สถานีวัดน้ำของโครงการโทรมาตร


ไปต้นน้ำกก ที่ท่าตอน เชียงราย
    ช่วงวันที่ 27 - 31 มีนาคม 2549 ที่ผ่านมาได้มีโอกาสเดินทางไปดูการดำเนินการของโครงการโทรมาตรของลุ่มน้ำในจังหวัดเชียงราย
เท่าที่จำได้มีแม่น้ำกก แม่น้ำลาว แม่น้ำกรณ์ แม่ฝาง แล้วก็แม่น้ำสาขา เรียกว่าลุ่มน้ำกก จุดประสงค์หลักก็จะไปดูเขาทำภาคตัดของลำน้ำทั้งหมด ภาษาเทคนิคเขาว่าการทำ cross section เพื่อที่จะได้รู้ลักษณะตื้นลึกหนาบางของแม่น้ำ  โดยจะทำทั้งลำน้ำ และลำสาขากว่า 30 จุดเพื่อที่จะได้ใช้ทำนายการไหลบ่าของน้ำที่ลงมาสู่ที่ราบได้ ช่วยลดการสูญเสียของการเกิดอุทกภัยที่ตัวเมือง

ในรูปเป็นการก่อสร้างสถานีวัดน้ำอัตโนมัติที่หน้าวัดท่าตอน แม่น้ำกก ตอนที่ไปเขากำลังทำโครงสร้าง Housing อยู่ (ใครมีโอกาสไปเที่ยวท่าตอน ก็ลอง ๆ เดินเขาไปเยี่ยมชมได้ อยู่ใกล้ ๆสะพาน ห่างประมาณ 100 เมตร)ใกล้ ๆกันก็มีสนามอุตุนิยม เล็กๆ วัดอุณหภูมิ+ฝน ของกรมอะไรจำชื่อไม่แล้ว ตั้งอยู่ แต่ดูสภาพแล้วเหมือนไม่มีการใช้งาน แต่ยังมีเครื่องมือติดตั้งอยู่

 

รูปนี้เป็นหาดทรายหน้าวัดท่าตอน คนแถวนั้นบอกว่าจะมีคนมาเที่ยวกันมาก  ยิ่งตอนช่วงสงกรานต์คนจะมาเที่ยวที่นี่กันมาก ก็ดูน่าจะจริงนะ แต่ตอนผมไปไม่ค่อยมีคน มีแต่การเตรียมการเพื่อรับเทศกาลสงกรานต์ พี่สมพล หสตอ. ชร. เล่าว่าช่วงหน้าแล้งบริเวณหาดทรายริมแม่น้ำทุกสายจะเป็นเงินเป็นทองไปหมด (อบต. เข้าใจหาเงินเข้าท้องถิ่น) ไม่ว่าที่นี่หรือที่ไหน

รูปนี้ที่เห็นหาดไกล ๆ เขาเรียกว่าพัทยา ที่นี่ก็เช่นกันเขาบอกว่าตอนเย็น ๆ คนจะมาเที่ยวกันมาก อยู่ริมแม่น้ำกกเหมือนกัน แต่คนละที่กับที่ท่าตอน (เรามีสถานีวัดน้ำอยู่ฝั่งตรงข้ามด้วย)  แถวนี้น้ำยังมากอยู่ ดูเอาว่าเหมือนพัทยาที่เราเพิ่งไปเที่ยวกันมาหรือเปล่า

รูปร่างของ housing ที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว ภายในก็จะติดตั้งมีอุปกรณ์วัดระดับน้ำ (มีวัดกระแสน้ำด้วยหรือเปล่าไม่แน่ใจ) มี data logger บนหลังคาก็จะมีถังวัดฝน แล้วก็ sensor วัดอุณหภูมิ (รูปนี้ถ่ายจากสถานีที่ชื่อว่าแคววัวดำ การเดินทางไปที่นี่โหดหน่อยต้องขึ้นเขา ชนิดติดเหวเลย แต่ข้างทางฝั่งติดแม่น้ำระยะทางซัก 5 กิโลเมตรทั้ง 2 ฝั่งสวยมาก ชนิดมีศักยภาพเป็นพวก resort หรู ๆ ได้เลย คิดว่าอนาคตเกิดแน่ ๆ ตอนที่ผมไปยังไม่มีนะ มีแต่บ้านชาวเขา พวกกระเหรี่ยงอยู่กัน เส้นทางนี้ผ่านชุมชนที่ชื่อหมู่บ้านกระเหรี่ยงรวมมิตรด้วย ฝรั่งมันเข้ามากันเยอะเลย)

 

 

 

 

การส่งผ่านข้อมูลก็อาศัยของ GSM ก็คงใช้บริการของเทมาเส็ก น่ะ เพราะส่วนใหญ่มันอยู่ป่าเขา คลื่นอื่นไม่ต้องพูดถึงบอดสนิท แม้แต่ AIS เองบางที่ก็จะต้องตั้งเสายากิรับคลื่นเอา

รูปนี้เป็นสถานีวัดฝนธรรมดา (ไม่มีวัดน้ำ)

สุดท้ายแถมด้วยการไหว้พระธาตุประจำปีเกิด หากใครมีโอกาสก็ลองทำตามดูนะ  เพื่อเป็นศิริมงคลและความสุขแก่ตัวเอง (ถ่ายมาจากวัดลำปางหลวงที่มีสามารถมองเห็นเงารูปพระธาตุกลับหัว(ผ่านรูไม้แตก)ในโบสถ์ แถมเงาเป็นรูปสีด้วย แปลกมาก)

ช่วงที่ไปก็เจอเพื่อนแหวงแต่ไม่ค่อยได้คุยกันเลย แม้ว่าจะเข้าไปที่สถานีอยู่ 3-4 ครั้ง เพราะต้องรีบออกไปที่ site ซึ่งอยู่แต่ละที่ไกล ๆทั้งนั้นเลย ขากลับเย็นวันพฤหัสไปนอนเชียงใหม่ 1 คืน ก่อนตอนเช้าตีกลับกรม (ไม่ได้เข้าศูนย์ได้แต่โทรไปหาสราวุธเท่านั้น)

ก็จบแค่นี้ครับผม

หมายเลขบันทึก: 22306เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2006 15:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อ่านแล้วครับ มีรูปประกอบอย่างนี้เห็นภาพพจน์ดี ไม่ต้องimagine มาก

ผมอยากให้เพื่อน ๆ หันมาใช้ช่องทางนี้ให้มากขึ้นในการส่งข่าวสารของเพื่อนให้เพื่อนๆ ทราบ

ที่จริงมีหลายภาพจ้ะ แต่มันก็คล้าย ๆ กัน แต่ภาพตอนขณะกำลังทำ cross section ลำน้ำยังไม่มี แล้วจะหามาให้ดูนะ  (อยู่กล้องคนอื่น) นายเคยอยู่กรมชลมาก่อน่าจะเคยเห็นเขาทำ (หรือเปล่า ?)

 

         ขอถามหน่อยครับว่าเป็นโทรมาตรของกรมอะไรครับ เพราะของกรมชลเองที่ผม ทำอยู่นี่ก้อมีหลายโครงการครับ พอดีผมลองค้นหาดูเรื่องโทรมาตรและมาเจอพอดี ก้อเลยลองโพสมาดู
อุตุนิยมวิทยา

สวัสดีคะ ได้ความรู้มากขึ้นเยย พอดีเรากำลังศึกษาเรื่องโทรมาตรอยู่นะคะ อยากได้รายละเอียดเกี่ยวกับการติดตั้งเครื่องและการรับส่งข้อมูลจะทำโปรเจคนะคะถ้ามีข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ช่วยส่งมาที่เมลล์เราได้ไหมคะ แล้วตั้งหัวข้อว่าโทรมาตรนะคะ ขอบคุณมากนะคะสำหรับความรู้ที่ได้แบ่งปันกัน อิอิ

เมลล์เรานะคะ [email protected] ขอบคุณคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท