OM ในศรีลังกา_2006


แผนที่ผลลัพธ์ outcome mapping

ในช่วง 24 มีนาคม - 1 เมษายน ผมได้รับโอกาสให้ไปร่วม workshop เรื่อง Outcome mapping ที่ศรีลังกา ให้กับ ผู้ที่ได้รับการสนับสนุนจาก IDRC ในแถบเอเซียใต้ ประมาณ 24 คน

Outcome mapping หรือ แผนที่ผลลัพธ์นั้น ได้รับการแปลเป็นหนังสือแล้วเมื่อสัก 2 ปีที่แล้ว สำหรับผม ผมเห็นว่า OM เป็นเครื่องมือสำหรับการวางแผนโครงการพัฒนาที่เข้าท่ามากกว่า logical framework เพราะอยู่บนฐานของข้อเท็จจริง 2 ประการ กล่าวคือ 1) ระบบในสังคม มีความสลับซับซ้อนมากกว่า ที่จะคิดแบบเชิงเส้นตรง ที่หวังผลว่า เมื่อทำกิจกรรม A แล้ว ผล B จะเกิดขึ้น 2) ผลที่เกิดจากการพัฒนา ต้องให้ความสำคัญกับ การเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย มากกว่า ผลผลิต (output) หรือ ผลกระทบ (impact) เนื่องเพราะ ผลผลิตดูจะเป็นง่ายเกินไปสำหรับการกำหนดเป้าหมาย ส่วน ผลกระทบนั้น ก็ยาวจนไม่มั่นใจว่า ผลที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากโครงการของเรา หรือ โครงการของใคร กันแน่  และมักเป็นคำถามที่องค์ทุน (น่าจะ) ทุกแห่งในโลกนี้ พยายามถามหากับโครงการ หรือ โปรแกรมที่ได้รับงบสนับสนุนไปว่า แล้วผลกระทบของโครงการ หรือ โปรแกรม คืออะไร

ซึ่งในวิธีคิดของ OM นั้น บอกว่า ผลกระทบไม่มี (- คือแนวคิดของผลกระทบ เสมือนว่ามันเป็นผลสุดท้ายที่เกิดขึ้น และจะอยู่ตลอดไป - ) มีแต่การ change ไปเรื่อยๆ ไม่สิ้นสุด และดังนั้น เมื่อมันเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ หัวใจสำคัญที่จะรับประกันว่า มันจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ก็คือ พฤติกรรม นั้นเอง

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 22415เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2006 19:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท