60 ล้านความดี เริ่มที่เยาวชน (ตอนที่ 3)


ความเชื่อมโยงข้ามกลุ่มและการร่วมมือที่จะดำเนินงานเพื่อไปสู่เป้าหมายเดียวกัน
     ช่วงเช้า ของวันที่ 20 มีนาคม ได้เริ่มกิจกรรมโดยนำข้อสรุปของวันที่ 19 มีนาคม ซึ่งมีสาระสำคัญดังตอนที่ 2 มาทำการเชื่อมโยง โดยการแบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่ม เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานร่วมกันที่ต่อเนื่อง ดังนี้
  1. กิจกรรมเด็กและเยาวชนเกี่ยวกับสถานศึกษา
  2. กิจกรรมเด็กและเยาวชนนอกสถานศึกษา
  3. สื่อ
  4. ชุมชนแบะพื้นที่ (ครอบครัวและศาสนสถาน)
  5. ฐานข้อมูล/ระบบข้อมูล

       ดิฉันมีโอกาสเข้าร่วมในกลุ่มที่ 1 กิจกรรมเด็กและเยาวชนเกี่ยวกับสถานศึกษา จากการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับงานที่แผนงานและโครงการที่ผู้เข้าร่วมกลุ่ม 1 รับผิดชอบดำเนินการอยู่และหารือร่วมกันถึงแนวทางบูรณาการงานเข้าด้วยกัน สรุปแนวทางดังต่อไปนี้

                        
      1. ทิศทางการทำงาน
          1.1ควรดำเนินการ 3 ระบบดังนี้

  • ระบบการเรียนการสอน
                -   การพัฒนาครู-อาจารย์
                -   การพัฒนาหลักสูตร (วิชาสุขศึกษา พลศึกษา บูรณาการในวิชาต่างๆ)
  • ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
           -   สนับสนุนครูแนะแนว ครูฝ่ายปกครอง
           -   ช่วยเหลือกลุ่มเด็ก เยาวชนที่มีปัญหา หรือได้รับผลกระทบด้านสุขภาพ
  • ระบบกิจกรรมนักเรียน ควรเน้นกิจกรรมที่เด็กมีส่วนร่วมเป็นหลักและมีลักษณะที่สำคัญคือ มีการสร้างผู้นำนักเรียน นักศึกษา  มีกิจกรรมต่อเนื่องตลอดปี  และมีการสืบทอดกิจกรรมจากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง

         1.2 การบูรณาการแผนงาน โครงการต่างๆ ควรเป็นไปในลักษณะที่นำเอาข้อมูล องค์ความรู้ รวมถึงสื่อและสิ่งสนับสนุนมาเชื่อมโยงกันมน 3 ระบบ คือ ระบบกิจกรรมกิจกรรมนักศึกษา ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระบบการเรียนการสอน เข้าด้วยกัน

      2. ประเด็นการทำงานเบื้องต้น รวบรวมจากผู้เข้าประชุมกลุ่มย่อย
       เชิงระบบการศึกษา/สถานศึกษา อาทิ
            1.     การเรียนรู้สู่สุขภาวะ (พัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชนให้เหมาะสมตามวัย)
            2.     องค์กรเข้มแข็ง (ระบบ โรงเรียนมีคุณภาพ)
            3.     คณะที่เกี่ยวข้องกับการสอนวิชาชีพสุขภาพ และสถาบันพระราชชนก (การพัฒนาหลักสูตร คณาจารย์ นักศึกษา สิ่งแวดล้อม)
      เชิงประเด็น อาทิ
            1.     การป้องกันอุบัติเหตุ (เยาวชนรักวินัยจราจร Thailand GRSP จังหวัดนำร่อง)
            2.     การควบคุมการบริโภคยาสูบ (โรงเรียนปลอดบุหรี่ เยาวชนนักรณรงค์ ครูนักรณรงค์)
            3.     การควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (สถานศึกษาปลอดเหล้า ครูต้นแบบ นโยบายหลักสูตร การรณรงค์และการช่วยเหลือ การเฝ้าระวัง)
           4.     การควบคุมมลพิษทางเสียง (การสร้างจิตสำนึก ผลักดันประเด็นมลพิษทางเสียงเป็นภัย การวัดระดับเสียงในสถานศึกษา/วัด Hearing Capacity ค่ายปลอดภัยเสียง)
           5.     อาหารสำหรับเด็กและเยาวชน

        3. การจัดทำแผนปฏิบัติการและการประสานงาน
        ได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติงาร่วมกันตามแนวทางข้างต้น โดยมีนายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานต์ เป็นผู้ประสานงานร่วมกับสำนัก 1 และ2 ของ สสส.


         ท้ายที่สุดกลุ่ม 1 ได้นัดประชุมเพื่อจัดทำแผน ในวันอังคารที่ 28 มีนาคม 2549 เพื่อให้ทุกคนที่ร่วมประชุมครั้งนี้วิเคราะห์ความเกี่ยวข้องของงานที่ดูแลกับ 3 ระบบ เพื่อเป็นข้อมูลเข้าประชุมในวันดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงข้ามกลุ่มและการร่วมมือที่จะดำเนินงานเพื่อไปสู่เป้าหมายเดียวกัน

หมายเลขบันทึก: 22328เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2006 12:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 17:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท