แผนพัฒนา KM ของ สพท.นนทบุรี เขต 1และโรงเรียน


เสนอแผนพัฒนา KM ของ สพท.

1.ขั้นประชุมทีม KM สพท. เพื่อเตรียมการพัฒนางาน KM ใน สพท. โดย

   1.1 ทบทวนหัวปลาของสพท. และ CoPsที่จะทำ KM ของแต่ละกลุ่มใน สพท.

   1.2 กำหนดทีมวิทยากรเพื่อสนับสนุนให้การอบรม KM แก่โรงเรียนและสพท.

   1.3 วางแผนการพัฒนา KM ของ สพท.

2.ขั้นสนับสนุนส่งเสริม KM ในโรงเรียนและกลุ่มต่างๆของ สพท. เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ต่อเนื่องและยั่งยืน โดย

   2.1 ให้บริการเป็นวิทยากรการอบรม KM แก่โรงเรียนแห่งละ 1 วัน

   2.2 จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับโรงเรียนต่างๆและหน่วยงานอื่นแต่ละ CoP อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

   2.3 ลงบล็อกเพื่อสื่อสารแลกเปลี่ยนเรียนรู้และกระตุ้นติดตามการทำ KM ของทุกหน่วยงานให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

  2.4 สัมมนาคุณเอื้อและคุณอำนวยแต่ละโรงเรียน โดยการทำ AAR หลังไปพัฒนากันแล้ว ภาคเรียนละ 2 ครั้ง

  2.5 กำหนดให้มีการนำเสนอความก้าวหน้าการทำ KM ในการประชุมผู้บริหารประจำเดือน ทุกเดือน

  2.6 เยี่ยมชมผลงานและประสาน สคส.ไปเยี่ยมให้คำปรึกษาแนะนำที่โรงเรียน/หน่วยงานที่ทำ KM และหาวิธีการเผยแพร่ผลงานดีเด่นหลายๆลักษณะ เช่น ถ่ายทำวีดิทัศน์/หนังสือพิมพ์/วารสาร/บล็อก/ไปเสนอผลงาน ฯลฯ

  2.7 อำนวยความสะดวกให้โรงเรียนและหน่วยงานต่างๆมาเยี่ยมชมผลงานและแลกเปลี่ยนรู้ในโรงเรียนที่ทำ KM ได้ผลดี

  2.8 มอบรางวัลแก่บุคคล/โรงเรียน/หน่วยงาน ที่ทำ KM ดีเด่นประเภทต่างๆอย่างต่อเนื่อง

3. ขั้นติดตามประเมินผล โดย

  3.1 ประเมินจากการเสนอผลงาน KM ประจำปี

  3.2 ประเมินจากจำนวนขุมความรู้/แก่นความรู้ที่ได้จากการทำ KM และมีการเผยแพร่ในเอกสาร/บล็อก

  3.3 ประเมินจากบรรยากาศการทำงานและสัมพันธภาพของบุคลากร

  3.4 ประเมินจากมูลค่าเพิ่มมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน/หน่วยงาน

  3.5 ประเมินจากความต่อเนื่องและยั่งยืนในการทำ KM ของโรงเรียน/หน่วยงาน

หมายเหตุ แต่ละกิจกรรมจะมีเงื่อนไขเวลา งบประมาณ และผู้รับผิดชอบในรอบปีการศึกษา

 

เสนอแผนพัฒนา KM ของโรงเรียน

เพื่อเป็นการเสนอแนะโรงเรียนที่อาจกำลังแสวงหาแนวทางในการพัฒนาโรงเรียนโดยใช้กระบวนการ KM

ขณะที่ สพท.วางแผนพัฒนา KM ใน สพท. ผมเลยลองเสนอ แผนพัฒนา KM ของโรงเรียน คู่ขนานไปด้วย เพื่ออาจเป็นแนวคิดแนวทางให้โรงเรียนนำไปพิจารณาปรับใช้ และเป็นการขอความเห็นจากวิทยากร สคส.ด้วย โดยสรุป 3 ขั้นตอนดังนี้

1.ขั้นเตรียมการพัฒนางาน KM ของโรงเรียน โดย

       1.1 แต่งตั้งทีม KM ของโรงเรียน

        1.2 อบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนในโรงเรียน โดยให้ความรู้และฝึกปฏิบัติ 1 วัน

        1.3 ทบทวนหัวปลาของโรงเรียน และกำหนด CoPs ที่จะทำ KM แต่ละฝ่าย/กลุ่ม/งาน

        1.4 วางแผนการพัฒนา Km ของโรงเรียน

2.ขั้นดำเนินการตามกระบวนการ KM โดย

       2.1 เป็นเจ้าภาพเชิญคุณกิจที่มีความรู้และประสบการณ์สูงจากศูนย์พัฒนาวิชาการหรือโรงเรียนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ CoP ของโรงเรียน ประมาณ CoP ละ 3 คน มาร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้/เล่าประสบการณ์ โดยมีครูและบุคลากรในโรงเรียนแต่ละ CoP ทำหน้าที่เป็นคุณอำนวย/คุณลิขิต และเป็นคุณกิจร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้/เล่าประสบการณ์ด้วย พร้อมทั้งบันทึกเป็นขุมความรู้/แก่นความรู้

     2.2 แต่ละ CoP นำขุมความรู้/แก่นความรู้จากข้อ 2.1 มาประยุกต์ใช้ โดยนำมาปรับแผน/โครงการ/กิจกรรม/แผนการจัดการเรียนรู้ พร้อมทั้งดำเนินการ

    2.3 กำหนดปฏิทินทำกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ KM/AAR ในแต่ละ CoP อย่างต่อเนื่อง

    2.4 เปิดบล็อกและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างต่อเนื่อง โดยมีฝ่าย ICT คอยดูแลระบบและให้ความรู้

    2.5 ปรับกิจกรรมการนิเทศภายใน มาใช้กระบวนการ KM แทน

   2.6 ไปศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับโรงเรียนอื่นๆ

   2.7 บันทึกถ่ายทำวีดิทัศน์ หรือ บทความ แสดงผลงานจากการทำ KM เพื่อเผยแพร่

   2.8 พัฒนาโรงเรียนให้พร้อมเป็นแบบอย่างที่จะศึกษาดูงาน/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของหน่วยงานอื่นๆ

   2.9 นำเสนอความก้าวหน้าการทำ KM ในการประชุมผู้บริหารประจำเดือน ของ สพท.

   2.10 มอบรางวัลให้ครู/บุคลากร/CoP ที่ทำ KM ดีเด่นประเภทต่างๆอย่างต่อเนื่อง

3.ขั้นติดตามประเมินผล โดย

    3.1 จัดให้มีการเสนอผลงาน KM ของแต่ละ CoP

   3.2 จัดทำสารสนเทศเรื่องเล่าที่เป็นขุมความรู้/แก่นความรู้แต่ละ CoP ที่เป็นระบบ

  3.3 ประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจในบรรยากาศการทำ KM

  3.4 ประเมินมูลค่าเพิ่มตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาหลังทำ KM

  3.5 มีการสรุปข้อมูลการทำ KM และข้อเสนอแนะการพัฒนาที่ต่อเนื่อง

หมายเหตุ แต่ละกิจกรรมจะมีเงื่อนไขเวลา งบประมาณ และผู้รับผิดชอบในรอบปีการศึกษา

แต่ละกิจกรรมจะมีเงื่อนไขเวลา งบประมาณ และผู้รับผิดชอบในรอบปีการศึกษา

 

การพัฒนาเครือข่ายคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน

ปัจจัย / องค์ประกอบ

เริ่มต้น
(ระดับ 1)
พอใช้
(ระดับ 2)
ดี
(ระดับ 3)
ดีมาก
(ระดับ 4)
ดีเยี่ยม
(ระดับ 5)
ประเด็นที่
การบริหารจัดการหลักสูตร              สถานศึกษา
มีหลักสูตรสถานศึกษาครบองค์ประกอบของหลักสูตร
มีการจัดโครงสร้างของหลักสูตรสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา
มีการนำหลักสูตรไปใช้โดยจัดทำ / หาสื่อ แหล่งเรียนรู้ประกอบ
มีการประเมินหลักสูตร
มีการนำผลการประเมิน หลักสูตรมาพัฒนาปรับปรุง และเผยแพร่สู่สาธารณชน
ประเด็นที่
การใช้  ICT  เพื่อการเรียนรู้
บุคลากรมีความสามารถ             ในการใช้  ICT
มีการบริหารจัดการด้าน ICT อย่าง เป็นระบบ
มีการนำความรู้ ความสามารถ ด้าน  ICT มาใช้ ในการพัฒนางาน  และจัดการเรียนรู้
มีผลงานการใช้ ICT ที่สามารถนำมาเป็นตัวอย่างและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น
มีเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้าน  ICT อย่างต่อเนื่อง
ประเด็นที่
สานสายใยครูและศิษย์
มีแนวทางในการปฏิบัติเพื่อดูแลช่วยเหลือนักเรียน
มีโครงการ, มีคณะกรรมการ          มีเครื่องมือในการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
มีการนำข้อมูลมาคัดกรอง ดำเนินการแก้ไข พัฒนา  ส่งเสริม  ส่งต่อภายในและ ภายนอกอย่างต่อเนื่อง
มีการประเมินผลงานที่ปฏิบัติ และสรุปผลเพื่อนำไปพัฒนา
มีเครือข่ายเชื่อมโยงระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้งภายในและภายนอก
ประเด็นที่
ปฏิรูปการเรียนรู้ด้วย
พหุปัญญา
มีคณะกรรมการกิจกรรม MI
ดำเนินการสำรวจพหุปัญญาและคัดกลุ่มสนใจ
จัดกิจกรรมด้านพหุปัญญา เช่น กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน,   กิจกรรมค่าย, กิจกรรมวิถีพุทธ
กิจกรรมโครงการ ฯลฯ
ประเมินผลโดยครู , นักเรียนผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้อง พร้อมสรุปรายงานผล
เผยแพร่ประชาสัมพันธ์
ประเด็นที่
การวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน
การให้ความรู้บุคลากร
ปฏิบัติจริง
พัฒนาเครื่องมือ ปรับปรุงวิธีการ เสริมแรง
ตรวจสอบงานและปรับปรุง
นำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัย
ประเด็นที่ 6
 การจัดการเรียนรู้
แบบบูรณาการ
มีการวางแผนการปฏิบัติงาน
ร่วมกัน
ครูและนักเรียน มีส่วนร่วม
จัดกิจกรรม การเรียนรู้ที่หลากหลาย
มีการจัดเก็บข้อมูลอย่าง
มีระบบ
มีการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินผลร่วมกันและนำมาพัฒนาปรับปรุง
มีการเชื่อมโยงระบบอื่นในโรงเรียนและองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง

หลังจากเสร็จสิ้นการประชุมปฏิบัติการพัฒนาองค์ความรู้ของ สพท.นนทบุรี เขต 1  ทีมแกนนำได้AARจัดทำแผนการพัฒนาองค์ความรู้ ในส่วนของสถานศึกษา เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายการดำเนินงาน โดยมีจุดมุ่งหมายในการยกระดับคุณภาพการศึกษาของ สพท.นบ.1 ให้อยู่ในระดับ TOP TEN และให้ขบวนการ KM และเทคนิควิธีการ จากทีมวิทยากร ของ สคส. นำโดย ศาสตราจารย์นายแพทย์ วิจารย์ พานิช ,ดร.ประพนธ์  ผาสุขยืด,คุณรภินทร  ศิริไทย,และทีมงานคุณธวัช  น้องจ๋า  น้องใหม่  พอจะสรุปออกมาเป็นผลงานเบื้องต้นดังนี้

การบูรณาการแผนปฏิบัติการ สู่การพัฒนาเครือข่ายคุณภาพการจัดการเรียนรู้ ตาม COP
กลุ่มที่  1
การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา
การประเมินหลักสูตรสถานศึกษา
กำหนดการดำเนินงาน 
15 – 19  พ.ค.             ประชุมโรงเรียนพี่เลี้ยง เพื่อจัดทำเครื่องมือประเมิน
22 – 26  พ.ค.             จัดส่งเครื่องมือไปโรงเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือ
1 – 3   มิ.ย.                 เก็บรวบรวมผล จากการประเมินเข้าที่ประชุมโดยโรงเรียนพี่เลี้ยง
มิถุนายน                    อบรมเรื่องการประเมินการใช้หลักสูตรสถานศึกษา
1 – 15  ก.ค.                แลกเปลี่ยนเรียนรู้
16 – 30  ก.ค.             ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน

กลุ่มที่  2
การใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้
วัตถุประสงค์
1.      เพื่อสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้าน ICT
2.      มีกำหนดการในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง
3.      มีการพัฒนาเครือข่ายอย่างยั่งยืน
วิธีการ
1.      เผยแพร่ข่าวสารกิจกรรมการใช้  ICT  เพื่อการเรียนรู้
2.      เชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายการใช้ ICT
3.      สมาชิกพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้ ICT  (F 2 F)
4.      แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ICT  NON 1. GOTOKNOW.ORG  ( B 2 B)
5.      นำเสนอนวัตกรรมและผลงานการใช้ ICT
ประเมินผล
1.      จำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมเครือข่าย ICT
2.      จำนวนครั้งที่จัดกิจกรรม /  F 2 F
3.      จำนวน BLOG  ที่เกิดขึ้นในชุมชน  B 2 B
4.      ผลการพัฒนางานของสมาชิกในเครือข่าย
กลุ่มที่  3
สานสายใยครูและศิษย์
1.      มีศูนย์ “สานสายใยครูและศิษย์”  ที่ “ศรีบุณยานนท์” 
2.      แลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลใน “BLOG”  สานสายใยครูและศิษย์
3.      พบปะสังสรรค์  “ F 2 F ”
4.      เยี่ยมชมโรงเรียนเครือข่าย  และโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จเพื่อพัฒนางาน
5.      ประเมินผลตนเอง
กลุ่มที่  4
การปฏิรูปการเรียนรู้ด้วยพหุปัญญา
1.      แต่ละโรงเรียนพัฒนากิจกรรมด้านพหุปัญญา
2.      มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่าน BLOG
3.      จัดทำแผ่นพับ เพื่อเผยแพร่
4.      จัดเวทีพหุปัญญา ทั้ง 8 ด้าน เช่น  จัดตลาดนัดพหุปัญญา
กลุ่มที่  5
การวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน
การวางแผนการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน
1.  ระดมความคิด                                        22  มี.ค.  49
2.  จัดทำโครงการ                                        1  เม.ย. 49
3.  นำเสนอโครงการ                                   10  เม.ย. 49
4.  ดำเนินการตามโครงการ                                    15  -  30  ก.ย. 49
5.  เครือข่ายขยายผล                                                ต.ค.  49
6.  ติดต่อประสานงานโดย BLOG            ตลอดปี 2549
กลุ่มที่  6
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
1.  ประชุมวางแผนปฏิบัติการ
2.  นำเรื่องเล่าเร้าพลังของสมาชิกร่วม COP  ลง BLOG
3.  โรงเรียนแกนนำจัดอบรมการเรียนรู้เรื่องบูรณาการร่วมกับ
      โรงเรียนในเครือข่าย
4.   สมาชิกใน COP   นำความรู้เรื่องบูรณาการไปทดลองปฏิบัติ
      เผยแพร่ในโรงเรียนของตน โดยใช้ KM 
5.  ชื่นชม  เยี่ยมเยือนเพื่อนใน COP  โดยใช้  BLOG
6.   ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ เรื่องบูรณาการใน BLOG
7.   สร้างเครือข่ายการเรียนรู้เรื่องบูรณาการผ่าน BLOG

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 22359เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2006 15:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 11:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท