่นำมาใช้ร่วมกันได้ทุกกลุ่มสาระ เช่น กระบวนการกลุ่ม การวางแผนการทำงาน กระบวนการวิทยาศาสตร์

๗) วิเคราะห์จิตพิสัย

๘) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของโรงเรียน 

ขั้นตอนที่ ๒  การจัดทำผังการประเมิน หรือร่องรอยผลงานของผู้เรียน โดยการวางผังการประเมินความรู้ที่คงทน, คุณลักษณะอันพึงประสงค์และจิตพิสัย, ทักษะคร่อมวิชาหรือทักษะร่วม, ความรู้และทักษะเฉพาะวิชา

วิธีการประเมิน สามารถประเมินได้ ๖ ลักษณะ คือ

๑) การเลือกตอบ (Selected Response) เป็นการเลือกคำตอบที่ถูกต้อง การจับคู่คำตอบ

๒) การเขียนหรือตอบตามเค้าโครง (Constructed Response) เป็นการเขียนคำตอบสั้นลงลงในช่องว่างหรือตารางตามรูปแบบที่กำหนดไว้

๓) การตอบแบบอัตนัย (Essay) การเขียนเรียงความ การเขียนเรื่อง การตอบคำถามพร้อมเหตุผล

๔) การผลิตชิ้นงาน โครงการ (School products/performance) นักเรียนผลิตชิ้นงาน ทำโครงการ โครงงาน การแสดง การปฏิบัติโดยมีกลุ่มเป้าหมายในโรงเรียน ทำงานหรือทำกิจกรรมในโรงเรียน

๕) การผลิตชิ้นงาน โครงการจากภายนอกหรือจากชุมชน (Contexual products/performance) นักเรียนผลิตชิ้นงาน ทำโครงการ โครงงาน การแสดง การปฏิบัติโดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นบุคคลภายนอกหรือในชุมชน อยู่ในบริบทชีวิตจริงที่มีความซับซ้อนของสถานการณ์ นักเรียนต้องมีทักษะในการทำงานและการแก้ปัญหา

๖) การประเมินต่อเนื่อง (On-going tools) เป็นการสังเกตพัฒนาการ การประเมินทักษะ การประเมินตนเองของนักเรียน โดยอาจใช้การสังเกต สัมภาษณ์

ขั้นตอนที่ ๓ การออกแบบการเรียนรู้สู่เนื้อหา เป็นการนำผังการประเมินที่กำหนดไว้ มาออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การประเมินผลเป็นตัวหลัก เพื่อวางกิจกรมการเรียนรู้ แล้วกำหนดทรัพยากร สื่อและแหล่งเรียนรู้ จากนั้นจึงกำหนดเวลา ให้จัดทำในรูปแบบตารางผังการออกแบบ ๔ ช่อง มีหลักการพิจารณาเนื้อหา ดังนี้

๑) เรียงเนื้อหาจากง่ายไปสู่เนื้อหาที่ยากขึ้น

๒) เรียงลำดับก่อนหลัง

๓) ตัวอย่างการประเมินจากกิจกรรม โดยพิจารณาว่าก่อนประเมินครูต้องจัดกิจกรรมเรียนรู้ใดร่วมกับผู้เรียน

๔) เกณฑ์การประเมินชิ้นงานตามเกณฑ์คุณภาพ (Rubric) เป็นการกำหนดระดับการประเมินว่างานมีคุณภาพระดับใด

            ข้อควรคำนึง คือ ก่อนจะจัดผังการประเมิน  ควรคำนึงว่าในโรงเรียนที่ครูแต่ละคนสอนคนละวิชา ครูจะมีโอกาสมาจัดกิจกรรมในช่วงเดียวกันหรือช่วงเวลาใกล้เคียงกันหรือไม่  เพราะหากครูไม่ร่วมแรงกันแล้ว  ในที่สุดครูสังคมศึกษาหรือครูภาษาไทยจะกลายเป็นคนที่รับบทหนักในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่กำหนดไว้  เมื่อถึงการประเมินครูจะมีข้อตกลงกันหรือไม่ว่าจะร่วมกันประเมิน โดยไม่เพิ่มภาระงานให้

 

แนวการออกแบบการเรียนรู้แบบ Backward Design

เรื่องภาษาไทย ภาษาถิ่น

สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3   เวลา 3 ชั่วโมง

 

 

จุดประสงค์                                                          มาตรฐาน

๑. เข้าใจความหมายของภาษาถิ่นภาษาไทย                        มฐ. ๔.๑ ข้อ ๔

๒. ใช้ภาษาสื่อสารในชีวิตประจำวันถูกต้องเหมาะสม

๓. เปรียบเทียบภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่นได้

แนวคิด   Concept : ภาษาถิ่น                                             กระบวนการ Progress ทักษะความคิดรวบยอด

                                                                                                                        มารยาทการฟัง มารยาทการพูด

หลักการ  ภาษาถิ่น เป็นวัฒนธรรมพื้นฐาน                         ค่านิยม          เห็นคุณค่าภาษาถิ่น  อนุรักษ์ภาษาถิ่น

(จากแผนการจัดการเรียนรู้)                                                  (จากแผนการจัดการเรียนรู้)

ความรู้ฝังแน่น (Enduring Understanding)                  หลักฐานแสดงคามรู้ (ร่องรอย การประเมิน)

   ภาษาถิ่นเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านที่ใช้สื่อสาร                          -ตารางภาษา 4 ภาค (แบบฝึก) (1)

ภายในท้องถิ่น การทำความเข้าใจภาษาถิ่น                            -การแต่งประโยคภาษาไทยมาตรฐานและ

จะทำให้เข้าใจและสามารถติดต่อสื่อสารกับ                            ภาษาถิ่น (2)

คนภาคอื่นได้ (จากแผนการสอน)                                              -สังเกตเสียงคำแล้วตอบคำถาม

      -การเขียนเรื่องภาษาถิ่นที่ฉันรู้จัก (4)

กิจกรรมนำสู่ผล    คิด ทำ พูด (Know Do)                       Quest. (คำถามที่ท้าทาย)

-สนทนาเกี่ยวกับภาษาถิ่น คำทักทายภาษาถิ่น                     -พูดภาษาไทย รู้สึกอย่างไร /สร้างค่านิยมที่ดี

-หาอาสาสมัครพูดภาษาถิ่น (ถ้าไม่มี ใช้แถบบันทึกเสียง      -พูดภาษาถิ่น  รู้สึกอย่างไร /สร้างค่านิยมที่ดี

หรือ ครูเขียนคำให้ตัวแทนพูด)                                                 -ถ้าไม่มีภาษาถิ่นจะเป็นอย่างไร

-นักเรียนเลือกบัตรคำภาษาถิ่น                                                -ถ้าไม่พูดภาษาถิ่นจะเป็นอย่างไร

-ทำกิจกรรมภาษาคำพูดภาษาถิ่นจากภาพและ                     -คนล้อเลียนทำอย่างไร เราจะแสดงออกอย่างไร

คำภาษาไทยมาตรฐาน (1)                                                        -เราจะทำอย่างไร ให้คนกล้าพูดภาษาถิ่น

-แต่งประโยค

-ทำแบบฝึกสังเกตเสียงคำแล้วตอบคำถาม

-นักเรียนช่วยกันอภิปราย แสดงความคิดเห็น

    พูดภาษาไทย รู้สึกอย่างไร /สร้างค่านิยมที่ดี

    พูดภาษาถิ่น  รู้สึกอย่างไร /สร้างค่านิยมที่ดี

    ถ้าไม่มีภาษาถิ่นจะเป็นอย่างไร, คนล้อทำอย่างไร

-สรุปลักษณะ และความสำคัญของภาษาถิ่น

 

บรรยากาศ  Climate                                                                สื่อและอุปกรณ์

-เปิดโอกาสให้นักเรียนได้พูด ไม่ใช้คำพูดดุผู้เรียน(BBL)            -เพลงภาษาถิ่นที่นิยม เช่น ไว้ใจได้กา, อุ๊ยคำ ฯลฯ

-สร้างบรรยากาศเหมือนโรงละครแสดงบทบาทสมมติ              -บัตรคำ แบบฝึก หนังสือเรียน

 การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ Backward Design (2)  BwD

 ไปที่ >>>>>   http://gotoknow.org/blog/cityedu/224435

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 224244เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2008 09:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ยินดี แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องนี้ที่ http://gotoknow.org/blog/skuikratoke

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท